ฮูปแต้มอีสาน

ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนัง) : วัดป่าเลไลย์ มหาสารคาม ความเป็นมาของ ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนัง) วัดป่าเลไลย์ วัดป่าเลไลย์ ตั้งอยู่ที่บ้านหนอกพอก ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.2224 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2460 วัดแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า วัดบ้านหนองพอก ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดป่าเลไลย์ ภายในวัดมีสิมซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด ตัวสิมเป็นอาคารแบบก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลียมผืนผ้าแบบทึบ นับเป็นสิมพื้นบ้านบริสุทธิ์ที่มีลักษณ์เฉพาะ มีเสารับปีนก หลังคาทรงจั่วชั้นเดียว มีปีกนกคลุมโดยรอบ หน้าบันทำเรียบมีซานจั่ว ตัวสิมยกสูงจากฐาน บนฐานมีระเบียงล้อมรอบ ทางขึ้นเป็นบันไดนาค ศิลปะพื้นบ้านแบบอีสาน มีประตูทางเข้าหนึ่งช่องอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ผนังด้านข้างเจาะเป็นช่องหน้าต่างแคบ ๆ เป็นช่องแสง ข้างละ 2 ช่อง ไม่มีบานหน้าต่าง บนฝาผนังมีภาพเขียนทั้งด้านนอกและด้านใน สิมวัดป่าเลไลย์  
Read more
ลักษณะของฮูปแต้ม ฮูปแต้ม หรือจิตรกรรมฝาผนัง ที่ปรากฏบนผนังของสิมซึ่งเป็นชื่อเรียกศาสนาคารของคนอีสาน มีการเขียนฮูปแต้มทั้งด้านในและด้านนอกสิม บางแห่งมีทั้งสองด้าน บางแห่งมีเพียงด้านเดียว ส่วนเรื่องราวของฮูปแต้ม และตำแหน่งของผนังที่วาดนั้นไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ส่วนมากเป็นเรื่องพุทธประวัติ ทศชาดกเวสสันดร อดีตพระพุทธเจ้า พระมาลัย นิทานพื้นบ้านเรื่องต่างๆ และมีวิถีชีวิตของชาวบ้านเป็นเกร็ดย่อยแทรกอยู่ในภาพที่เป็นเรื่องหลัก การวางเรื่องราวอาจไม่เป็นไปตามลำดับเหตุการณ์    2. การแบ่งพื้นที่ในการวาด สำหรับพื้นที่ใหญ่ๆ เช่น ผนังรีทั้งด้านในและด้านนอกที่ไม่ติดเสา มักจะแบ่งโดยใช้เส้นหนาทึบเป็นเส้นแบ่ง บางภาพจะใช้เส้นแบ่งนี้เป็นพื้นดินหรือภูเขาไปในตัว ไม่ใช้เส้นสินเทาอย่างรูปวาดของช่างหลวง การวางเรื่องราวขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสิม    3. ฮูปแต้มมีลักษณะเป็นสองมิติ แบนเรียบ การแสดงระยะใกล้ไกลของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะแสดงด้วยการวางรูปให้คาบเกี่ยวกัน บังกัน ซ้อนกัน มีการสร้างบรรยากาศด้วยสีสันน้อยมาก เพราะขาดแคลนสี ช่างแต้มอาศัยเส้นหนา เส้นบาง เน้นระยะ เน้นเรื่องราว และเน้นบรรยากาศ เช่น บริเวณที่ต้องการให้ดูยุ่งเหยิงวุ่นวาย อาจขีดเส้นสั้นๆ ถี่ๆ 
Read more
ฮดสรงในฮูปแต้ม โฮงฮด หรือ ฮางฮด (รางฮด)                เป็นศิลปะไม้แกะ -สลักอีสาน ใช้สำหรับรดหรือสรงน้ำพระสงฆ์ทำเป็นรูปคล้ายเรือจำลองขนาดเล็กยาว เหมือนของล้านนา ส่วนหัวมักทำรูปเศียรนาค ส่วนท้องค่อนไปทางหัว เจาะรูให้น้ำไหลลงสู่พระสงฆ์ที่นั่งอยู่ข้างล่างเป็นประเพณีอย่างหนึ่งเรียกว่า ประเพณีอดสรง ประเพณีนี้มีในโอกาสพิเศษ เช่น ทำเพื่อเป็นการเลื่อนยศให้แก่พระสงฆ์ตามประเพณีเดิมซึ่งชาวอีสานเลือกพระที่จะเข้าพิธีนี้เอง  ประเพณีฮดสรง แทรกอยู่ในเรื่องเวสสันดร ชาวบ้านกำลังนั่งทำพิธีฮดสรง มีรางฮดหรือโฮงฮด ผนังด้านนอก ทิศตะวันตก วัดป่าเรไรย์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม                   คำว่า ฮาง ไม้แก่นที่ขุดเป็นร่องตรงกลางสำหรับใส่อาหารสัตว์ มีขนาดต่างๆ กัน เช่น ฮางไก่สำหรับใส่อาหารไก่ ฮางเฮ็ดสำหรับใส่อาหารเป็ด                 คำว่า ฮางสรง 
Read more
พุทธประวัติ ตอน ผจญมาร #พุทธประวัติตอนผจญมาร #ฮูปแต้มอีสาน #ฮูปแต้มวัดโพธาราม #ฮูปแต้มมหาสารคาม พระพุทธเจ้าเผชิญกับกองทัพพญามารที่เคลื่อนขบวนพลพยุหะมาสู้รบ ต้องเผชิญกับกุลยุทธลวงล่อของลูกสาวพญามารมายั่วยวนไม่ให้พระองค์บรรลุธรรม และมีพระธรณีอยู่ในท่าบีบมวยผมเกิดเป็นทักษิโณทกเป็นพยานพระบารมีแห่งพระพุทธเจ้าจนน้ำท่วมกองทัพมาร                                        ผนังด้านนอก  วัดโพธาราม อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ดวงเดือน ไชยโสดา..
Read more
ฮูปแต้มอีสาน : จิตรกรรมฝาผนังอีสาน             ฮูปแต้มคืออะไร….           ฮูปแต้ม เป็นคำพื้นเมืองในภาษาถิ่นวัฒนธรรมลาวชาวอีสานโบราณ ฮูปแต้ม หมายถึง รูป และคำว่า แต้ม หมายถึง การขีดเขียนหรือการระบายสีเพื่อให้เกิดลักษณะอย่างรูป รวมกันจึงหมายถึง ภาพเขียน หรือ รูปเขียน โดยต่อมาถูกนักวิชาการใช้เรียกในความหมายเดียวกันกับงานจิตรกรรมในวัฒนธรรมหลวง โดยช่างผู้สร้างงานเหล่านี้ภาษาพื้นเมืองอีสานเรียกว่า ช่างแต้ม หรือ ช่างเขียนรูป เมื่อเทียบกับคำหลวงก็คือ จิตรกร นั้นเอง               ฮูปแต้มอีสานอยู่ที่ไหน              ในแง่พัฒนาการกล่าวได้ว่าฮูปแต้มนั้นพัฒนามาจากการวาดรูปบนผืนผ้าผะเหวด ต่อมาได้พัฒนามาสู่ผืนผนังศาสนาคาร ตามพัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านวัสดุแบบก่ออิฐถือปูนอันเป็นเทคโนโลยีนำเข้าจากชาวจีนที่นิยมสร้างตึกดิน โดยช่างพื้นบ้านอีสานได้นำเทคนิคดังกล่าวมาใช้กับอาคารศาสนา   
Read more
048730