การศึกษาตำรายาสมุนไพรในเอกสารโบราณ
การศึกษาตำรายาสมุนไพรในเอกสารโบราณ
หนังสือการศึกษาตำรายาสมุนไพรในเอกสารโบราณ ฉบับนี้ แต่งโดย อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ นักวิจัย
ประจำสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงคุณค่า
ความสำคัญของตำรายาสมุนไพรในเอกสารโบราณ ซึ่งตำรายาจะมีการบันทึกหรือจารึกลงในใบลาน สมุดไทย
สมุดฝรั่งหรืออื่นๆ รวมถึงการให้ความรู้ ความเข้าใจภาษาและตัวอักษรโบราณ ได้แก่ อักษรขอม อักษรธรรมล้านนา
อักษรธรรมล้านช้าง (อีสาน) และอักษรไทยน้อย ที่ปรากฎในเอกสารโบราณอีสานเน้นที่ใบลานสั้น หรือลานก้อม
เรียนรู้ประวัติและการใช้ตัวอักษร อักขรวิธีที่ใช้ในการสะกดคำของ ตัวอักษรแต่ละประเภท สามารถเข้าใจและ
ประยุกต์ใช้หลักการปริวรรตและการวิเคราะห์ตำรายาจากเอกสารโบราณเบื้องต้น
หนังสือตำรายาสมุนไพรในเอกสารโบราณ ได้รวบรวมข้อมูล ความรู้ และตัวอย่างเกี่ยวกับตำรายาสมุนไพร
โบราณอีสานที่สำคัญและมีคุณค่า นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำเสนอเป็นบทเรียนให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า
โดยรายละเอียดของเนื้อหามีดังนี้
1. การสำเนาภาพจากเอกสารใบลานเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติการปริวรรต ได้แก่ สำเนาภาพใบลานตำรายา
อักษรธรรมล้านช้าง (อีสาน) สำเนาภาพใบลานตำรายาอักษรไทยน้อย และสำเนาภาพตำรายาอักษรไทยโบราณ
2. การนำเสนอรูปแบบอนุกรมศัพท์โรคและตำรับยาที่ปรากฎในเอกสารโบราณ โดยมีการปรับปรุงข้อมูลของ
รองศาสตราจารย์วีณา วีสเพ็ญ จากรายงานการวิจัยเรื่อง ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานจากวรรณกรรมตำรายา
ของภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออกคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และโครงการอนุรักษ์ใบลาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อปี พ.ศ. 2550
3. การนำเสนอตัวอย่างตำรายา (ภาคแปลปริวรรต) โดยใช้รูปแบบการถ่ายถอดครั้งเดียวเป็นคำอ่านปัจจุบัน
และนำเสนอตัวอย่างตำรายา ภาคจัดเรียงอนุกรม ก-ฮ ที่ได้มาจากเอกสารใบลานสั้น
หนังสือตำรายาสมุนไพรในเอกสารโบราณ เนื้อหาประกอบด้วย 14 บทเรียน ดังนี้
บทที่ 1 คุณค่าและความสำคัญของเอกสารโบราณ
บทที่ 2 ประเภทของเอกสารโบราณ จากจารึก ใบลาน และสมุดไทย
บทที่ 3 ภาษาและตัวอักษร
บทที่ 4 อักษรขอม ศึกษาเกี่ยวกับพยัญชนะ สระ เครื่องหมาย ตัวเลข และตัวอย่างการใช้อักษร
บทที่ 5 อักษรธรรมล้านนา ศึกษาเกี่ยวกับพยัญชนะ สระ เครื่องหมาย ตัวเลข และตัวอย่างการใช้อักษร
บทที่ 6 อักษรธรรมล้านช้าง (อีสาน) ศึกษาเกี่ยวกับประวัติและการใช้ตัวอักษรธรรม พยัญชนะ สระ
เครื่องหมาย วรรณยุกต์ ตัวเลข อักขรวิธี แม่ตัวสะกด และการประสมคำ หลักการเขียนที่ควรจำ
การใช้อักษรธรรมเขียนภาษาบาลี และตัวอย่างเอกสารใบลานที่จารด้วยอักษรธรรม
บทที่ 7 อักษรไทยน้อย ศึกษาเกี่ยวกับประวัติและการใช้ตัวอักษรไทยน้อย พยัญชนะ สระ เครื่องหมาย
วรรณยุกต์ ตัวเลข อักขรวิธี แม่ตัวสะกด การประสมคำ และตัวอย่างเอกสารใบลานที่จารด้วย
อักษรไทยน้อย
บทที่ 8 หลักการปริวรรตและการวิเคราะห์ตำรายาจากเอกสารโบราณเบื้องต้น
บทที่ 9 ตารางอนุกรมศัพท์สมุนไพรที่ปรากฎในเอกสารโบราณ
บทที่ 10 อนุกรมศัพท์โรคและตำรับยาที่ปรากฏในเอกสารโบราณ
ได้แก่ โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ ช่องปาก ช่องคอ โรคเส้น เอ็น โรคหู โรคจมูก โรคตา
โรคผิวหนัง โรคเกี่ยวกับศีรษะ โรคสมอง โรคเลือด โรคลม โรคระบบขับถ่าย
โรคเกี่ยวกับครรภ์และการคลอด โรคทรวงอก โรคเกี่ยวกับอวัยวะเพศ โรคนิ่ว โรคไข้ โรคกระดูก
โรคต่อมในร่างกาย โรคเกี่ยวกับท้อง กระเพาะ ลำไส้ โรคพยาธิ โรคเกี่ยวกับพิษและของเบื่อเมา
โรคเกี่ยวกับการตกจากที่สูง โรคเกี่ยวกับ แผล สัตว์มีพิษขบ กัด ตอด ปัก แทง โรคทางไสยศาสตร์
และโรคในสัตว์
บทที่ 11 ตัวอย่างตำรายาอักษรธรรม ภาคแปลปริวรรต
บทที่ 12 ตัวอย่างตำรายาอักษรธรรม ภาคจัดเรียงอนุกรม
บทที่ 13 ตัวอย่างตำรายาอักษรไทยน้อย ภาคแปลปริวรรต
บทที่ 14 ตัวอย่างตำรายาอักษรไทยน้อย ภาคจัดเรียงอนุกรม
Post by Pornpimol Manochai
****************************