Author: ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร

เมี่ยงคำ เป็นอาหารว่างหรือของกินเล่นของคนไทยทุกภาค เป็นอาหารว่างที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะมีธาตุอาหารครบ ๕ หมู่อยู่ในคำเดียวกัน ไม่มีการบันทึกประวัติความเป็นมา แต่พิจารณาจากลักษณะของอาหารที่ใช้ทรัพยากรหลายอย่างจากสวนจึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นอาหารของชาวสวนแต่เดิม และอาจดัดแปลงมาจาก “เมี่ยง” ของชาวภาคเหนือ โดยเปลี่ยนใบเมี่ยงที่ใช้ห่อมาเป็นพืชผักในสวนภาคกลางแทน มีอาหารของชาวภาคกลางหลายชนิดที่ใช้ใบไม้ห่อแล้วเรียกว่า “เมี่ยง” ดังปรากฎในบทเห่ชมเครื่องว่าง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ว่า “เมี่ยงคำน้ำลายสอ เมี่ยงสมอเมี่ยงปลาทู       ข้าวคลุกคลุกไก่หมู น้ำพริกคั่วทั่วโอชา” เมี่ยงคำประกอบด้วยส่วนประกอบ 4 ส่วนคือ 1.เครื่องเมียง  2. น้ำเมี่ยง 3. ผักที่ใช้ห่อ 4. เครื่องเมี่ยง                 เครื่องเมี่ยง ประกอบด้วย มะพร้าวคั่วกุ้งแห้ง ขิง 
Read more
  ผ้าแพรวา : ราชินีไหมหัตถกรรมผู้ไทกาฬสินธุ์ ประวัติความเป็นมา ผ้าแพรวา คือ ผ้าแพรเบี่ยงไหมที่ใช้พาดเบี่ยงคล้ายสไบ มีความกว้างประมาณ ๑ ศอก ยาว ๑ วา จึงเป็นที่มาของชื่อผืนผ้าว่า “ผ้าแพรวา” ซึ่งมีแหล่งผลิตอยู่ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยช่างทอกลุ่มวัฒนธรรมผู้ไทย ความสำคัญและคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญา กรรมวิธีการทอผ้าแพรวา เป็นกรรมวิธีจกแบบดั้งเดิม โดยใช้ “นิ้วก้อย” จก สอดเส้นไหมสีสันต่าง ๆ สอดแทรกเป็นเส้นพุ่งพิเศษตามจังหวะลวดลายทีละเล็กละน้อย ส่วนการย้อมไหมมักใช้สีธรรมชาติ โดยเฉพาะสีแดงจากครั่งซึ่งใช้เป็นสีพื้น ทอสลับการสร้างลวดลายจกเป็นช่วง ๆ ตลอดทั้งผืน ผ้าแพรวาหนึ่งผืนใช้เวลาทอนานนับเดือน ความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของผ้าแพรวา คือ ลายหลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเป็นโครงสร้างพื้นฐานในลวดลายผ้า โดยมีลวดลาย ๑๐ – ๑๒ ลายต่อผืน และใช้เส้นไหม ๒ 
Read more
ผ้ามัดหมี่ ผ้ามัดหมี่ คือ ผ้าที่ทอจากด้ายหรือไหมที่ผูกมัดแล้วย้อม โดยการคิดผูกให้เป็นลวดลายแล้วนำไปย้อมสีก่อนทอ เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่นิยมทำกันมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสานของประเทศไทย ในภาคกลางบางจังหวัด อาทิ จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดลพบุรี ภาคเหนือมีการทอที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดน่าน เป็นต้น    ความสำคัญและคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญา กระบวนการทำผ้ามัดหมี่นั้น ในขั้นตอนการสร้างลวดลายจะต้องนำเส้นใยผ้ายหรือเส้นใยไหมไปค้นลำหมีให้ได้ตามจำนวนที่เหมาะสมกับลวดลาย แล้วจึงนำไปขึงเข้ากับ “โฮงหมี่” โดยจะใช้เชือกมัดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี เรียกว่าการ “โอบ” ในอดีตใช้เชือกกล้วยต่อมานิยมใช้เชือกฟางพลาสติก การมัดจะต้องมัดให้แน่นตามลวดลายที่กำหนดไว้แล้วนำไปย้อมสี จากนั้นตากแดดให้แห้ง เมื่อนำมาแก้เชือกออก จะเห็นส่วนที่มัดไว้ไม่ติดสีที่ย้อม หากต้องการให้ลวดลายมีหลายสี จะต้องมัดโอบอีกหลายครั้งตามความต้องการ ตำแหน่งที่มัดให้เกิดลวดลายนั้นจะต้องอาศัยทักษะเชิงช่างที่ชำนาญและแม่นยำ เพราะช่างมัดหมี่ของประเทศไทยไม่ได้มีการขีดตำแหน่งลวดลายไว้ก่อนแบบประเทศอื่น ๆ ตำแหน่งการมัดลวดลาย จึงอาศัยการจดจำและสั่งสมจากประสบการณ์ ในกระบวนการทอ ช่างทอผ้ามัดหมี่จะต้องระมัดระวังทอผ้าตามลำดับของหลอดด้ายมัดหมี่ที่ร้อเรียงลำดับไว้ให้ถูกต้อง และจะต้องใช้ความสามารถในการปรับจัดลวดลายที่เหลื่อมล้ำกันที่เกิดจากระบวนการย้อมสีให้ออกมาสวยงาม กลวิธีการทอผ้ามัดหมี่จึงเป็นภูมิปัญญาด้านงานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ต้องอาศัยทักษะเชิงช่างชั้นสูงลวดลายมัดหมีที่มีการสีบทอดต่อกันมาตั้งแต่โบราณนั้น ส่วนใหญ่ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในวิถีชีวิต ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณี อาทิ ลายดอกแก้วลายต้นสน 
Read more
คชศาสตร์ชาวกูย   ประวัติความเป็นมา         กลุ่มชนชาวกูย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศไทย ซึ่งอาศัยหนาแน่นในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานีและสระแก้วบางส่วน คำเรียกขานว่า “กูย” “กุย” หรือ “กวย” เป็นการออกเสียงที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นและยังจำแนกชื่อเรียกตามวิถีชีวิต อาทิ กูยซแร หมายถึง ชาวกูยที่ประกอบอาชีพทำนา กูยแฎก หมายถึง กลุ่มชาวภูยที่ประกอบอาชีพตีมีด และกูยอะจีง หรือ กูยอาเจียง คือ ชาวกูยที่ประกอบอาชีพเลี้ยงช้าง ความสำคัญและคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญา           ชาวกูยอะจีง บ้านกระโพ บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ มีความรูเและความชำนาญในการจับและการเลี้ยงช้างซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้ถ่ายทอดมาแต่โบราณกาล องค์ความรู้ดังกล่าวประกอบด้วย 
Read more
  บายศรี : เครื่องใช้ในพิธีกรรมเพื่อความเป็นสิริมงคล        “บายศรี” เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นเคย เพราะเห็นบ่อยในพิธีกรรมต่าง ๆ แทบทุกภาคของคนไทย เช่น การทำขวัญคน การทำขวัญข้าว การบวงสรวงสิ่งศักสิทธิ์ การไหว้ครู นาฏศิลป์ดนตรี และพิธีสมโภชพระพุทธรูป เป็นต้น ซึ่งพิธีกรรมเหล่านี่ล้วนต้องใช้บายศรีเป็นเครื่องประกอบทั้งสิ้น ความหมายของคำว่า บายศรี  หมายถึง เครื่องเชิญขวัญ หรือ รับขวัญ ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้นๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยอยู่ในบายศรี และมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี คำว่า บายศรี 
Read more
ฮีตสิบสอง : ประเพณีอีสาน 12 เดือน ฮีตเดือนอ้าย  บุญเข้ากรรม “ฮีตหนึ่งนั้น  เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย   ฝูงหมู่สังฆเจ้ากะเตรียมเข้าอยู่กรรม   มันหากธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน   อย่าได้ละห่วงเว้นเข็ญสิข้องแล่นนำ แท้แหล่ว” บุญเข้ากรรม เป็นกิจกรรมของสงฆ์ เรียกว่า เข้าปริวาสกรรม โดยให้พระภิกษุสงฆ์ที่ต้องอาบัติ (กระทำผิด) สังฆทิเสส ได้สารภาพต่อหน้า คณะสงฆ์เพื่อเป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตน แล้วปรับตัว ประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระวินัยพิธีเข้าปริวาสกรรมกำหนดไว้ 9 ราตรี กำหนดให้พักอยู่ในสถานที่สงบ ไม่มีคนพลุกพล่าน (อาจเป็นบริเวณวัดก็ได้) โดยมีกุฏิชั่วคราวเป็นหลังๆ พระภิกษุสงฆ์เข้าปริวาสกรรมคราวหนึ่งๆ จะมจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่ต้องบอกพระภิกษุสงฆ์จำนวน 4 รูปไว้ก่อนว่าตนเอง จะเข้ากรรม และเมื่อถึงเวลาออกกรรมจะมีพระสงฆ์ 20 รูป มารับออกกรรม เรียกว่า สวดอัพภาณ 
Read more
พุทธประวัติ ตอน ผจญมาร #พุทธประวัติตอนผจญมาร #ฮูปแต้มอีสาน #ฮูปแต้มวัดโพธาราม #ฮูปแต้มมหาสารคาม พระพุทธเจ้าเผชิญกับกองทัพพญามารที่เคลื่อนขบวนพลพยุหะมาสู้รบ ต้องเผชิญกับกุลยุทธลวงล่อของลูกสาวพญามารมายั่วยวนไม่ให้พระองค์บรรลุธรรม และมีพระธรณีอยู่ในท่าบีบมวยผมเกิดเป็นทักษิโณทกเป็นพยานพระบารมีแห่งพระพุทธเจ้าจนน้ำท่วมกองทัพมาร                                        ผนังด้านนอก  วัดโพธาราม อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ดวงเดือน ไชยโสดา..
Read more
ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอ เมืองมหาสารคาม             ในปี พ.ศ.2558 สมาคมส่งเสริมผ้าไทยจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกันจัดประกวดผ้าลายมัดหมี่ของดีประจำอำเภอขึ้นทำให้เกิดการบัญญัติลายผ้าเพิ่มขึ้นอีก 13 ลายที่ปราณีตสวยงามเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคและเพิ่มโอกาสของผู้ทอผ้า เกิดความหลากหลายของผ้ามัดหมี่อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้จังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัดแรกที่มีผ้าลายประจำอำเภออย่างเป็นทางการเกิดมิติใหม่และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดให้กลุ่มทอผ้ามีงานทำมากกว่าเดิมเพิ่มรายได้สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคงยิ่งขึ้นและที่สำคัญเป็นการสร้างภาพจำใหม่ให้จังหวัดมหาสารคาม เป็นเมืองแห่งไหมมัดหมี่โดยสมบูรณ์อย่างแท้จริง จึงขอประกาศผลการคัดเลือกลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอ จังหวัดมหาสารคาม ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ผ้าลายสร้อยดอกหมาก เป็นลายผ้าโบราณลายดั้งเดิมของท้องถิ่นอีสาน เป็นลายเก่าแก่ของบรรพบุรุษซึ่งชาวบ้านในแถบภาคอีสานโดยเฉพาะจังหวัดมหาสารคามได้ทอใช้กันมากและจังหวัดมหาสารคามได้กำหนดให้เป็น “ลายเอกลักษณ์ประจำแต่เดิมชาวบ้านแถบจังหวัดมหาสารคามทอผ้าลายโบราณ ตามบรรพบุรุษอยู่หลายลายด้วยกันภายหลังลายเก่าแก่เหล่านี้ก็เริ่มสูญหายไปจากชีวิตการทอผ้าของชาวบ้าน เนื่องจากความยากในการทอลายสร้อยดอกหมากก็เป็นลายผ้าโบราณลายหนึ่งที่เกือบจะสูญหายไปจากท้องถิ่น ด้วยความที่ล้ายผ้ามีความละเอียดมาก ผู้ทอต้องมีความรู้ในเรื่องของลาย และมีฝีมือทั้งในการมัดการทอ ถ้าไม่มีความชำนาญ การย้อมสี อาจไม่สม่ำเสมอทำให้ลายผ้าผิดเพี้ยนไป นอกจากนี้ต้องใช้ระยะเวลาในการทอมาก จึงเป็นสาเหตุให้ชาวบ้านไม่นิยมทอผ้าลายสร้อยดอกหมาก” จนกระทั่งทางจังหวัดมหาสารคาม ได้จัดให้มีการประกวดผ้าไหมประจำหวัดขึ้น 
Read more
  เสน่ห์..ภูมิปัญญาแห่งสีธรรมชาติ ..สีย้อมผ้าจากธรรมชาติภูมิปัญญาถิ่นอีสาน..        สีธรรมชาติ คือ สีที่ได้จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ        เช่น เปลือกไม้ แก่นไม้ และผลไม้ เช่น สีเหลืองได้จากต้นเข หรือแก่นขนุน สีแดงจากครั่ง สีน้ำเงินจากคราม แต่เนื่องจากกรรมวิธีในการย้อมยุ่งยาก ขาดแคลนวัตถุดิบ อีกทั้งสีเคมีเข้ามาจำหน่ายทำให้สีธรรมชาติมีการใช้กันน้อยลง        ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ จะมีสีที่งดงาม กลมกลืน ไม่ฉูดฉาด และมีเสน่ห์อันท้าทายจากเรื่องราวของสีสัน กรรมวิธีการย้อม และความเชื่อมั่นอันเป็นเอกลักษณ์ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ความลี้ลับของการย้อมสีแต่ละครั้งที่ออกมาไม่ซ้ำกันแม้ต้นไม้นั้นจะเป็นต้นเดียวกัน ปัจจัยของฤดูกาล วิธีย้อม อายุของต้นไม้ และอื่นๆ จะทำให้ได้สีที่มีความแตกต่างกัน การย้อมสีธรรมชาติ จึงเป็นศิลปะอันประณีต และบอกเล่าเป็นตำนานของผ้าถ่ายทอดกันไปในกาลข้างหน้า   ที่มาของสีธรรมชาติ 
Read more
ธุงใยแมงมุม : พุทธบูชาตามความเชื่อคนอีสาน         ธุง เป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อประดับตกแต่งเป็นเครื่องหมาย หรือป้ายบอกกิจกรรมหรือถวายเป็นพุทธบูชาของชาวอีสาน …..ทำด้วยเส้นฝ้ายย้อมสีและไม้ไผ่ โดยใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นซี่เล็ก ๆ ไขว้กากบาทกันแล้ว ใช้เส้นฝ้ายพันสานกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จากศูนย์กลางออกมาเรื่อย ๆ และมักจะใช้ฝ้ายสีพันเป็นแถบสีสลับกันเป็นชั้น ๆ ขนาดของธุงหรือธงจะเล็กใหญ่ต่าง ๆ กัน แล้วนำธุงมาต่อกันเป็นผืนยาว ทิ้งชายห้อยให้แกว่งปลิวไปตามลม ธุง หรือ ธงชนิดนี้จะมีสีสันสวยงาม จึงมักแขวนประดับไว้ตามศาลาการเปรียญของวัด เป็นพุทธบูชาตามความเชื่อของชาวบ้าน           ธงชนิดหนึ่งของภาคอีสาน มีชื่อเรียกเป็นธุงชนิดต่าง ๆ หลากหลายตามโอกาส เช่น ธุงที่ใช้ในงานบุญผะเหวด เรียกว่า ธุงผะเหวด       
Read more
048861