ทรัพยาการสารสนเทศที่จัดให้บริการ

ทรัพยาการสารสนเทศที่จัดให้บริการ

    • หนังสือและงานวิจัย (ส) จัดเรียงที่ชั้นตามเลขเรียกหนังสือ โดยจัดหมวดหมู่ตามระบบทศนิยมของดิวอี้ ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้ที่ชั้นหนังสือห้องศูนย์ฯ
    • บทความ (ARS) กฤตภาค (CPS) จุลสาร (PPS) รูปภาพ (PICS) และแผนที่ (MAPS) จัดเรียงตามลำดับเลขทะเบียนจากน้อยไปมากโดยจัดเก็บเอกสารแยกแต่ละประเภท เมื่อผู้ใช้บริการต้องการใช้เอกสาร ให้จดสัญลักษณ์พร้อมเลขทะเบียน ติดต่อที่เจ้าหน้าที่ห้องศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร
    • ภาคนิพนธ์ ศิลปนิพนธ์ สารนิพนธ์ ปัญหาพิเศษ (TPS) จัดเรียงที่ชั้น โดยเรียงตามลำดับเลขทะเบียนจากน้อยไปมาก ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการที่ชั้นภาคนิพนธ์ห้องศูนย์ฯ
    • วารสารและหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จัดเรียงที่ชั้นหนังสือพิมพ์ห้องศูนย์ฯ
    • ซีดี-รอม (CDRS) คอมพิวเตอร์ไฟล์ (DFS) แถบบันทึกเสียง(TCS) วีดิทัศน์ (VCS) ไมโครฟิล์ม และสไลด์ จัดเก็บตามเลขทะเบียนแยกวัสดุ แต่ละประเภท เมื่อผู้ใช้บริการต้องการใช้ให้ติดต่อที่เจ้าหน้ากลุ่มงานสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Digital Learning Park
    • วัสดุจำลองและของตัวอย่าง เป็นการจัดแสดงพร้อมประกอบ คำบรรยายให้ผู้ใช้และผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้า

จัดการสารสนเทศท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้

ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นอีสาน ทำหน้าที่ดำเนินงานจัดหา รวบรวม จัดระบบ และให้บริการ สารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน ในทุกๆ ด้าน และทุกประเภท ทั้งที่เป็นวัสดุตีพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้า วิจัย สำหรับนิสิต นักศึกษา อาจารย์ บุลากร และผู้สนใจทั่วไป โดยได้มีการพัฒนาการให้บริการสารสนเทศมาอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินงานของศูนย์ฯ ซึ่งได้พยายามคัดเลือกสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำการจัดระบบและให้บริการ ทั้งที่เป็นหนังสือ เอกสารวิจัย ภาคนิพนธ์ บทความ กฤตภาคอีสาน จุลสาร แผนที่ และรูปภาพ

นอกเหนือจากสารสนเทศดังกล่าวนี้แล้ว สารสนเทศที่เผยแพร่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจำนวนมากก็น่าสนใจและมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน การศึกษา ค้นคว้า วิจัย ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธรจึงจัดกิจกรรม “จัดการสารสนเทศท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้” ขึ้น โดยในครั้งนี้เป็นการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ ด้านเศรษฐกิจพอเพียงภาคอีสาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในภูมิภาคอีสาน สำหรับผู้ใช้บริการที่สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงสารสนเทศเศรษฐกิจพอเพียงในภาคอีสานได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

มูลมังอีสาน Channel

ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร ได้ดำเนินการสำรวจ คัดเลือก และรวบรวม สารสนเทศอีสานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับด้าน ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน ที่เผยแพร่ใน Youtube นำมารวบรวมและจำแนกตามหัวข้อ ได้แก่ ปราชญ์อีสาน ฮีตสิบสองคองสิบสี่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ประเพณีอีสาน ท่องเที่ยวถิ่นอีสาน แหล่งโบราณคดีภาคอีสาน พิพิธภัณฑ์ในภาคอีสาน สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน ดนตรีพื้นบ้านอีสาน การแสดงพื้นบ้านอีสาน หัตถกรรมพื้นบ้านอีสาน แนวกินถิ่นอีสาน การแพทย์พื้นบ้านอีสาน ผ้าทอพื้นถิ่นอีสาน พร้อมสร้างช่อง channel “มูลมังอีสาน” เพื่อให้บริการผู้ใช้ผ่าน Youtube ทั้งนี้ศูนย์ฯ จะได้ดำเนินการคัดเลือกและรวบรวมไว้ในช่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยผู้ใช้บริการสามารถศึกษาได้ที่ https://bit.ly/3g96qs8

...

หัตถกรรมท้องถิ่นอีสาน Channel

เนื่องจาก ใน Youtube มีสารสนเทศในรูปแบบวิดีทัศน์ที่มีประโยชน์จำนวนมาก และหลากหลาย โดยเฉพาะวิดีทัศน์ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับหัตถกรรมของภูมิภาคอีสาน ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร จึงดำเนินการจัดเลือกและรวบรวม และจัดทำช่องทาง channel เพื่อให้ผู้ใช้บริการ หรือผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงสารสนเทศเหล่านี้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยสามารถเข้าใช้ได้ตาม Link URL ดังนี้ https://wow.in.th/99P5c

...

อาหารพื้นบ้านอีสาน Channel

ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร ได้ดำเนินการสำรวจ คัดเลือก และรวบรวม สารสนเทศอีสานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับด้านอาหารพื้นบ้านอีสานที่มีประโยชน์ ที่เผยแพร่ใน Youtube พร้อมทั้งจัดทำช่องทาง channel “อาหารพื้นบ้านอีสาน” เพื่อให้บริการ โดยผู้ใช้บริการสามารถศึกษาได้ที่ https://bit.ly/30FwUcA

...

เศรษฐกิจพอเพียงอีสาน Channel

ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธรได้ดำเนินการคัดเลือกสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในภูมิภาคอีสานที่เผยแพร่ใน Youtube นำมารวบรวมและจำแนกตามจังหวัด 20 จังหวัด จำนวน 118 รายการ และสร้างช่อง channel “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้บริการผู้ใช้ผ่าน youtube ทั้งนี้ศูนย์ฯ จะได้ดำเนินการคัดเลือกและรวบรวมไว้ในช่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยผู้ใช้บริการสามารถศึกษาได้ที่ https://bit.ly/2Znb5zL

...