News

               การศึกษาตำรายาสมุนไพรในเอกสารโบราณ           หนังสือการศึกษาตำรายาสมุนไพรในเอกสารโบราณ ฉบับนี้ แต่งโดย อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ นักวิจัย ประจำสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญของตำรายาสมุนไพรในเอกสารโบราณ ซึ่งตำรายาจะมีการบันทึกหรือจารึกลงในใบลาน สมุดไทย สมุดฝรั่งหรืออื่นๆ รวมถึงการให้ความรู้ ความเข้าใจภาษาและตัวอักษรโบราณ ได้แก่ อักษรขอม อักษรธรรมล้านนา อักษรธรรมล้านช้าง (อีสาน) และอักษรไทยน้อย ที่ปรากฎในเอกสารโบราณอีสานเน้นที่ใบลานสั้น หรือลานก้อม เรียนรู้ประวัติและการใช้ตัวอักษร อักขรวิธีที่ใช้ในการสะกดคำของ     ตัวอักษรแต่ละประเภท สามารถเข้าใจและ ประยุกต์ใช้หลักการปริวรรตและการวิเคราะห์ตำรายาจากเอกสารโบราณเบื้องต้น       
Read more
แบบเรียนอักษรธรรมอีสาน           หนังสือแบบเรียนอักษรธรรมอีสาน ฉบับปรับปรุงนี้ เรียบเรียงและจัดทำโดย อาจารย์สมัย วรรณอุดร สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เนื่องจากอักษรธรรมอีสานเป็นอักษรที่บันทึกสรรพวิชาการต่างๆของชาวอีสาน โดยเฉพาะคัมภีร์ใบลานเป็นหลักฐานชั้นต้นที่สำคัญที่บันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆทั้งคดีโลกและคดีธรรม เช่น หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ โหราศาสตร์ วรรณกรรม พงศาวดาร กฎหมายโบราณ ตำรายา คาถาอาคม ความรู้เหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญา วิถีชีวิต ความศรัทธาและความเชื่อของชาวอีสานที่สืบทอดกันมายาวนาน          ดังนั้นเพื่อให้ภูมิปัญญาด้านอักษรธรรมอีสานและภาษาท้องถิ่น ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการไขประตูไปสู่ภูมิปัญญาด้านอื่นๆ ของท้องถิ่นอีสาน ที่บรรพบุรษได้บันทึกไว้ในเอกสารโบราณ ได้รับการศึกษา เรียนรู้ อนุรักษ์ และถ่ายทอดสืบสานต่อไป ผู้เขียนจึงได้จัดทำแบบเรียนอักษรธรรมขึ้น เพื่อให้พระภิกษุ สามเณร นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไปได้เรียน อ่านเขียนอักษรธรรมอีสาน เพื่อให้ลูกหลานชาวอีสานใช้เป็นกุญแจที่จะศึกษาคลังภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษได้บันทึกไว้ และเพื่อให้ชาวอีสานเกิดความภาคภูมิใจในมรดกทางภูมิปัญญาของตน เกิดความรักความหวงแหน 
Read more
ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนัง) : วัดป่าเลไลย์ มหาสารคาม ความเป็นมาของ ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนัง) วัดป่าเลไลย์ วัดป่าเลไลย์ ตั้งอยู่ที่บ้านหนอกพอก ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.2224 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2460 วัดแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า วัดบ้านหนองพอก ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดป่าเลไลย์ ภายในวัดมีสิมซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด ตัวสิมเป็นอาคารแบบก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลียมผืนผ้าแบบทึบ นับเป็นสิมพื้นบ้านบริสุทธิ์ที่มีลักษณ์เฉพาะ มีเสารับปีนก หลังคาทรงจั่วชั้นเดียว มีปีกนกคลุมโดยรอบ หน้าบันทำเรียบมีซานจั่ว ตัวสิมยกสูงจากฐาน บนฐานมีระเบียงล้อมรอบ ทางขึ้นเป็นบันไดนาค ศิลปะพื้นบ้านแบบอีสาน มีประตูทางเข้าหนึ่งช่องอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ผนังด้านข้างเจาะเป็นช่องหน้าต่างแคบ ๆ เป็นช่องแสง ข้างละ 2 ช่อง ไม่มีบานหน้าต่าง บนฝาผนังมีภาพเขียนทั้งด้านนอกและด้านใน สิมวัดป่าเลไลย์  
Read more
เรียนรู้ภูมิปัญญาผญาภาษิต ผญาภาษิต : ในดงบ่มีไม่ เอาอันได๋มาเป็นป่า มีหนองบ่มีหย่าป้อง ปาสิบ้อนอยู่บ่อนได่   คำแปล : ถ้าดงไม่มีป่าไม้ แล้วจะเป็นดงได้อย่างไร เป็นหนองแต่ไม่มีหญ้าปล้อง ปลาจะอาศัยหุบเหยื่ออยู่หม่องได่ การใช้ : ใช้เป็นคติสอนให้คนเราพึ่งพาซึ่งกันและกัน เฮาทุกคนล้วนอยู่ในสังคมที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน การแสดงน้ำใจไมตรี หรือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน จะช่วยพัฒนาสังคมเราให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น… ดวงเดือน ไชยโดสา…post
Read more
รายการออนซอนอีสาน  อะเมซิ่งสายมูอีสาน  “พญานาค 3 พิภพ” มุกดาหารดินแดนแห่งศรัทธาเมืองลุ่มน้ำโขง  จังหวัดมุกดาหาร ดวงเดือน ไชยโสดา… post
Read more
ฮีตที่ 9 บุญข้าวประดับดิน หรือ บุญข้าวประดับดิน   ความหมาย  “เข่าประดับดิน หรือ เข้าประดับดิน” (ข้าวประดับดิน)   คือ “บุญที่ทำในวันแรมสิบสี่ค่ำเดือนเก้า ป็นการนำข้าวหลาอาหาร หวานคาว อย่างละนิดละน้อย แล้วห่อด้วยใบตองกล้วยทำเป็นห่อๆ นำไปวางไว้ตามโคนต้นโพธิ์ หรือต้นไม้ใหญ่ในวัด และตามพื้นดินบริเวณรอบๆ เจดีย์หรือโบสถ์” มูลเหตุที่ทำ เนื่องจากคนลาวและไทอีสานมีความเชื่อสืบต่อกันมาแต่โบราณแล้ว่า กลางคืนของเดือนเก้าดับ (วันแรมสิบสี่ค่ำเดือนเก้า)  ตรงกับวันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2558 เป็นวันที่ประตูนรกเปิด ยมบาลจะปล่อยให้ผีนรกออกมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้นในรอบปี ดังนั้นจึงพากันจัดห่อข้าวไว้ให้แก่ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้วถือว่าเป็นงานบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว พิธีกรรม ในตอนเย็นของวันแรม 13 ค่ำเดือนเก้า แม่บ้านแม่เรือนทุกครัวเรือนจะ “ห่อข้าวน้อย” ซึ่งมีวิธีห่อดังนี้ ฉีกใบตองออกให้มีขนาดเท่าหนึ่งฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซีกของใบกล้วย นำเอาข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือวางบนใบตองที่จะห่อ จากนั้นแกะเนื้อปลา 
Read more
  กฎหมายโบราณ จากเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ        หนังสือกฎหมายโบราณ จากเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ปริวรรต รวบรวม และเรียบเรียงโดย นายชวนากร จันนาเวช กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ทำการสำรวจและปริวรรตเอกสารโบราณจำนวนทั้งสิ้น 18 ฉบับ เพื่อศึกษาคุณค่า ด้านภาษา และประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง ที่เข้ามามีบทบาทในท้องถิ่นภาคอีสาน เป็นการรวบรวมกฎหมายโบราณอีสาน จารีตในแต่ละท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภูมิภาคอีสาน ศึกษาถึงข้อบังคับที่เกิดจากความเชื่อ จารีต และประเพณีที่มีมาแต่ดั้งเดิมของภูมิภาคท้องถิ่น และกฏข้อบังคับที่ตราขึ้นโดยการปกครองจากส่วนกลาง รวมถึงศึกษาลักษณะของการกระทำความผิด ระดับของความผิด การพิจารณาคดี บทลงโทษผู้ฝ่าฝืน หรือผู้กระทำความผิด ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติ และบทลงโทษผู้ปกครอง หรือผู้พิจารณาคดี ระดับของโทษที่ต้องรับทั้งในลักษณะเทียบเคียงทั้งทางอาญาและทางแพ่ง         นำเสนอเนื้อหาโดยการจัดกลุ่มเอกสารกฏหมายโบราณ เป็น 
Read more
ลักษณะของฮูปแต้ม ฮูปแต้ม หรือจิตรกรรมฝาผนัง ที่ปรากฏบนผนังของสิมซึ่งเป็นชื่อเรียกศาสนาคารของคนอีสาน มีการเขียนฮูปแต้มทั้งด้านในและด้านนอกสิม บางแห่งมีทั้งสองด้าน บางแห่งมีเพียงด้านเดียว ส่วนเรื่องราวของฮูปแต้ม และตำแหน่งของผนังที่วาดนั้นไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ส่วนมากเป็นเรื่องพุทธประวัติ ทศชาดกเวสสันดร อดีตพระพุทธเจ้า พระมาลัย นิทานพื้นบ้านเรื่องต่างๆ และมีวิถีชีวิตของชาวบ้านเป็นเกร็ดย่อยแทรกอยู่ในภาพที่เป็นเรื่องหลัก การวางเรื่องราวอาจไม่เป็นไปตามลำดับเหตุการณ์    2. การแบ่งพื้นที่ในการวาด สำหรับพื้นที่ใหญ่ๆ เช่น ผนังรีทั้งด้านในและด้านนอกที่ไม่ติดเสา มักจะแบ่งโดยใช้เส้นหนาทึบเป็นเส้นแบ่ง บางภาพจะใช้เส้นแบ่งนี้เป็นพื้นดินหรือภูเขาไปในตัว ไม่ใช้เส้นสินเทาอย่างรูปวาดของช่างหลวง การวางเรื่องราวขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสิม    3. ฮูปแต้มมีลักษณะเป็นสองมิติ แบนเรียบ การแสดงระยะใกล้ไกลของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะแสดงด้วยการวางรูปให้คาบเกี่ยวกัน บังกัน ซ้อนกัน มีการสร้างบรรยากาศด้วยสีสันน้อยมาก เพราะขาดแคลนสี ช่างแต้มอาศัยเส้นหนา เส้นบาง เน้นระยะ เน้นเรื่องราว และเน้นบรรยากาศ เช่น บริเวณที่ต้องการให้ดูยุ่งเหยิงวุ่นวาย อาจขีดเส้นสั้นๆ ถี่ๆ 
Read more
                                                                                          
Read more
ภาษาญ้อ ประวัติความเป็นมา             กลุ่มชาติพันธุ์ญ้อ แต่เดิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในเมืองหงสาและคำม่วน ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ในประเทศลาว ต่อมาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในเขตประเทศไทย บริเวณพื้นที่ในภาคอีสานและภาคตะวันออกของไทย พบมีกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อย้ายมาตั้งถิ่นฐานหลายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย อุดรธานี มหาสารคาม สกลนครนครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น นครสวรรค์ สระบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว นอกจากนี้ยังพบว่า มีกลุ่มชาติพันธุ์ญ้ออาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชาได้แก่ จังหวัดบันทายมีชัยและอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชาอีกด้วย ความสำคัญและคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญา          กลุ่มชาติพันธุ์ญ้อในประเทศไทย มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับคนไทยในภาคอีสานมาก ประเพณีที่ถือว่าเป็นเอกลักษณะเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อ คือ ประเพณีไหลเรือไฟในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ หรืออกพรรษา เรียกว่า “ไหลเฮือไฟ” 
Read more
048780