มรดกภูมิปัญญาอีสาน

  หวด เครื่องใช้ประจำครัวเรือนของคนอีสาน ภาชนะสำหรับนึ่งของ เช่น ข้าวเหนียว ผัก ถั่ว งา แต่นิยมนึ่งข้าวเหนียวมากกว่าอย่างอื่น โดยทั่วไปมักสานด้วยตอก รูปร่างคล้ายกรวย ก้นสอบปากผาย                         ผลิตภัณฑ์จักสาน งานหัตถกรรม มักใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น  เช่น กก หรือ ผือ ไม้ไผ่ มวยเป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่ มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนบนกว้างส่วนล่างแคบลง กกและผือคือพืชที่ขึ้นตามป่าบุ่งป่าทามแต่ก่อนชาวบ้านจะฉีกเป็นเส้นเพื่อมัดของ ต่อมาด้วยฝีมือการจักสานที่มีอยู่ดั้งเดิม จึงได้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์จักสานผือขึ้น หวดสานด้วยไม้ไผ่             
Read more
เรียนรู้ภูมิปัญญาผญาภาษิต อย่าติถะแหลงหล่ม ตมบ่มีพะลาดมื่น อย่าสู่พะลาดล้ม เดือนห้าก่อนฝน คำแปล อย่าทำเป็นลื่นล้ม ทั้งที่ไม่มีตมสักหน่อยและอย่าทำเป็นลื่นล้มในเดือนห้าก่อนฝนจะตก การใช้ ใช้เป็นคติเตือนใจว่าจะทำอะไรทำให้เหมาะกับกาลเทศะ   (คัดลอกมาจาก (วัฒนธรรมอีสาน. 2555. )                                                             
Read more
  ไหลเรือไฟ : ความเชื่อ พลังศรัทธาต่อสายน้ำที่ยิ่งใหญ่ไทสองฝั่งโขง ในค่ำคืนวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันที่ทุกคนรอคอยชมการไหลเรือไฟของชาวสองฝั่งแม่น้ำโขงนครพนม และเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อบูชาพระแม่คงคา และบูชารอยพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งอดีตจากจินตนาการของศิลปินเรือไฟพื้นบ้านสู่ลำไม้ไผ่หลายร้อยลำมาสร้างเป็นเรือไฟ หลอมศรัทธา และพลังใจผู้คนสองฟากฝั่งสืบสานประเพณีอันดีงามให้คงอยู่ตลอดไปประเพณีไหลเรือไฟจากอดีตถึงปัจจุบัน มีการพัฒนารูปแบบการสร้างผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ บ้างก็เฉลิมฉลองด้วยพลุดอกไม้ไฟวิจิตรตระการตา นับเป็นศิลปะการออกแบบก่อสร้างจากแรงงานในท้องถิ่น และเป็นความภาคภูมิใจในการสืบสานประเพณีของท้องถิ่นมาถึงปัจจุบันชาวอีสานมีความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีไหลเรือไฟอยู่ ๓ แนว คือ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธเจ้า  เมื่อครั้งพญานาคทูลอาราธนาพระพุทธองค์ไปแสดงธรรมในโลกพิภพ ครั้งจะเสด็จกลับพญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ประทับรอยพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักขิณาบท ประเทศอินเดีย (ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา) ไว้เป็นที่เคารพของเทวดา มนุษย์ตลอดจนสัตว์ทั้งปวง   ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์ ภายหลังเสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระมารดา จึงเสด็จกลับลงมาสู่โลกมนุษย์ผ่านบันไดทิพย์ ๓ ทาง คือบันไดทองเบื้องขวา เป็นที่ลงของเหล่าเทพยดา บันไดเงินเบื้องซ้ายเป็นทางลงของหมู่พรหม 
Read more
เรียนรู้ภูมิปัญญา..ผญาภาษิต..               “บุนบ่อคาดได้ แสนสิฮอมกะจำห่าง บาดว่าบุนคาดได้ แสนสิเว้นกะเวินมา” คำแปล : ของสิ่งใดก็ตาม ถ้าบุญวาวสนาจะไม่เป็นของเราแล้ว ถึงแม้จะอยู่ใกล้แค่เอื้อมก็จำต้องห่างไกลออกไป แต่ถ้าบุญวาสนาจะเป็นของเราแม้จะพยายายาม หลีกเว้นแต่ก็ต้องพบจนได้ แหล่งข้อมูล : ภูมิ สาระผล. (2555). วัฒนธรรมอีสาน. โรงพิมพ์พระธรรมขันต์.
Read more
เรียนรู้ภูมิปัญญา..ผญาภาษิต..   คนเฮานี้ ต้องเผิ่งอาศัยกัน คือดังปลาอาศัยน้ำ น้ำกะเผิ่งวังปลา ปลาอาศัยวังเวิน จึ่งล่องลอยนาน้ำ ทามอาศัยห้วย งัวควยอาศัยแอก ตาแฮกอาศัยไก่ต้ม จึงโดนตุ้มจากคอน คือดังคอนอาศัยไม้ นกใส่อาศัยโกน คนกะอาศัยคน เผิ่งกันโดยด้าม คามอาศัยหม้อ หมอมออาศัยส่อง ฆ้องอาศัยไม้ฆ้อน ตีต้องจึงค่อยดัง..ซั่นแล้ว การพึ่งพาอาศัยกันถือเป็นเรื่องสำคัญของทุกสิ่งอย่าง
Read more
  แคน  เป็นเครื่องดนตรีสำคัญของชาวอีสาน ทำจากไม้กู่แคน เมื่อเป่าแล้วทำนองเสียงดัง    แคนแล่นแคน แล่นแคน แล่นแคน  แคนหนึ่งอันเรียกว่าแคนหนึ่งเต้า ประวัติความเป็นมา แคน เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป๋าให้เป็นเพลง แบ่งเป็นสองอย่างคือ แคนเจ็ดและแคนแปด แคนเจ็ดนั้นมีลูกเจ็ดคู่ ส่วนแคนแปดนั้นมีลูกแปดคู่  แคนทำด้วยไม้อ้อหรือไม้เหี้ยน้อย แต่เดี๋ยวนี้ไม้อ้อหาได้ยาก จึงทำแคนด้วยไม้เหี้ยน้อยและจะต้องหาให้ได้ลดขนาดเท่านิ้วมือจึงจะใช้ได้ระบบของแคนแปดมีเสียงทั้งหมด ๑๖ เสียงแต่เป็นระดับเสียงที่ซ้ำกัน ๒ เสียง โดยเสียงทั้ง ๑๖ เสียงนี้ มิได้เรียงลำดับอย่างเสียงระนาดหรือเสียงเปียโน ส่วนประกอบของแคนมีดังนี้ ลูกแคน  ลูกแคนคือไม้ไผ่ที่นำมาประกอบเป็นแคน ทำจากไม้ซางซึ่งเป็นพืชตระกูลไม้ไผ่  ลำเล็ก ๆ มีปล้องยาว ขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วนางตามลำดับ โดยนำมาลนไฟแล้วดัดให้ตรงขนาดยาวตั้งแต่แปดสิบเซนติเมตรถึงสามเมตร ไม้กู่แคนทุกลำทะลุข้อออกเพื่อให้ลมผ่าน ฝังลิ้นทองเหลือง หรือลิ้นเงิน ห่างจากปลายข้างบนประมาณ 50-60 เซนติเมตร โดยบริเวณนั้นบากเป็นช่องสี่เหลี่ยมสองช่องห่าง 
Read more
  ภูมิปัญญาการอยู่ไฟ  การดูแลมารดาด้วยการแพทย์แผนไทย   “การอยู่ไฟ” หมายถึง การใช้ความร้อนในการรักษาสุขภาพของหญิงหลังคลอด ดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบการแพทย์แบบตะวันตก การตั้งครรภ์และสุขภาพหลังคลอดเป็นช่วงวิกฤติของผู้หญิง เนื่องจากระบบต่างๆ ของร่างกายมีการปรับเปลี่ยนไปร่างกายอยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล จึงจำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ- การอยู่ไฟนอกจากจะช่วยให้มดลูกแห้ง เข้าอู่เร็วน้ำคาวปลาแห้งสนิทแล้ว ยังทำให้ร่างกายฟื้นตัวเข้าสู่สภาพปกติและแข็งแรงโตเร็วขึ้น นอกจากนั้นการอยู่ไฟยังทำให้ผิวพรรณดี เลือดฝาดสมบูรณ์ รูปร่างสวยงามเหมือนก่อนตั้งครรภ์ มีความกระฉับกระเฉงไม่เมื่อยล้าไม่ปวดหลังปวดเอว ขั้นตอนในการอยู่ไฟประกอบด้วยภูมิปัญญาหลายส่วน ได้แก่ ลักษณะการให้ความร้อนกับร่างกาย โดยเฉพาะชนิดของพันธุ์ไม้ที่จะนำมาใช้เป็นฟืนหรือถ่าน สมุนไพรที่ใช้ดื่มในขณะอยู่ไฟ การรักษาแผลที่ช่องคลอด การทำความสะอาดร่างกาย และอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการอยู่ไฟ เช่น การเกิดผื่น รับประทานอาหารไม่ได้ ปวดหัว ปวดท้อง ซึ่งในแต่ละภูมิภาคมีภูมิปัญญาในการจัดการที่มีลักษณะจำเพาะของแต่ละพื้นที่ ภูมิปัญญา ในการอยู่ไฟมีหลักการที่สำคัญ ๕ ส่วน คือ ๑) การใช้ความร้อนในการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดลมในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายปรับตัวให้กลับมาอยู่ในสภาวะสมดุล ความร้อนทำให้หญิงที่อยู่ไฟหลังคลอดแข็งแรงสามารถกลับไปทำงานได้เหมือนเดิม และทนอากาศร้อนหนาวได้ดี ๒) อาหารและสมุนไพร 
Read more
พระเจริญราชเดช (ท้าวกวด) : เจ้าเมืองคนแรกมหาสารคาม ….พระเจริญราชเดช (ท้าวกวด) พระเจริญราชเดช (ท้าวกวด) เป็นบุตรอุปฮาดสิงห์ เจ้าเมืองร้อยเอ็ด เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2379 ที่เมืองร้อยเอ็ด เป็นหลานปู่ขัติยวงษาพิสุทธิบดี (สีลัง) และเป็นเหลนพระขัติยวงษา (ทน) ผู้สร้างเมืองร้อยเอ็ดซึ่งเป็นเจ้า เมืองร้อยเอ็ดคนแรก …..พระเจริญราชเดช (ท้าวกวด) เมื่อเติบโตขึ้นได้ไปศึกษาอยู่ที่สำนักท่านหลักคำเมืองอุบลราชธานี เมื่อจบการศึกษาที่นั่นแล้ว ได้กลับไปรับราชการอยู่กับพระขัติยวงษา (จัน) ที่เมืองร้อยเอ็ด ท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถใน งานราชการปราบโจรผู้ร้ายให้สงบราบคาบได้ จึงได้รับแต่งตั้งเป็น “ท้าว มหาชัย” เมื่ออายุได้ 21 ปี ใน พ.ศ. 2412 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ยกฐานะเมือง มหาสารคามขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ต่อมาในปี พ.ศ. 
Read more
เมี่ยงคำ เป็นอาหารว่างหรือของกินเล่นของคนไทยทุกภาค เป็นอาหารว่างที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะมีธาตุอาหารครบ ๕ หมู่อยู่ในคำเดียวกัน ไม่มีการบันทึกประวัติความเป็นมา แต่พิจารณาจากลักษณะของอาหารที่ใช้ทรัพยากรหลายอย่างจากสวนจึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นอาหารของชาวสวนแต่เดิม และอาจดัดแปลงมาจาก “เมี่ยง” ของชาวภาคเหนือ โดยเปลี่ยนใบเมี่ยงที่ใช้ห่อมาเป็นพืชผักในสวนภาคกลางแทน มีอาหารของชาวภาคกลางหลายชนิดที่ใช้ใบไม้ห่อแล้วเรียกว่า “เมี่ยง” ดังปรากฎในบทเห่ชมเครื่องว่าง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ว่า “เมี่ยงคำน้ำลายสอ เมี่ยงสมอเมี่ยงปลาทู       ข้าวคลุกคลุกไก่หมู น้ำพริกคั่วทั่วโอชา” เมี่ยงคำประกอบด้วยส่วนประกอบ 4 ส่วนคือ 1.เครื่องเมียง  2. น้ำเมี่ยง 3. ผักที่ใช้ห่อ 4. เครื่องเมี่ยง                 เครื่องเมี่ยง ประกอบด้วย มะพร้าวคั่วกุ้งแห้ง ขิง 
Read more
  ผ้าแพรวา : ราชินีไหมหัตถกรรมผู้ไทกาฬสินธุ์ ประวัติความเป็นมา ผ้าแพรวา คือ ผ้าแพรเบี่ยงไหมที่ใช้พาดเบี่ยงคล้ายสไบ มีความกว้างประมาณ ๑ ศอก ยาว ๑ วา จึงเป็นที่มาของชื่อผืนผ้าว่า “ผ้าแพรวา” ซึ่งมีแหล่งผลิตอยู่ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยช่างทอกลุ่มวัฒนธรรมผู้ไทย ความสำคัญและคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญา กรรมวิธีการทอผ้าแพรวา เป็นกรรมวิธีจกแบบดั้งเดิม โดยใช้ “นิ้วก้อย” จก สอดเส้นไหมสีสันต่าง ๆ สอดแทรกเป็นเส้นพุ่งพิเศษตามจังหวะลวดลายทีละเล็กละน้อย ส่วนการย้อมไหมมักใช้สีธรรมชาติ โดยเฉพาะสีแดงจากครั่งซึ่งใช้เป็นสีพื้น ทอสลับการสร้างลวดลายจกเป็นช่วง ๆ ตลอดทั้งผืน ผ้าแพรวาหนึ่งผืนใช้เวลาทอนานนับเดือน ความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของผ้าแพรวา คือ ลายหลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเป็นโครงสร้างพื้นฐานในลวดลายผ้า โดยมีลวดลาย ๑๐ – ๑๒ ลายต่อผืน และใช้เส้นไหม ๒ 
Read more
012638