ฮีตสิบสอง

บุนสงน่าม หรือ บุญเดือนห้า   สงน่าม เขียนตามเสียงพูดของคนอีสาน ตามกับภาษาไทยว่า สรงน้ำ เป็นคำกริยา แปลว่า อาบน้ำ ซึ่งคำนี้ใช้แก่บรรพชิตและเจ้านาย เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร           ฉะนั้น บุนสงน่าม จึงหมายถึง การทำบุญที่เอาน้ำอบน้ำหอม โปรดหรือไปสรงพระพุทธรูปพระภิกษุสงฆ์ และคนเฒ่าคนแก่ที่เราเคารพนับถือ มีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น มูลเหตุที่ทำ เนื่องจากเดือนห้าถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวอีสารมาแต่โบราณ โดยจะถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 เป็นวันเริ่มต้นการทำบุญ อย่างไรก็ตาม “ฮีตที่ 5 หรือ บุนเดือนห้า” นี้ก็คือ “บุญวันขึ้นปีใหม่ของชาวอีสานนั้นเอง” ซึ่งมีวันสำคัญ 3 วันดังนี้           
Read more
  ไหลเรือไฟ : ความเชื่อ พลังศรัทธาต่อสายน้ำที่ยิ่งใหญ่ไทสองฝั่งโขง ในค่ำคืนวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันที่ทุกคนรอคอยชมการไหลเรือไฟของชาวสองฝั่งแม่น้ำโขงนครพนม และเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อบูชาพระแม่คงคา และบูชารอยพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งอดีตจากจินตนาการของศิลปินเรือไฟพื้นบ้านสู่ลำไม้ไผ่หลายร้อยลำมาสร้างเป็นเรือไฟ หลอมศรัทธา และพลังใจผู้คนสองฟากฝั่งสืบสานประเพณีอันดีงามให้คงอยู่ตลอดไปประเพณีไหลเรือไฟจากอดีตถึงปัจจุบัน มีการพัฒนารูปแบบการสร้างผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ บ้างก็เฉลิมฉลองด้วยพลุดอกไม้ไฟวิจิตรตระการตา นับเป็นศิลปะการออกแบบก่อสร้างจากแรงงานในท้องถิ่น และเป็นความภาคภูมิใจในการสืบสานประเพณีของท้องถิ่นมาถึงปัจจุบันชาวอีสานมีความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีไหลเรือไฟอยู่ ๓ แนว คือ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธเจ้า  เมื่อครั้งพญานาคทูลอาราธนาพระพุทธองค์ไปแสดงธรรมในโลกพิภพ ครั้งจะเสด็จกลับพญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ประทับรอยพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักขิณาบท ประเทศอินเดีย (ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา) ไว้เป็นที่เคารพของเทวดา มนุษย์ตลอดจนสัตว์ทั้งปวง   ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์ ภายหลังเสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระมารดา จึงเสด็จกลับลงมาสู่โลกมนุษย์ผ่านบันไดทิพย์ ๓ ทาง คือบันไดทองเบื้องขวา เป็นที่ลงของเหล่าเทพยดา บันไดเงินเบื้องซ้ายเป็นทางลงของหมู่พรหม 
Read more
ฮีตเดือนสิบ : บุญข้าวสาก      ฮีตเดือนสิบ : บุญข้าวสาก การเขียนชื่อใส่ลงในพาข้าว (สำรับ) เรียกข้าวสาก (สลาก) การทำบุญมีการให้ทานเป็นต้น เกี่ยวแก่ข้าวสากเรียกบุญข้าวสาก เพราะมีกำหนดการทำในเดือนสิบจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า บุญเดือนสิบ                เป็นการทำบุญเพื่ออุทศส่วนกุศลบรรพบุรุษหรือญาติมิตรของเราที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นผู้มีพระคุณต่อเรามากมาย การทำบุญทำทานอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ล่วงลับแล้ว จึงเป็นหน้าที่ที่เราพึงกระทำ ฉะนั้นก่อนออกพรรษา 1 เดือน จะมีบุญสำคัญที่กำหนดเป็นฮีตที่ 10 และทำกันในวันเพ็ญเดือนสิบ ชาวอีสานเรียกว่าบุญข้าวสาก ส่วนชาวภาคกลางเรียกว่า บุญสารท ซึ่งเขากำหนดทำในวันสิ้นเดือนสิบ (วัดดับหรือวันแรม 15 ค่ำ เดือนสืบ) บุญข้าวสากจะมีการเตรียมสิ่งของเอาไว้ล่วงหน้า มากและนานวันกว่าบุญข้าวประดับดิน สิ่งที่เตรียมคือหาเนื้อหาปลาทำข้าวเม่า ข้าวพอง คั่วข้าวตอกแตก 
Read more
บุญเข้าพรรษา เป็นประเพณีในพระพุทธศาสนาซึ่งมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาลพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจะจาริกไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดแม้ในช่วงฤดูฝนบางครั้งก็เหยียบข้าวกล้าของชาวนาจนได้รับความเสียหาย ในขณะที่นักบวชศาสนาอื่นและฝูงนกยังหยุดผักผ่อนไม่ท่องเที่ยวในฤดูฝนพระพุทธเจ้าได้ทราบถึงความเดือนร้อนของชาวนา จึงทรงรับสั่งให้พระสงฆ์ประชุมพร้อมกันและทรงบัญญัติเรื่องการเข้าพรรษาไว้ว่า “อนุชานามิ ภิกขะเว วัสสัง อุปะคันตุง” แปลว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้พวกเธออยู่จำพรรษา” โดยกำหนด วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา (ปุริมพรรษา) แต่ถ้าปีใดเป็นอธิกมาส มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเข้าพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ก็ได้ และไปสิ้นสุดเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เรียกว่า วันเข้าพรรษาหลัง (ปัจฉิมพรรษา) ดวงเดือน ไชยโสดา… เอกสารอ้างอิง : เชาว์ลิต ทิมา . 
Read more
“บุญเดือนแปด” เดือน ๘ เป็นเดือนอยู่ในระยะหน้าฝน และเป็นเดือนที่พระอยู่จำพรรษาตลอดสามเดือนไม่ไปค้างคืนที่อื่น ยกเว้นแต่มีกิจที่จำเป็น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน ๗ วัน ถ้าเกินนั้นถือว่าพรรษาขาด โดยปกติแล้วกำหนดเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของปีที่เป็นปกติมาส (๘ หนเดียว)  เป็นวันอธิฐานเข้าพรรษา สำหรับปีที่เป็นอธิกมาสคือ ๘ สองหน กำหนดเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง เป็นวันอธิฐานเข้าพรรษาเพราะมีกำหนดทำกันในเดือน ๘ เป็นประจำ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มูลเหตุมีการเข้าพรรษา ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่เวฬุวันกลันทกะนิวาปะสถานณ เมืองราชคฤห์  มีพระภิกษุพวกหนึ่งเรียกว่า “ฉับพัคคีย์” ได้เที่ยวไปทุกฤดูกาลไม่หยุดพักเลย โดยเฉพาะฤดูฝนอาจไปเหยียบย่ำข้าวกล้า และหญ้าระบัดใบตลอดสัตว์เล็กเป็นอันตราย ประชาชนทั่วไปพากันติเตียน พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้พระภิกษุสามเณรจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน 
Read more
ฮีตสิบสอง : ประเพณีอีสาน 12 เดือน ฮีตเดือนอ้าย  บุญเข้ากรรม “ฮีตหนึ่งนั้น  เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย   ฝูงหมู่สังฆเจ้ากะเตรียมเข้าอยู่กรรม   มันหากธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน   อย่าได้ละห่วงเว้นเข็ญสิข้องแล่นนำ แท้แหล่ว” บุญเข้ากรรม เป็นกิจกรรมของสงฆ์ เรียกว่า เข้าปริวาสกรรม โดยให้พระภิกษุสงฆ์ที่ต้องอาบัติ (กระทำผิด) สังฆทิเสส ได้สารภาพต่อหน้า คณะสงฆ์เพื่อเป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตน แล้วปรับตัว ประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระวินัยพิธีเข้าปริวาสกรรมกำหนดไว้ 9 ราตรี กำหนดให้พักอยู่ในสถานที่สงบ ไม่มีคนพลุกพล่าน (อาจเป็นบริเวณวัดก็ได้) โดยมีกุฏิชั่วคราวเป็นหลังๆ พระภิกษุสงฆ์เข้าปริวาสกรรมคราวหนึ่งๆ จะมจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่ต้องบอกพระภิกษุสงฆ์จำนวน 4 รูปไว้ก่อนว่าตนเอง จะเข้ากรรม และเมื่อถึงเวลาออกกรรมจะมีพระสงฆ์ 20 รูป มารับออกกรรม เรียกว่า สวดอัพภาณ 
Read more
013644