ความเป็นอยู่และประเพณี

ฮีตสิบสอง : ประเพณีอีสาน 12 เดือน ฮีตเดือนอ้าย  บุญเข้ากรรม “ฮีตหนึ่งนั้น  เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย   ฝูงหมู่สังฆเจ้ากะเตรียมเข้าอยู่กรรม   มันหากธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน   อย่าได้ละห่วงเว้นเข็ญสิข้องแล่นนำ แท้แหล่ว” บุญเข้ากรรม เป็นกิจกรรมของสงฆ์ เรียกว่า เข้าปริวาสกรรม โดยให้พระภิกษุสงฆ์ที่ต้องอาบัติ (กระทำผิด) สังฆทิเสส ได้สารภาพต่อหน้า คณะสงฆ์เพื่อเป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตน แล้วปรับตัว ประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระวินัยพิธีเข้าปริวาสกรรมกำหนดไว้ 9 ราตรี กำหนดให้พักอยู่ในสถานที่สงบ ไม่มีคนพลุกพล่าน (อาจเป็นบริเวณวัดก็ได้) โดยมีกุฏิชั่วคราวเป็นหลังๆ พระภิกษุสงฆ์เข้าปริวาสกรรมคราวหนึ่งๆ จะมจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่ต้องบอกพระภิกษุสงฆ์จำนวน 4 รูปไว้ก่อนว่าตนเอง จะเข้ากรรม และเมื่อถึงเวลาออกกรรมจะมีพระสงฆ์ 20 รูป มารับออกกรรม เรียกว่า สวดอัพภาณ 
Read more
ธุงใยแมงมุม : พุทธบูชาตามความเชื่อคนอีสาน         ธุง เป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อประดับตกแต่งเป็นเครื่องหมาย หรือป้ายบอกกิจกรรมหรือถวายเป็นพุทธบูชาของชาวอีสาน …..ทำด้วยเส้นฝ้ายย้อมสีและไม้ไผ่ โดยใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นซี่เล็ก ๆ ไขว้กากบาทกันแล้ว ใช้เส้นฝ้ายพันสานกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จากศูนย์กลางออกมาเรื่อย ๆ และมักจะใช้ฝ้ายสีพันเป็นแถบสีสลับกันเป็นชั้น ๆ ขนาดของธุงหรือธงจะเล็กใหญ่ต่าง ๆ กัน แล้วนำธุงมาต่อกันเป็นผืนยาว ทิ้งชายห้อยให้แกว่งปลิวไปตามลม ธุง หรือ ธงชนิดนี้จะมีสีสันสวยงาม จึงมักแขวนประดับไว้ตามศาลาการเปรียญของวัด เป็นพุทธบูชาตามความเชื่อของชาวบ้าน           ธงชนิดหนึ่งของภาคอีสาน มีชื่อเรียกเป็นธุงชนิดต่าง ๆ หลากหลายตามโอกาส เช่น ธุงที่ใช้ในงานบุญผะเหวด เรียกว่า ธุงผะเหวด       
Read more
เส็งกลอง : ประเพณีสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์..ที่กำลังจะถูกลืม #กลองเส็ง…รู้จักกลองเส็ง…มรดกทางวัฒนธรรมที่กำลังจะถูกลืม… “กลองเส็ง” คือ #กลองที่ดีประกวดกัน หรือ “เส็งกัน” เรียกอีกชื่อว่า #กลองกิ่ง ว่า กลองเส็งเป็นกลองประเพณีมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ใช้ดีประกวดหรือแข่งขันกันในงานเทศกาลต่างๆ เช่น บุญกฐิน บุญแข่ง เรือ เทศกาลบุญผเวส (บุญพระเวส-เทศน์มหาชาติ) หรือทำบุญแจกข้าว ออกพรรษา ผ้าป่า เป็นประเพณีที่มีมาแต่ครั้งพ่อแม่ที่เป็นผู้ปฏิบัติ นำลูกหลานมาจนทุกวันนี้ #การทำกลองเส็ง เป็นเรื่องที่ยากมาก เริ่มจากการไปหาไม้ ติดไม้เป็นท่อน โดยมีแบบว่าจะกำหนดให้สูงเท่าไร กว้างเท่าไร เช่น ให้สูง 95 เซนติเมตร กว้างประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนหน้าและ ส่วนท้ายกว้าง 25 เซนติเมตร เมื่อติดไม้มาแล้วต้องไสไม้ด้านนอกให้ เป็นตัวกลอง แล้วชุดไม้ด้านในออกให้กลวง 
Read more
บุญเดือนหก บุญบั้งไฟ เป็นงานประเพณีท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและความเชื่อทางศาสนาของชาวอีสานมาช้านาน บุญบั้งไฟเป็นงานสำคัญของชาวอีสานก่อนลงมือทำนา ด้วยความเชื่อว่าเป็นการขอฝนเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนาอุดมสมบูรณ์ ประชาชนอยู่อย่างมีความสุข ในงานจะมีการแห่บั้งไฟและจุดบั้งไฟเพราะเชื่อว่าเป็นการส่งสัญญาณขึ้นไปบอกพญาแถนให้ส่งน้ำฝนลงมา ระหว่างที่มีการจุดบั้งไฟชาวบ้านจะมีการเซิ้งอย่างสนุกสนาน การทำบุญบั้งไฟนับเป็นการชุมนุมที่สำคัญของคนในท้องถิ่นที่มาร่วมงานบุญกันอย่างสนุกสนานเต็มที่ มีการนำสัญลักษณ์ทางเพศมาล้อเลียนในขบวนแห่บั้งไฟ โดยไม่ถือว่าเป็นเรื่องหยาบคาย การทำบุญบั้งไฟนี้บางทีจะตรงกับประเพณีบุญวันวิสาขบูชาด้วย นี่เป็นอีกหนึ่งงานประเพณีอีสาน ซึ่งเมื่อได้ไปดู ไปรู้ ไปเห็นแล้วจะเข้าใจถึงความหมายของภาคอีสานที่ว่า “แหล่งเรียนรู้ อู่อารยธรรม” ที่สำคัญของเมืองไทยจริงๆ กาพย์เซิ้งบั้งไฟ ประวัติความเป็นมา กาพย์เซิ้งบั้งไฟ เป็นร้อยกรองท้องถิ่นอีสานหรือเป็นเพลงพื้นบ้านประเภทเพลงประกอบ พิธีของชาวบ้านอีสาน ที่ร้องในขบวนแห่บั้งไฟในงานประเพณีบุญบั้งไฟ เดือน ๖ มีผู้นำคนหนึ่ง เป็นคนขับเนื้อความ แล้วคนอื่น ๆในขบวนจะร้องรับไปเรื่อย ๆ เรียกว่า การเซิ้ง ประกอบการฟ้อน ตามจังหวะของกลองตุ้มและเครื่องดนตรีอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบ เช่น พังฮาด โทน กาพย์เซิ้งบั้งไฟ แต่งด้วยคำประพันธ์ที่เรียกว่า กาพย์ 
Read more
013648