อุรังคธาตุ จ.ศ. ๑๑๖๗ (พ.ศ. ๒๓๔๘)
อุรังคธาตุ จ.ศ. ๑๑๖๗ (พ.ศ. ๒๓๔๘)
หนังสือ “อุรังคธาตุ จ.ศ. ๑๑๖๗ (พ.ศ. ๒๓๔๘)” ปริวรรตและเรียบเรียงโดย นายณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผลงานของกลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ เนื้อหาหนังสือเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมา ตำนานพระธาตุพนม ที่ผู้ปริวรรตศึกษาจากต้นฉบับเอกสารใบลานเรื่อง อุรังคธาตุ ฉบับวัดมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ที่เชื่อว่าเป็นตำนานอุรังคธาตุ สำนวนเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ที่จารด้วยอักษรธรรมและภาษาพื้นถิ่นอีสาน ระบุปีที่จาร จ.ศ. ๑๑๖๗ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๔๘ โดยท่านเจ้าคุณพระอริยานุวัตร (อารีย์ เขมจารี) อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาชัย ได้รวบรวมและรับมอบมาจากวัดโพนสว่าง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อหาหนังสือ นำเสนอเป็นตอน จัดเรียงเนื้อหาตามเอกสารใน ใบลานอุรังคธาตุ มีจำนวน ๑๗ บั้น (บรรพ หรือ ตอน) ดังนี้
บั้น ๑ นิทานแม่น้ำ
บั้น ๒ นิทานหนองหารหลวง หนองหานน้อย
บั้น ๓ นิทานพระปรเมศวรตั้งพระพาน (ปรเมศวรยุทธสุวัณณนาค)
บั้น ๔ ศาสนนครนิทาน (ศาสตร์นครนิทาน)
บั้น ๕ ปาทลักษณ์นิทาน
บั้น ๖ พระตถาคตนิรัพพาน
บั้น ๗ พระมหากัสสัปปะอรหันตา ๕ ฮ้อย อัญเชิญอุรังคธาตุสู่ภูกำพร้าแลพระยาทั้ง ๕ ก่ออุปมุง
บั้น ๘ อินทาธิราชสักการบูชาอุรังคธาตุ ณ ภูกำพร้า
บั้น ๙ พระยาสุริยวงสาสิทธิเตชธัมมิกราชเจ้า เสวยราชในเมืองฮ้อยเอ็ดปักตู
บั้น ๑๐ การจุติแห่งพระยาทั้งห้า
บั้น ๑๑ เทวดาแลพญานาคปูก (ปลูก) บุรีจันให้เป็นใหญ่
บั้น ๑๒ พราหมณ์ทั้งห้าเมือราชาพิเสกพระยาจันทบุรีปรสิทธิสักกะเทวะ
บั้น ๑๓ ห้าพราหมณ์คืนเมือไหว้พระยาสุมิตตธัมม
บั้น ๑๔ อรหันตาเจ้าทั้งห้าแลพระยาจันทบุรีปรสิทธิ สักกะเทวะถปันนาธาตุไว้ที่ภูเขาลวง
บั้น ๑๕ พระยาสุมิตตธัมมเจ้าหดสงอุรังคธาตุ แลถะปันนาธาตุดูกหลัง
บั้น ๑๖ พระโพธิสาราขเจ้าตนหลวงแลพระยาเชยยะเสฏฐาธิราชเจ้าไปอยุดอยา (ปฏิสังขรณ์) พระมหาธาตุเจ้า
บั้น ๑๗ ธาตุหัวอก
ภาคผนวก ประกอบด้วย ๑) นามศัพท์ในอุรังคธาตุ จ.ศ.๑๑๖๗ ๒) ตารางเปรียบเทียบโศลกโคลง ๓) ใบลานธาตุหัวอก ๔) จารึกวัดพระธาตุพนม ๒ ด้านที่ ๑ และข้อมูลจารึกที่เกี่ยวข้องจากแหล่งอื่น ๕) แผนที่ทางภูมิศาสตร์อื่นๆ ๖) ตารางและแผนภูมิแสดงการวิเคราะห์เปรียบเทียบจำนวนร้อยละ ของตัวอักษรและเนื้อหาที่ปรากฎในอังคธาตุ จ.ศ.๑๑๖๗
Post by Pornpimol Manochai