Author: ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร

ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนัง) : วัดป่าเลไลย์ มหาสารคาม ความเป็นมาของ ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนัง) วัดป่าเลไลย์ วัดป่าเลไลย์ ตั้งอยู่ที่บ้านหนอกพอก ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.2224 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2460 วัดแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า วัดบ้านหนองพอก ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดป่าเลไลย์ ภายในวัดมีสิมซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด ตัวสิมเป็นอาคารแบบก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลียมผืนผ้าแบบทึบ นับเป็นสิมพื้นบ้านบริสุทธิ์ที่มีลักษณ์เฉพาะ มีเสารับปีนก หลังคาทรงจั่วชั้นเดียว มีปีกนกคลุมโดยรอบ หน้าบันทำเรียบมีซานจั่ว ตัวสิมยกสูงจากฐาน บนฐานมีระเบียงล้อมรอบ ทางขึ้นเป็นบันไดนาค ศิลปะพื้นบ้านแบบอีสาน มีประตูทางเข้าหนึ่งช่องอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ผนังด้านข้างเจาะเป็นช่องหน้าต่างแคบ ๆ เป็นช่องแสง ข้างละ 2 ช่อง ไม่มีบานหน้าต่าง บนฝาผนังมีภาพเขียนทั้งด้านนอกและด้านใน สิมวัดป่าเลไลย์  
Read more
เรียนรู้ภูมิปัญญาผญาภาษิต ผญาภาษิต : ในดงบ่มีไม่ เอาอันได๋มาเป็นป่า มีหนองบ่มีหย่าป้อง ปาสิบ้อนอยู่บ่อนได่   คำแปล : ถ้าดงไม่มีป่าไม้ แล้วจะเป็นดงได้อย่างไร เป็นหนองแต่ไม่มีหญ้าปล้อง ปลาจะอาศัยหุบเหยื่ออยู่หม่องได่ การใช้ : ใช้เป็นคติสอนให้คนเราพึ่งพาซึ่งกันและกัน เฮาทุกคนล้วนอยู่ในสังคมที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน การแสดงน้ำใจไมตรี หรือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน จะช่วยพัฒนาสังคมเราให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น… ดวงเดือน ไชยโดสา…post
Read more
รายการออนซอนอีสาน  อะเมซิ่งสายมูอีสาน  “พญานาค 3 พิภพ” มุกดาหารดินแดนแห่งศรัทธาเมืองลุ่มน้ำโขง  จังหวัดมุกดาหาร ดวงเดือน ไชยโสดา… post
Read more
ฮีตที่ 9 บุญข้าวประดับดิน หรือ บุญข้าวประดับดิน   ความหมาย  “เข่าประดับดิน หรือ เข้าประดับดิน” (ข้าวประดับดิน)   คือ “บุญที่ทำในวันแรมสิบสี่ค่ำเดือนเก้า ป็นการนำข้าวหลาอาหาร หวานคาว อย่างละนิดละน้อย แล้วห่อด้วยใบตองกล้วยทำเป็นห่อๆ นำไปวางไว้ตามโคนต้นโพธิ์ หรือต้นไม้ใหญ่ในวัด และตามพื้นดินบริเวณรอบๆ เจดีย์หรือโบสถ์” มูลเหตุที่ทำ เนื่องจากคนลาวและไทอีสานมีความเชื่อสืบต่อกันมาแต่โบราณแล้ว่า กลางคืนของเดือนเก้าดับ (วันแรมสิบสี่ค่ำเดือนเก้า)  ตรงกับวันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2558 เป็นวันที่ประตูนรกเปิด ยมบาลจะปล่อยให้ผีนรกออกมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้นในรอบปี ดังนั้นจึงพากันจัดห่อข้าวไว้ให้แก่ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้วถือว่าเป็นงานบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว พิธีกรรม ในตอนเย็นของวันแรม 13 ค่ำเดือนเก้า แม่บ้านแม่เรือนทุกครัวเรือนจะ “ห่อข้าวน้อย” ซึ่งมีวิธีห่อดังนี้ ฉีกใบตองออกให้มีขนาดเท่าหนึ่งฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซีกของใบกล้วย นำเอาข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือวางบนใบตองที่จะห่อ จากนั้นแกะเนื้อปลา 
Read more
ลักษณะของฮูปแต้ม ฮูปแต้ม หรือจิตรกรรมฝาผนัง ที่ปรากฏบนผนังของสิมซึ่งเป็นชื่อเรียกศาสนาคารของคนอีสาน มีการเขียนฮูปแต้มทั้งด้านในและด้านนอกสิม บางแห่งมีทั้งสองด้าน บางแห่งมีเพียงด้านเดียว ส่วนเรื่องราวของฮูปแต้ม และตำแหน่งของผนังที่วาดนั้นไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ส่วนมากเป็นเรื่องพุทธประวัติ ทศชาดกเวสสันดร อดีตพระพุทธเจ้า พระมาลัย นิทานพื้นบ้านเรื่องต่างๆ และมีวิถีชีวิตของชาวบ้านเป็นเกร็ดย่อยแทรกอยู่ในภาพที่เป็นเรื่องหลัก การวางเรื่องราวอาจไม่เป็นไปตามลำดับเหตุการณ์    2. การแบ่งพื้นที่ในการวาด สำหรับพื้นที่ใหญ่ๆ เช่น ผนังรีทั้งด้านในและด้านนอกที่ไม่ติดเสา มักจะแบ่งโดยใช้เส้นหนาทึบเป็นเส้นแบ่ง บางภาพจะใช้เส้นแบ่งนี้เป็นพื้นดินหรือภูเขาไปในตัว ไม่ใช้เส้นสินเทาอย่างรูปวาดของช่างหลวง การวางเรื่องราวขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสิม    3. ฮูปแต้มมีลักษณะเป็นสองมิติ แบนเรียบ การแสดงระยะใกล้ไกลของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะแสดงด้วยการวางรูปให้คาบเกี่ยวกัน บังกัน ซ้อนกัน มีการสร้างบรรยากาศด้วยสีสันน้อยมาก เพราะขาดแคลนสี ช่างแต้มอาศัยเส้นหนา เส้นบาง เน้นระยะ เน้นเรื่องราว และเน้นบรรยากาศ เช่น บริเวณที่ต้องการให้ดูยุ่งเหยิงวุ่นวาย อาจขีดเส้นสั้นๆ ถี่ๆ 
Read more
ภาษาญ้อ ประวัติความเป็นมา             กลุ่มชาติพันธุ์ญ้อ แต่เดิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในเมืองหงสาและคำม่วน ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ในประเทศลาว ต่อมาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในเขตประเทศไทย บริเวณพื้นที่ในภาคอีสานและภาคตะวันออกของไทย พบมีกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อย้ายมาตั้งถิ่นฐานหลายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย อุดรธานี มหาสารคาม สกลนครนครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น นครสวรรค์ สระบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว นอกจากนี้ยังพบว่า มีกลุ่มชาติพันธุ์ญ้ออาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชาได้แก่ จังหวัดบันทายมีชัยและอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชาอีกด้วย ความสำคัญและคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญา          กลุ่มชาติพันธุ์ญ้อในประเทศไทย มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับคนไทยในภาคอีสานมาก ประเพณีที่ถือว่าเป็นเอกลักษณะเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อ คือ ประเพณีไหลเรือไฟในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ หรืออกพรรษา เรียกว่า “ไหลเฮือไฟ” 
Read more
ครกกระเดื่อง : ครกมอง ก่อนที่จะมีโรงสีข้าวนั้น ครกกระเดื่องเป็นเครื่องมือสำคัญในการแปรรูปข้าว เปลือกให้เป็นข้าวสารโดยวิธีการทำข้าว วิธีการทำข้าวแบบเดิมของชาวนาอีสานนั้น เป็นการกะเทาะแยกเอาเปลือกหุ้มจากเมล็ดข้าว เริ่มแรกใช้วิธีการทุบข้าว ต่อมาได้ ทำครกตำข้าวขึ้นสองรูปแบบคือครกซ้อมมือหรือครกมือและครกกระเดื่องหรือครกมอง มีรายละเอียดดังนี้ ครกมือ เป็นครกตำข้าวที่ใช้มือจับสากตำข้าวเปลือก ส่วนประกอบของครก มือมีดังนี้ 1.ตัวครก เป็นท่อนไม้ขนาดใหญ่ ที่มีความยาวประมาณ 80-90 เซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50-60 เซนติเมตรเจาะตรงกลางเป็นร่องลึกโดยใช้ขวานฟันเอาแกลบใส่เป็นเชื้อและจุดไฟเผาส่วนกลางของท่อนไม้ เผาเป็นโพรงให้มีขนาดลึกตามต้องการ ขัดภายในให้เกลี้ยงเกลา ตัวครกมี 2 ขนาด คือ ครกขนาดใหญ่ และครกขนาดเล็กทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ครกมือ ตัวครก เป็นท่อนไม้ขนาดใหญ่ 2. สาก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีความยาวขนาด 2 เมตร มีลักษณะปลายทั้งสองข้างโค้งมน หัวสากทู่มนใหญ่ ปลายสากมนเรียวเล็ก ตรงกลางกลมกลึงพอดีกับมือกำอย่างหลวม 
Read more
ฮดสรงในฮูปแต้ม โฮงฮด หรือ ฮางฮด (รางฮด)                เป็นศิลปะไม้แกะ -สลักอีสาน ใช้สำหรับรดหรือสรงน้ำพระสงฆ์ทำเป็นรูปคล้ายเรือจำลองขนาดเล็กยาว เหมือนของล้านนา ส่วนหัวมักทำรูปเศียรนาค ส่วนท้องค่อนไปทางหัว เจาะรูให้น้ำไหลลงสู่พระสงฆ์ที่นั่งอยู่ข้างล่างเป็นประเพณีอย่างหนึ่งเรียกว่า ประเพณีอดสรง ประเพณีนี้มีในโอกาสพิเศษ เช่น ทำเพื่อเป็นการเลื่อนยศให้แก่พระสงฆ์ตามประเพณีเดิมซึ่งชาวอีสานเลือกพระที่จะเข้าพิธีนี้เอง  ประเพณีฮดสรง แทรกอยู่ในเรื่องเวสสันดร ชาวบ้านกำลังนั่งทำพิธีฮดสรง มีรางฮดหรือโฮงฮด ผนังด้านนอก ทิศตะวันตก วัดป่าเรไรย์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม                   คำว่า ฮาง ไม้แก่นที่ขุดเป็นร่องตรงกลางสำหรับใส่อาหารสัตว์ มีขนาดต่างๆ กัน เช่น ฮางไก่สำหรับใส่อาหารไก่ ฮางเฮ็ดสำหรับใส่อาหารเป็ด                 คำว่า ฮางสรง 
Read more
เรียนรู้ภูมิปัญญาผญาอีสาน   อย่าได้ทำโตเพี้ยงหัวเพียง สะเหมออึ่ง มันหากเหลือแต่ฮ้อง ตายย้อนปากโต คำแปล อย่าทำตนเป็ฯคนหยิ่งยโสทำตัวพองเหมือนอึ่ง ซึ่งมีแต่เสียงร้อง ในที่สุดก็ตาย                  เพราะปากตนเอง การใช้ สอนให้เป็นคนสุภาพเรียบร้อย ไม่คุยโวโอ้อวด อย่าได้ตายเพราะปาก (เหมือนอึ่ง)                                            
Read more
  หวด เครื่องใช้ประจำครัวเรือนของคนอีสาน ภาชนะสำหรับนึ่งของ เช่น ข้าวเหนียว ผัก ถั่ว งา แต่นิยมนึ่งข้าวเหนียวมากกว่าอย่างอื่น โดยทั่วไปมักสานด้วยตอก รูปร่างคล้ายกรวย ก้นสอบปากผาย                         ผลิตภัณฑ์จักสาน งานหัตถกรรม มักใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น  เช่น กก หรือ ผือ ไม้ไผ่ มวยเป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่ มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนบนกว้างส่วนล่างแคบลง กกและผือคือพืชที่ขึ้นตามป่าบุ่งป่าทามแต่ก่อนชาวบ้านจะฉีกเป็นเส้นเพื่อมัดของ ต่อมาด้วยฝีมือการจักสานที่มีอยู่ดั้งเดิม จึงได้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์จักสานผือขึ้น หวดสานด้วยไม้ไผ่             
Read more
048779