มรดกภูมิปัญญาอีสาน

                                                         

                                                 

                                                    มรดกภูมิปัญญาอีสาน

          หนังสือ “มรดกภูมิปัญญาอีสาน” ฉบับนี้ จัดทำโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม  กระทรวงวัฒนธรรม มีนโยบายได้จัดพิมพ์ขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสาขาต่างๆในภาคอีสาน ที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าและบทบาทที่เป็นวิถีของชุมชนในภาคอีสาน ตลอดจนการผสมผสานความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งในด้านรูปแบบการถือปฏิบัติ แนวคิด ความเชื่อและพิธีกรรมจนเกิดเป็นอัตลักษณ์แห่งวัฒนธรรมอีสานที่ล้ำค่าที่มีการสืบทอดกันมายาวนานจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นการสร้างความรู้เข้าใจในศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นให้กับประชาชนในวงกว้าง เป็นการอนุรักษ์และต่อยอดงานด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน สร้างความรักความภาคภูมิใจในท้องถิ่น ตลอดจนเป็นข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานที่งดงาม หนังสือ “มรดกภูมิปัญญาอีสาน” ฉบับนี้ มีเนื้อหาประกอบดังนี้

  • ด้านวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา : นิทานพื้นบ้าน ตำนานพื้นบ้าน บทร้องพื้นบ้าน บทสวด สำนวน ภาษิต ตำรา ผญาอีสาน ภาษาถิ่นและภาษาชาติพันธุ์พื้นบ้าน
  • ด้านศิลปะการแสดง : ดนตรีและเพลงร้องพื้นบ้าน นาฎศิลป์และการละคร กันตรึม หมอลำ เพลงโคราช มโหรีเขมร เรือมมะม๊วด ลำผญา ฟ้อนกลองตุ้ม หนังประโมทัย การเซิ้ง ฟ้อนผู้ไทย การเส็งกลองกิ่ง บักกั๊บแก๊บ
  • ด้านแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล : ขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งงาน การผูกเสี่ยว ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ประเพณีทำขวัญข้าว ข้าโอกาสพระธาตุพนม พิธีบายศรีสู่ขวัญ เหยา แห่ปราสาทผึ้ง
  • ด้านความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : อาหารและโภชนาการ ปลาร้า ส้มตำ น้ำพริก การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านด้านงานช่างฝีมือดั้งเดิม : ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า เครื่องจักสาน เครื่องโลหะ เครื่องไม้ และงานศิลปกรรมพื้นบ้าน
  • ด้านการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว : การละเล่นพื้นบ้าน เกมพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน  และศิลปการต่อสู้ป้องกันตัว มวยโบราณสกลนคร

            Post by  Pornpimol Manochai