Author: ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร

               การศึกษาตำรายาสมุนไพรในเอกสารโบราณ           หนังสือการศึกษาตำรายาสมุนไพรในเอกสารโบราณ ฉบับนี้ แต่งโดย อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ นักวิจัย ประจำสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญของตำรายาสมุนไพรในเอกสารโบราณ ซึ่งตำรายาจะมีการบันทึกหรือจารึกลงในใบลาน สมุดไทย สมุดฝรั่งหรืออื่นๆ รวมถึงการให้ความรู้ ความเข้าใจภาษาและตัวอักษรโบราณ ได้แก่ อักษรขอม อักษรธรรมล้านนา อักษรธรรมล้านช้าง (อีสาน) และอักษรไทยน้อย ที่ปรากฎในเอกสารโบราณอีสานเน้นที่ใบลานสั้น หรือลานก้อม เรียนรู้ประวัติและการใช้ตัวอักษร อักขรวิธีที่ใช้ในการสะกดคำของ     ตัวอักษรแต่ละประเภท สามารถเข้าใจและ ประยุกต์ใช้หลักการปริวรรตและการวิเคราะห์ตำรายาจากเอกสารโบราณเบื้องต้น       
Read more
แบบเรียนอักษรธรรมอีสาน           หนังสือแบบเรียนอักษรธรรมอีสาน ฉบับปรับปรุงนี้ เรียบเรียงและจัดทำโดย อาจารย์สมัย วรรณอุดร สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เนื่องจากอักษรธรรมอีสานเป็นอักษรที่บันทึกสรรพวิชาการต่างๆของชาวอีสาน โดยเฉพาะคัมภีร์ใบลานเป็นหลักฐานชั้นต้นที่สำคัญที่บันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆทั้งคดีโลกและคดีธรรม เช่น หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ โหราศาสตร์ วรรณกรรม พงศาวดาร กฎหมายโบราณ ตำรายา คาถาอาคม ความรู้เหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญา วิถีชีวิต ความศรัทธาและความเชื่อของชาวอีสานที่สืบทอดกันมายาวนาน          ดังนั้นเพื่อให้ภูมิปัญญาด้านอักษรธรรมอีสานและภาษาท้องถิ่น ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการไขประตูไปสู่ภูมิปัญญาด้านอื่นๆ ของท้องถิ่นอีสาน ที่บรรพบุรษได้บันทึกไว้ในเอกสารโบราณ ได้รับการศึกษา เรียนรู้ อนุรักษ์ และถ่ายทอดสืบสานต่อไป ผู้เขียนจึงได้จัดทำแบบเรียนอักษรธรรมขึ้น เพื่อให้พระภิกษุ สามเณร นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไปได้เรียน อ่านเขียนอักษรธรรมอีสาน เพื่อให้ลูกหลานชาวอีสานใช้เป็นกุญแจที่จะศึกษาคลังภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษได้บันทึกไว้ และเพื่อให้ชาวอีสานเกิดความภาคภูมิใจในมรดกทางภูมิปัญญาของตน เกิดความรักความหวงแหน 
Read more
  กฎหมายโบราณ จากเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ        หนังสือกฎหมายโบราณ จากเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ปริวรรต รวบรวม และเรียบเรียงโดย นายชวนากร จันนาเวช กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ทำการสำรวจและปริวรรตเอกสารโบราณจำนวนทั้งสิ้น 18 ฉบับ เพื่อศึกษาคุณค่า ด้านภาษา และประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง ที่เข้ามามีบทบาทในท้องถิ่นภาคอีสาน เป็นการรวบรวมกฎหมายโบราณอีสาน จารีตในแต่ละท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภูมิภาคอีสาน ศึกษาถึงข้อบังคับที่เกิดจากความเชื่อ จารีต และประเพณีที่มีมาแต่ดั้งเดิมของภูมิภาคท้องถิ่น และกฏข้อบังคับที่ตราขึ้นโดยการปกครองจากส่วนกลาง รวมถึงศึกษาลักษณะของการกระทำความผิด ระดับของความผิด การพิจารณาคดี บทลงโทษผู้ฝ่าฝืน หรือผู้กระทำความผิด ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติ และบทลงโทษผู้ปกครอง หรือผู้พิจารณาคดี ระดับของโทษที่ต้องรับทั้งในลักษณะเทียบเคียงทั้งทางอาญาและทางแพ่ง         นำเสนอเนื้อหาโดยการจัดกลุ่มเอกสารกฏหมายโบราณ เป็น 
Read more
                                                                                          
Read more
      เฮือนพื้นถิ่น : วิถีชีวิตและคติความเชื่อในใบลาน                  หนังสือ “เฮือนพื้นถิ่น : วิถีชีวิตและคติความเชื่อในใบลาน” เป็นเอกสารตำราวิชาการผลงานที่ปริวรรตและเรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย นิลอาธิ    รองศาสตราจารย์ ดร. ราชันย์ นิลวรรณาภา  และนายณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ ภายใต้โครงการอนุรักษ์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำเสนอถึงองค์ความรู้ คติความเชื่อเกี่ยวกับเฮือนอีสานที่ปรากฎในใบลาน สะท้อนถึงวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวอีสาน ในมิติมุมมองต่างๆ โดยปริวรรตจากใบลานต้นฉบับของบ้านดอนยม อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม   เนื้อหาแบ่ง 4 ภาค ได้แก่    
Read more
  ธุงผะเหวดอีสาน : พุทธศิลป์แห่งพลังศรัทธา                  หนังสือ “ธุงผะเหวดอีสาน : พุทธศิลป์แห่งพลังศรัทธา” จัดทำโดย กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยรองศาสตราจารย์วีณา วีสเพ็ญ และคณะได้ดำเนินการศึกษา อนุรักษ์ และสืบสานประเพณีเรื่องธุงผะเหวดอีสาน ภายใต้โครงการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอีสานแบบมุ่งเป้า ปี พ.ศ. 2562 โดยเน้นพื้นที่ศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี   ดำเนินการเรียบเรียงเนื้อหาโดย รองศาสตราจารย์วีณา วีสเพ็ญ และนายณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ เนื้อหาประกอบด้วยดังนี้                    
Read more
          คชศาสตร์ชาวกูย (https://www.elephantsandkuywisdom.com/ebook/index.html)           หนังสือ “คชศาสตร์ชาวกูย” เป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวถึงความยิ่งใหญ่ของชาติพันธุ์ชาวกูย สะท้อนให้เห็นวิถีภูมิปัญญาชาวกูยที่ผูกพันกับช้าง ที่ชาวกูยสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นำเสนอด้วยภาพประกอบสวยงามเป็นภาพจริงที่ทรงพลังมีความยิ่งใหญ่ในหลากหลายเหตุการณ์ ทำให้เห็นถึงเรื่องราวของชาวช้างสุรินทร์ ที่สามารถถ่ายทอดประวัติศาสตร์ชาติไทยและประวัติศาสตร์ของชาวกูยได้อย่างชัดเจน โดยมีคณะทำงานจัดทำหนังสือ “คชศาสตร์ชาวกูย”  ขึ้น ประกอบด้วยดังนี้    อำนวยการผลิตโดย : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (THAI MEDIA FUND) ดำเนินการผลิตโดย : โครงการผลิตสื่อเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้และเทิดทูนคุณค่าช้างไทยและชาติพันธุ์กูย บรรณาธิการ นักเขียน และถ่ายภาพโดย : อภินันทร์ บัวหภักดี ผู้ช่วยบรรณาธิการ และนิทรรศการภาพถ่ายโดย : กิ่งทอง มหาพรไพศาล ถ่ายภาพโดย : สราวุธ หวานเสร็จ ธนศักดิ์ 
Read more
                                                                                          
Read more
ผ้าห่อคัมภีร์ใบลานในภาคอีสาน อัตลักษณ์และการแพร่กระจาย      Palm Leaf Manuscript Wrap in Northeast Thailand : Identity and Diffusion เรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์วีณา วีสเพ็ญ ***************** บทที่ 1 วัฒนธรรมการสร้างคัมภีร์ใบลาน พระพุทธศาสนากับที่มาของวัฒนธรรมการสร้างคัมภีร์ใบลาน วัฒนธรรมการสร้างคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย อานิสงส์การสร้างคัมภีร์ใบลาน ผ้าห่อคัมภีร์ใบลานและความหลายหลายทางวัฒนธรรม บทที่ 2 การถวายผ้าห่อคัมภีร์ใบลานในมิติทางวัฒนธรรมของชาวอีสาน วัฒนธรรมการสร้างคัมภีร์ใบลานในภาคอีสานและงานพุทธศิลป์ การถวายคัมภีร์ใบลานและผ้าห่อคัมภีร์ในวัฒนธรรมอีสาน จุดประสงค์ของการถวายผ้าห่อคัมภีร์ในภาคอีสาน สภาพของคัมภีร์ใบลานภาคอีสานในปัจจุบัน บทที่ 3   ผ้าห่อคัมภีร์ใบลานที่ปรากฎในภาคอีสาน : แก้ซิ่นในวัด แก้ซิ่นในวัด..พบงานพุทธศิลป์แห่งพลังศรัทธา การห่อคัมภีร์ใบลานและการอนุรักษ์ผ้าห่อคัมภีร์ ลักษณะผ้าห่อคัมภีร์ในภาคอีสาน บทที่ 4  อัตลักษณ์ : 
Read more
  ผ้าไหมล้ำเลอค่า มหาสารคาม Maha Sarakham Precious Silk             นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ  ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ที่ปรึกษาการจัดทำหนังสือ “ผ้าไหมล้ำเลอค่า มหาสารคาม” ตามโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์มรดกทางภูมิปัญญา “ผ้าไหมล้ำเลอค่า มหาสารคาม” เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา  12 สิงหาคม พ.ศ. 2566 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาการทอผ้าของชาวจังหวัดมหาสารคาม  ที่ได้สืบทอดมาจากบรรพชนจนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ดังคำขวัญประจำจังหวัด คือ พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร   โดยมีเนื้อหาพร้อมภาพสีสวยงาม ประกอบด้วยดังนี้ ผ้าไหมล้ำเลอค่า มหาสารคาม : สืบสานมรดกวัฒนธรรมจากบรรพชน มรดกผ้าทอเจ้าเมืองมหาสารคาม ผ้าไหมล้ำเลอค่า มหาสารคาม 
Read more
048784