วัสดุสารสนเทศที่ให้บริการ

วิธีการสืบค้นสารสนเทศอีสาน

1. สืบค้นจากฐานข้อมูลห้องสมุด (Web OPAC) ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตามลิงค์ดังนี้ ( http://lib3.msu.ac.th )
2. สืบค้นจากฐานข้อมูลกฤตภาคอีสานอิเล็กทรอนิกส์ (Isan e-Clipping) ตามลิงค์ดังนี้ (http://ilib.msu.ac.th/marc_clipping)
3. สืบค้นจากฐานข้อมูลระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศอีสานบนอินเทอร์เน็ตตามลิงค์ดังนี้ ( http://ilib.msu.ac.th/lisan )

ระบบการจัดเก็บและจัดเรียงสารสนเทศอีสาน

    • หนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ จัดบริการที่ชั้นเปิดเรียงตามเลขเรียกหนังสือ โดยจัดหมวดหมู่ตามระบบทศนิยมของดิวอี้ ผู้ใช้บริการสามารถศึกษาค้นคว้าได้ที่ชั้นหนังสือห้องศูนย์
    • บทความ (ARS) กฤตภาค (CPS) จุลสาร (PPS) รูปภาพ (PICS) และแผนที่ (MAPS) จัดเก็บเอกสารแยกแต่ละประเภท โดยจัดเรียงไว้ตามลำดับเลขทะเบียนจากน้อยไปมาก เมื่อผู้ใช้บริการต้องการใช้เอกสารให้จดสัญลักษณ์และเลขทะเบียน ติดต่อที่เจ้าหน้าที่ห้องศูนย์ฯ
    • ภาคนิพนธ์ สารนิพนธ์ ศิลปนิพนธ์ ปัญหาพิเศษ (TPS) จัดบริการที่ชั้นเปิด โดยเรียงตามลำดับเลขทะเบียนจากน้อยไปมาก ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการที่ชั้นภาคนิพนธ์ที่ห้องศูนย์ฯ
    • หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จัดเรียงที่ชั้นตามตัวอักษรของชื่อหนังสือพิมพ์ ก-ฮ
    • ซีดีรอม (CDS) แถบบันทึกเสียง (TCS) แถบบันทึกภาพ (VCS) ไมโครฟิล์ม และสไลด์ (SLS) จัดเก็บตามเลขทะเบียนแยกวัสดุแต่ละประเภท เมื่อผู้ใช้บริการต้องการใช้ให้ติดต่อที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อโสตและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ชั้น 4
    • วัสดุจำลองและของตัวอย่าง เป็นการจัดแสดงไว้ พร้อมคำบรรยาย เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน

แนวปฏิบัติในการใช้บริการ

    1. ดูแผนผังแสดงแหล่งที่ตั้งทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อความรวดเร็วในการค้นหาเอกสารชั้นเปิดทุกชนิด
    2. เมื่อยืมเอกสารออกนอกบริเวณศูนย์สารนิเทศอีสาน กรุณาลงชื่อที่สมุดยืม-คืนที่เคาน์เตอร์บริการห้องศูนย์
    3. เอกสารประเภทหนังสือ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระ สิ่งพิมพ์รัฐบาล หากมีหลายฉบับ จะมีให้บริการยืมออกนอกห้องสมุด
    4. โปรดแสดงบัตรประจำตัวทุกครั้ง เมื่อต้องการใช้บริการเอกสารชั้นเปิดทุกประเภท เช่น บทความ กฤตภาค จุลสาร รูปภาพ แผนที่ เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ค้นหาและหยิบเอกสารให้ เมื่อผู้ใช้บริการใช้เสร็จแล้วกรุณาส่งเอกสารคืนเจ้าหน้าที่และรับบัตรคืน
    5. สื่อโสตทัศนวัสดุต่างๆ ของศูนย์ ผู้ใช้บริการยืมใช้บริการได้ตามระเบียบ โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายโสตทัศน์ฯ

ตัวอย่างและความหมายของสัญลักษณ์ที่ควรทราบ สารสนเทศอีสานแต่ละประเภทจะมีสัญลักษณ์พิเศษในการจัดเก็บและสืบค้นดังนี้

    1. เลขเรียกหนังสือมีอักษร ส อยู่เหนือเลขหมู่ แสดงว่าเป็นหนังสือ หรืองานวิจัย หรือปริญญานิพนธ์ หรือวิทยานิพนธ์ หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    2. TPS หมายถึง เอกสารประเภทภาคนิพนธ์ ซึ่งรวมถึงปัญหาพิเศษ ศิลปนิพนธ์ สารนิพนธ์การประเมินโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ซึ่งจัดเรียงไว้ตามเลขทะเบียน
    3. ARS หมายถึง เอกสารประเภทบทความอีสาน จัดให้บริการในตู้บทความ เรียงลำดับตามเลขทะเบียน ต้องการใช้ ARS ให้กรอกสัญลักษณ์พร้อมเลขทะเบียน เช่น ARS7890 ลงในแบบฟอร์มขอใช้เอกสารชั้นปิด
    4. CPS หมายถึง เอกสารประเภทกฤตภาคอีสานจัดให้บริการในตู้กฤตภาค เรียงลำดับตามเลขทะเบียน ผู้ที่ต้องการใช้ CPS ให้กรอกสัญลักษณ์พร้อมเลขทะเบียน เช่น CPS9999 ลงในฟอร์มขอใช้เอกสารชั้นปิดli>
    5. PPS หมายถึง เอกสารประเภทจุลสารอีสาน จัดให้บริการในตู้จุลสาร เรียงลำดับตามเลขทะเบียน ผู้ที่ต้องการใช้ PPS ให้กรอกสัญลักษณ์พร้อมเลขทะเบียน เช่น PPS 1324 ลงในแบบฟอร์มขอใช้เอกสารชั้นปิด
    6. PICS หมายถึง เอกสารประเภทรูปภาพอีสาน จัดให้บริการในตู้รูปภาพ เรียงลำดับตามเลขทะเบียน ผู้ที่ต้องการใช้ PICS ให้กรอกสัญลักษณ์พร้อมเลขทะเบียน เช่น PICS 443 ลงในแบบฟอร์มขอใช้เอกสารชั้นปิด
    7. MAPS หมายถึง เอกสารประเภทแผนที่อีสาน จัดให้บริการในตู้แผนที่ เรียงลำดับตามเลขทะเบียน ผู้ที่ต้องการใช้ MAPS ให้กรอกสัญลักษณ์พร้อมเลขทะเบียน เช่น MAPS 333 ลงในแบบฟอร์มขอใช้เอกสารชั้นปิด
    8. TCS หมายถึง แถบบันทึกเสียงหรือเทปคลาสเซ็ทอีสาน อยู่ที่ห้องบริการสื่อโสตทัศน์ ชั้น 4
    9. VCS หมายถึง แถบบันทึกภาพหรือวิดิทัศน์อีสาน จัดให้บริการอยู่ที่ห้องบริการสื่อโสตทัศน์ ชั้น 4
    10. VCDS หมายถึงวีดีโอ ซีดีอีสาน จัดให้บริการอยู่ที่ห้องสื่อโสตทัศน์ ชั้น 4