นิทรรศการออนไลน์

  ภูมิปัญญาการอยู่ไฟ  การดูแลมารดาด้วยการแพทย์แผนไทย   “การอยู่ไฟ” หมายถึง การใช้ความร้อนในการรักษาสุขภาพของหญิงหลังคลอด ดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบการแพทย์แบบตะวันตก การตั้งครรภ์และสุขภาพหลังคลอดเป็นช่วงวิกฤติของผู้หญิง เนื่องจากระบบต่างๆ ของร่างกายมีการปรับเปลี่ยนไปร่างกายอยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล จึงจำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ- การอยู่ไฟนอกจากจะช่วยให้มดลูกแห้ง เข้าอู่เร็วน้ำคาวปลาแห้งสนิทแล้ว ยังทำให้ร่างกายฟื้นตัวเข้าสู่สภาพปกติและแข็งแรงโตเร็วขึ้น นอกจากนั้นการอยู่ไฟยังทำให้ผิวพรรณดี เลือดฝาดสมบูรณ์ รูปร่างสวยงามเหมือนก่อนตั้งครรภ์ มีความกระฉับกระเฉงไม่เมื่อยล้าไม่ปวดหลังปวดเอว ขั้นตอนในการอยู่ไฟประกอบด้วยภูมิปัญญาหลายส่วน ได้แก่ ลักษณะการให้ความร้อนกับร่างกาย โดยเฉพาะชนิดของพันธุ์ไม้ที่จะนำมาใช้เป็นฟืนหรือถ่าน สมุนไพรที่ใช้ดื่มในขณะอยู่ไฟ การรักษาแผลที่ช่องคลอด การทำความสะอาดร่างกาย และอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการอยู่ไฟ เช่น การเกิดผื่น รับประทานอาหารไม่ได้ ปวดหัว ปวดท้อง ซึ่งในแต่ละภูมิภาคมีภูมิปัญญาในการจัดการที่มีลักษณะจำเพาะของแต่ละพื้นที่ ภูมิปัญญา ในการอยู่ไฟมีหลักการที่สำคัญ ๕ ส่วน คือ ๑) การใช้ความร้อนในการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดลมในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายปรับตัวให้กลับมาอยู่ในสภาวะสมดุล ความร้อนทำให้หญิงที่อยู่ไฟหลังคลอดแข็งแรงสามารถกลับไปทำงานได้เหมือนเดิม และทนอากาศร้อนหนาวได้ดี ๒) อาหารและสมุนไพร 
Read more
เรือนไทยภาคอีสาน   ประวัติความเป็นมาของเรือนไทยภาคอีสาน “ดินแดนในเฮือนมีเสา เป่าแคน แห้นข้าวเหนียว เคี้ยวปลาแดก แม่นแล้วคือลาว”         ลาวในที่นี้ หมายถึง ชนชาติไต-ลาว ซึ่งเป็นบรรพบุรุษร่วมสายใยทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนไทย-อีสานนั้นเอง ลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมอันเป็นตัวคอยเชื่อมโยงอยู่มี 3 ประการ คือ พูดตระกูลไท-ลาว ปลูกข้าวเหนียว และยกเรือนเสาสูง           ลักษณะอาคารบ้านเรือนเป็นองค์วัตถุที่แต่ละเผ่าชนได้สั่งสมและสืบสานนับเนื่องกันมายาวนานจนผู้พบเห็นบอกได้ทันทีว่า ลักษณะอาคารบ้านเรือนเช่นนั้นเป็นของคนชาติใด-เผ่าใด เช่น คนอีสานซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายไต-ลาว จะมีบ้านหรือเฮือนใต้ถุนสูง ทั้งนี้เนื่องจากอีสานเป็นที่สูง อยู่ในเขตซึ่งในอดีตมีสัตว์ร้ายมากมาย ในฤดูร้อนก็ร้อนมากต้องอาศัยใต้ถุนบ้านเป็นที่ทำงานบ้านต่าง ๆ เป็นคอกสัตว์เลี้ยงและที่เก็บเครื่องใช้สอย รวมทั้งใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและปฏิสัมพันธ์เพื่อนบ้านในรูปแบบต่างๆ หรือแม้แต่การป้องกันน้ำท่วมซึ่งมีให้เห็นได้บ่อยในฤดูฝน ชาวอีสานโดยทั่วไปมักจะตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มเครือญาติเป็น “หมู่บ้าน” บนที่สูง ใกล้ป่า ใกล้แหล่งน้ำ และมีพื้นที่ทำนาโดยรอบหมู่บ้าน เพราะเกือบทั้งหมดเป็นชาวนา ชื่อหมู่บ้านต่าง ๆ มักจะบ่งบอกภูมิลักษณะที่ตั้ง เช่น บ้านหนอง 
Read more
มหัศจรรย์…สมุนไพรใกล้ตัว สวย..สดใส..ด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน           ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร สำนักวิทยบริการ จัดนิทรรศการในหัวข้อ “มหัศจรรย์ สมุนไพรใกล้ตัว” นี้ ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ ผู้ใช้บริการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ ได้รับทราบถึงคุณค่าและประโยชน์ของสมุนไพรพื้นบ้านนานาชนิดที่สามารถหาได้ง่ายๆ รอบตัวเรา เช่น พืชผักสวนครัวต่างๆ ล้วนแต่มีสรรพคุณมีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยนำมาใช้เป็นเครื่องยา ทำอาหาร ตลอดจนบำรุงสุขภาพและความงาม                                     
Read more
คชศาสตร์ชาวกูย   ประวัติความเป็นมา         กลุ่มชนชาวกูย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศไทย ซึ่งอาศัยหนาแน่นในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานีและสระแก้วบางส่วน คำเรียกขานว่า “กูย” “กุย” หรือ “กวย” เป็นการออกเสียงที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นและยังจำแนกชื่อเรียกตามวิถีชีวิต อาทิ กูยซแร หมายถึง ชาวกูยที่ประกอบอาชีพทำนา กูยแฎก หมายถึง กลุ่มชาวภูยที่ประกอบอาชีพตีมีด และกูยอะจีง หรือ กูยอาเจียง คือ ชาวกูยที่ประกอบอาชีพเลี้ยงช้าง ความสำคัญและคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญา           ชาวกูยอะจีง บ้านกระโพ บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ มีความรูเและความชำนาญในการจับและการเลี้ยงช้างซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้ถ่ายทอดมาแต่โบราณกาล องค์ความรู้ดังกล่าวประกอบด้วย 
Read more
  บายศรี : เครื่องใช้ในพิธีกรรมเพื่อความเป็นสิริมงคล        “บายศรี” เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นเคย เพราะเห็นบ่อยในพิธีกรรมต่าง ๆ แทบทุกภาคของคนไทย เช่น การทำขวัญคน การทำขวัญข้าว การบวงสรวงสิ่งศักสิทธิ์ การไหว้ครู นาฏศิลป์ดนตรี และพิธีสมโภชพระพุทธรูป เป็นต้น ซึ่งพิธีกรรมเหล่านี่ล้วนต้องใช้บายศรีเป็นเครื่องประกอบทั้งสิ้น ความหมายของคำว่า บายศรี  หมายถึง เครื่องเชิญขวัญ หรือ รับขวัญ ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้นๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยอยู่ในบายศรี และมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี คำว่า บายศรี 
Read more
  ลายผ้าเอกลักษณ์ ประจำอำเภอ เมืองมหาสารคาม             ในปี พ.ศ.2558 สมาคมส่งเสริมผ้าไทยจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกันจัดประกวดผ้าลายมัดหมี่ของดีประจำอำเภอขึ้นทำให้เกิดการบัญญัติลายผ้าเพิ่มขึ้นอีก 13 ลายที่ปราณีตสวยงามเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคและเพิ่มโอกาสของผู้ทอผ้า เกิดความหลากหลายของผ้ามัดหมี่อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้จังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัดแรกที่มีผ้าลายประจำอำเภออย่างเป็นทางการเกิดมิติใหม่และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดให้กลุ่มทอผ้ามีงานทำมากกว่าเดิมเพิ่มรายได้สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคงยิ่งขึ้นและที่สำคัญเป็นการสร้างภาพจำใหม่ให้จังหวัดมหาสารคาม เป็นเมืองแห่งไหมมัดหมี่โดยสมบูรณ์อย่างแท้จริง จึงขอประกาศผลการคัดเลือกลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอ จังหวัดมหาสารคาม ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม                   ผ้าลายสร้อยดอกหมาก    เป็นลายผ้าโบราณลายดั้งเดิมของท้องถิ่นอีสาน เป็นลายเก่าแก่ของบรรพบุรุษซึ่งชาวบ้านในแถบภาคอีสานโดยเฉพาะจังหวัดมหาสารคามได้ทอใช้กันมากและจังหวัดมหาสารคามได้กำหนดให้เป็น “ลายเอกลักษณ์ประจำแต่เดิมชาวบ้านแถบจังหวัดมหาสารคามทอผ้าลายโบราณ 
Read more
ฮีตสิบสอง : ประเพณีอีสาน 12 เดือน ฮีตเดือนอ้าย  บุญเข้ากรรม “ฮีตหนึ่งนั้น  เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย   ฝูงหมู่สังฆเจ้ากะเตรียมเข้าอยู่กรรม   มันหากธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน   อย่าได้ละห่วงเว้นเข็ญสิข้องแล่นนำ แท้แหล่ว” บุญเข้ากรรม เป็นกิจกรรมของสงฆ์ เรียกว่า เข้าปริวาสกรรม โดยให้พระภิกษุสงฆ์ที่ต้องอาบัติ (กระทำผิด) สังฆทิเสส ได้สารภาพต่อหน้า คณะสงฆ์เพื่อเป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตน แล้วปรับตัว ประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระวินัยพิธีเข้าปริวาสกรรมกำหนดไว้ 9 ราตรี กำหนดให้พักอยู่ในสถานที่สงบ ไม่มีคนพลุกพล่าน (อาจเป็นบริเวณวัดก็ได้) โดยมีกุฏิชั่วคราวเป็นหลังๆ พระภิกษุสงฆ์เข้าปริวาสกรรมคราวหนึ่งๆ จะมจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่ต้องบอกพระภิกษุสงฆ์จำนวน 4 รูปไว้ก่อนว่าตนเอง จะเข้ากรรม และเมื่อถึงเวลาออกกรรมจะมีพระสงฆ์ 20 รูป มารับออกกรรม เรียกว่า สวดอัพภาณ 
Read more
ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอ เมืองมหาสารคาม             ในปี พ.ศ.2558 สมาคมส่งเสริมผ้าไทยจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกันจัดประกวดผ้าลายมัดหมี่ของดีประจำอำเภอขึ้นทำให้เกิดการบัญญัติลายผ้าเพิ่มขึ้นอีก 13 ลายที่ปราณีตสวยงามเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคและเพิ่มโอกาสของผู้ทอผ้า เกิดความหลากหลายของผ้ามัดหมี่อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้จังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัดแรกที่มีผ้าลายประจำอำเภออย่างเป็นทางการเกิดมิติใหม่และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดให้กลุ่มทอผ้ามีงานทำมากกว่าเดิมเพิ่มรายได้สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคงยิ่งขึ้นและที่สำคัญเป็นการสร้างภาพจำใหม่ให้จังหวัดมหาสารคาม เป็นเมืองแห่งไหมมัดหมี่โดยสมบูรณ์อย่างแท้จริง จึงขอประกาศผลการคัดเลือกลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอ จังหวัดมหาสารคาม ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ผ้าลายสร้อยดอกหมาก เป็นลายผ้าโบราณลายดั้งเดิมของท้องถิ่นอีสาน เป็นลายเก่าแก่ของบรรพบุรุษซึ่งชาวบ้านในแถบภาคอีสานโดยเฉพาะจังหวัดมหาสารคามได้ทอใช้กันมากและจังหวัดมหาสารคามได้กำหนดให้เป็น “ลายเอกลักษณ์ประจำแต่เดิมชาวบ้านแถบจังหวัดมหาสารคามทอผ้าลายโบราณ ตามบรรพบุรุษอยู่หลายลายด้วยกันภายหลังลายเก่าแก่เหล่านี้ก็เริ่มสูญหายไปจากชีวิตการทอผ้าของชาวบ้าน เนื่องจากความยากในการทอลายสร้อยดอกหมากก็เป็นลายผ้าโบราณลายหนึ่งที่เกือบจะสูญหายไปจากท้องถิ่น ด้วยความที่ล้ายผ้ามีความละเอียดมาก ผู้ทอต้องมีความรู้ในเรื่องของลาย และมีฝีมือทั้งในการมัดการทอ ถ้าไม่มีความชำนาญ การย้อมสี อาจไม่สม่ำเสมอทำให้ลายผ้าผิดเพี้ยนไป นอกจากนี้ต้องใช้ระยะเวลาในการทอมาก จึงเป็นสาเหตุให้ชาวบ้านไม่นิยมทอผ้าลายสร้อยดอกหมาก” จนกระทั่งทางจังหวัดมหาสารคาม ได้จัดให้มีการประกวดผ้าไหมประจำหวัดขึ้น 
Read more
  เสน่ห์..ภูมิปัญญาแห่งสีธรรมชาติ ..สีย้อมผ้าจากธรรมชาติภูมิปัญญาถิ่นอีสาน..        สีธรรมชาติ คือ สีที่ได้จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ        เช่น เปลือกไม้ แก่นไม้ และผลไม้ เช่น สีเหลืองได้จากต้นเข หรือแก่นขนุน สีแดงจากครั่ง สีน้ำเงินจากคราม แต่เนื่องจากกรรมวิธีในการย้อมยุ่งยาก ขาดแคลนวัตถุดิบ อีกทั้งสีเคมีเข้ามาจำหน่ายทำให้สีธรรมชาติมีการใช้กันน้อยลง        ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ จะมีสีที่งดงาม กลมกลืน ไม่ฉูดฉาด และมีเสน่ห์อันท้าทายจากเรื่องราวของสีสัน กรรมวิธีการย้อม และความเชื่อมั่นอันเป็นเอกลักษณ์ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ความลี้ลับของการย้อมสีแต่ละครั้งที่ออกมาไม่ซ้ำกันแม้ต้นไม้นั้นจะเป็นต้นเดียวกัน ปัจจัยของฤดูกาล วิธีย้อม อายุของต้นไม้ และอื่นๆ จะทำให้ได้สีที่มีความแตกต่างกัน การย้อมสีธรรมชาติ จึงเป็นศิลปะอันประณีต และบอกเล่าเป็นตำนานของผ้าถ่ายทอดกันไปในกาลข้างหน้า   ที่มาของสีธรรมชาติ 
Read more
048730