เส็งกลอง : ประเพณีสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์..ที่กำลังจะถูกลืม
เส็งกลอง : ประเพณีสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์..ที่กำลังจะถูกลืม
#กลองเส็ง…รู้จักกลองเส็ง…มรดกทางวัฒนธรรมที่กำลังจะถูกลืม…
“กลองเส็ง” คือ #กลองที่ดีประกวดกัน หรือ “เส็งกัน” เรียกอีกชื่อว่า #กลองกิ่ง ว่า กลองเส็งเป็นกลองประเพณีมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ใช้ดีประกวดหรือแข่งขันกันในงานเทศกาลต่างๆ เช่น บุญกฐิน บุญแข่ง เรือ เทศกาลบุญผเวส (บุญพระเวส-เทศน์มหาชาติ) หรือทำบุญแจกข้าว ออกพรรษา ผ้าป่า เป็นประเพณีที่มีมาแต่ครั้งพ่อแม่ที่เป็นผู้ปฏิบัติ นำลูกหลานมาจนทุกวันนี้
#การทำกลองเส็ง เป็นเรื่องที่ยากมาก เริ่มจากการไปหาไม้ ติดไม้เป็นท่อน โดยมีแบบว่าจะกำหนดให้สูงเท่าไร กว้างเท่าไร เช่น ให้สูง 95 เซนติเมตร กว้างประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนหน้าและ ส่วนท้ายกว้าง 25 เซนติเมตร เมื่อติดไม้มาแล้วต้องไสไม้ด้านนอกให้ เป็นตัวกลอง แล้วชุดไม้ด้านในออกให้กลวง ขูดแต่งโปงภายใน วัดให้ได้ตามแบบตามแผน จากนั้นบากแต่งตัวกลองให้ได้รูปที่สมบูรณ์ ต่อไปเริ่มการทำหนังกลอง โดยหาชื่อหนังควายมาตากให้แห้ง แล้วตัดหนังทำหุ้มกลอง โดยตัดหนังให้มีขนาดใหญ่กว่าปากกลอง ประมาณ 5 เซนติ เมตร นำหนังไปแช่น้ำให้นิ่มแล้วนำมาสับทำร้อยหู ร้อยหู แล้วเอามาเข้าหน้าเปียกทิ้งตากแดดไว้ 2-3 วัน
จากนั้นถอดออกจากหน้ากลองมาตากแดดอีก แห้งแล้วเอามาขูดให้หนังได้ที่พอดี แล้วเอามาหุ้มและตีทดลองเสียงให้ได้เสียงแหลมเล็ก เสร็จสรรพอาไปตีเข่งกัน คือ แข่งขันทีประกวดเสียงกัน สำหรับราคากลองเส็งแต่ละคู่ราคาต้นทุน ประมานคู่ละ 10,000-15,000บาท เป็นค่าไม้ ค่าหนัง โดยเฉพาะ ค่าไม้ซึ่งตกหลายบาทพอดูสำหรับไม้ประดู่ ส่วนหนังใช้หนังควาย อย่างดี 3 ผืน (3 ตัว) ต่อกลองคู่หนึ่ง
#การเตรียมกลองเพื่อเข้าแข่งขัน ต้องผ่านพิธีกรรมก่อนจะนำกลอง เข้าสู่สนาม เมื่อเตรียมพร้อมที่จะไปเส็ง ต้องจัดสำรับคาว-หวาน 4 ชุด ขัน 5 เพื่อถวายแก่นางไม้ องค์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความเหนียว (ให้หนังกลองเหนียว ไม่ขาดง่าย) เพื่อบอกให้รู้ ให้เป็นสิริมงคล ทำเสียงกลองให้ ดังๆ ให้แข็งแรง หนังเหนียว เสียงกลองยั่วใจคน เสียงสูง ทางใต้ให้ ดังไกลไปถึงหลีผี (น้ำตกคอนพะเพ็ง กลางลำน้ำโขง ในแขวงจำปาสัก ประเทศลาว) ส่วนทางเหนือให้ดังขึ้น ไปถึงวเลวล่าง (แถน-สวรรค์)
#การตีกลองเส็ง ต้องใช้ลีลา เริ่มด้วยการรัวกลองก่อน โดยคนตีต้อง มีกำลังแข็งแรง แต่ข้อต้องอ่อน และแขนอ่อน เริ่มจากจังหวะอ่อน นิ่มแล้วตีแรงขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ต้องเป็นไม้เนื้อเหนียว ไม่หักง่ายๆ การตัดสินฟังจากเสียงกลองที่ต้องเสียงเล็ก สูง ใส การแข่งขันมี 5 ยก ทีมละ 5 คน คนละยก ยกละ 1 นาที 5 คน 5 นาที
เมื่อไปแข่งขันเสร็จกลับมาแล้ว ต้องรื้อหนังหน้ากลองออก นำไป เก็บรักษาไว้อย่างดี ไม่ให้เกิดการเสียหาย หรือถูกกัดทำลาย ปีหน้า ต่อไปเมื่อจะแข่งขันอีกก็นำเอาออกมา ประกอบใหม่ หุ้มต่อไปเส็งอีก
#ประเพณีตีกลองเส็ง ทำให้ เกิดความสามัคคี ในหมู่บ้านสืบสานประเพณีของหมู่บ้าน รวมลูกรวมหลาน เอาพี่เอาน้อง คำว่า กอง (กลอง) หมายถึง มารวมกัน ในวันในวาระในศาสนาของเรา เป็นวัฒนธรรมที่จะให้ลูกหลานสืบสานต่อไปภายหน้า เพราะกลองเส็งเป็นประเพณีมาแต่เดิม มาแต่พ่อแต่แม่ แต่ปู่แต่ย่า สืบสานโดยสื่อสารกับหมู่บ้านนั้นหมู่บ้านนี้ให้มารวมกัน ให้ผู้เฒ่าผู้แก่คนหนุ่มคนสาวมารวมกันด้วยความสามัคคี ปรองดอง พูดจาพาทีมีอะไรก็เล่าให้กันฟัง ไปอย่างนั้นมาอย่าง นี้ รู้จักกันไม่ว่าจะเป็นวัด เป็นบ้าน เมื่อได้ยินเสียงกลองก็มา รวมกัน ถามไถ่กัน ปรึกษาหารือพูดจากัน ให้ข้อคิดกัน
….ดวงเดือน ไชยโสดา….
ขอบคุณภาพประกอบ : #คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด
https://oer.learn.in.th/…/9271e62a93a1
เอกสารอ้างอิง : น้าชาติ ประชาชื่น. (9 ตุลาคม 2555). กลองเส็ง. ข่าวสด 24