ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอ เมืองมหาสารคาม
ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอ เมืองมหาสารคาม
ในปี พ.ศ.2558 สมาคมส่งเสริมผ้าไทยจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกันจัดประกวดผ้าลายมัดหมี่ของดีประจำอำเภอขึ้นทำให้เกิดการบัญญัติลายผ้าเพิ่มขึ้นอีก 13 ลายที่ปราณีตสวยงามเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคและเพิ่มโอกาสของผู้ทอผ้า เกิดความหลากหลายของผ้ามัดหมี่อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้จังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัดแรกที่มีผ้าลายประจำอำเภออย่างเป็นทางการเกิดมิติใหม่และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดให้กลุ่มทอผ้ามีงานทำมากกว่าเดิมเพิ่มรายได้สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคงยิ่งขึ้นและที่สำคัญเป็นการสร้างภาพจำใหม่ให้จังหวัดมหาสารคาม เป็นเมืองแห่งไหมมัดหมี่โดยสมบูรณ์อย่างแท้จริง จึงขอประกาศผลการคัดเลือกลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอ จังหวัดมหาสารคาม ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม
ผ้าลายสร้อยดอกหมาก
เป็นลายผ้าโบราณลายดั้งเดิมของท้องถิ่นอีสาน เป็นลายเก่าแก่ของบรรพบุรุษซึ่งชาวบ้านในแถบภาคอีสานโดยเฉพาะจังหวัดมหาสารคามได้ทอใช้กันมากและจังหวัดมหาสารคามได้กำหนดให้เป็น “ลายเอกลักษณ์ประจำแต่เดิมชาวบ้านแถบจังหวัดมหาสารคามทอผ้าลายโบราณ ตามบรรพบุรุษอยู่หลายลายด้วยกันภายหลังลายเก่าแก่เหล่านี้ก็เริ่มสูญหายไปจากชีวิตการทอผ้าของชาวบ้าน เนื่องจากความยากในการทอลายสร้อยดอกหมากก็เป็นลายผ้าโบราณลายหนึ่งที่เกือบจะสูญหายไปจากท้องถิ่น ด้วยความที่ล้ายผ้ามีความละเอียดมาก ผู้ทอต้องมีความรู้ในเรื่องของลาย และมีฝีมือทั้งในการมัดการทอ ถ้าไม่มีความชำนาญ การย้อมสี อาจไม่สม่ำเสมอทำให้ลายผ้าผิดเพี้ยนไป นอกจากนี้ต้องใช้ระยะเวลาในการทอมาก จึงเป็นสาเหตุให้ชาวบ้านไม่นิยมทอผ้าลายสร้อยดอกหมาก” จนกระทั่งทางจังหวัดมหาสารคาม ได้จัดให้มีการประกวดผ้าไหมประจำหวัดขึ้น ปรากฎว่าผ้าไหมที่ได้รับรางวัลชนะเสิศ คือ ลายสร้อยดอกหมากความสวยงามและวิจิตรบรรจงมาก จึงให้เลือกผ้าไหมลายสร้อยหมากเป็นผ้าไหมประจำจังหวัดสนับสนุนให้ชาวบ้านทอผ้าลายนี้ให้มาก ขณะนี้กลุ่มทอผ้าไหมทุกอำเภอของจังหวัดมหาสารคามหันมาผลิตลายสร้อยดอกหมากกัน เป็นที่นิยมของคนจังหวัดมหาสารคามและต่างจังหวัด
- อำเภอเมืองมหาสารคาม ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอได้แก่ ลายกุญแจใจ
กุญแจ คือเครื่องคล้องสิ่งต่างๆ ไว้ให้อยู่ด้วยกันอย่างมั่นคงและยาวนาน ใจ คือสิ่งที่ทำหน้าที่รู้สึกนึกคิด หรือจุดสำคัญของบางสิ่งบางอย่างที่เป็นเสมือนศูนย์กลาง หรือศูนย์รวมที่สำคัญ “ลายกุญแจใจ” จึงเป็นลายที่สื่อให้เห็นถึงการร่วมใจรวมความรู้สึกนึกคิดที่ดีงาม ความรักความสามัคคีของคนในครอบครัวและชุมชนของอำเภอเมืองมหาสารคามที่มีต่อกันสืบไปอย่างไม่เสื่อมคลาย
- อำเภอแกดำ ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอได้แก่ ลายไข่มดแดง
ผ้ามัดหมี่ลายไข่มดแดงได้รับฟังจากการเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ของอำเภอแกดำว่า เป็นลายผ้าที่เกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน เป็นวิถีชีวิตชนบทในการหาอยู่หากินตามธรรมชาติป่าโคกเขาลำเนาไพร ในการแหยไข่มดแดงมาทำเป็นอาหารเลิศรสได้สังเกตเห็นความมีพลังรวมใจในการสร้างรังของมดแดงที่มีขนาดใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยของสมาชิกมดแดงและเป็นที่เก็บไข่มดแดงเพื่อขยายพันธ์ต่อไป จึงเกิดแรงบันดาลใจในการมัดย้อมสีเส้นด้ายเป็นลายไข่มดแดงจนถึงปัจจุบัน ลายไข่มดแดง จึงหมายถึงความร่วมมือร่วมใจ พลังความสามัคคี สวมใส่แล้วมีพลังเหมือนมดแดง
- อำเภอชื่นชม ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอได้แก่ ลายดอกชื่นชม
ผ้าลายดอกชื่นชมเติมเรียกว่า ลาย “หมากหวายน้อย” เป็นลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านเหล่าดอกไม้ โดยได้แรงบันดาลใจจากผลของต้นหวายที่เกิดขึ้นเป็นธรรมชาติผลเป็นพวงสีน้ำตาลที่สนใจของผู้พบเห็น ซึ่งเดิมนิยมย้อมด้วยสีเหลืองแดง และเขียว โดยสีเหลืองได้จากสีธรรมชาติ จาก “ต้นเข” และสีแดงได้จาก “สีครั่ง” ซึ่งนิยมเลี้ยงครั่งกับต้นจามจุรี และสีเขียวที่ได้จากต้นขี้เหล็กและดันขนุน เป็นลายที่มีเฉพาะในบ้านเหล่าดอกไม้และเพื่อให้แสดงถึงเอกลักษณ์ จึงนำมารวมกับชื่อของอำเภอจึงเป็น “ลายดอกชื่นชม” ใดรได้สวมใส่ก็จะเป็นที่นิยมชื่นชมของผู้พบเห็น
- อำเภอนาดูน ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอได้แก่ ลายหัวนาค
ผ้าลายหัวนาค เป็นลายผ้าที่เกิดจากจินตนาการความเชื่อในเรื่องความมีอำนาจวาสนาของชาวอีสาน ซึ่งเชื่อกันว่าลายพญานาคหรือนาคเป็นเจ้าแห่งงูทั้งหลายที่นำความอุดมสมบูรณ์มาสู่ชาวโลกคือเป็นผู้กำหนดให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลถ้าใครสามารถทำลายผ้าเป็นลายพญานาคได้ คนนั้นจะได้รับการยกย่องว่าเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ จึงมีการมัดหมี่ลายหัวนาคแบบโบราณขึ้น
- อำเภอวาปีปทุม ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอได้แก่ ลายข้าวสาร
ผ้าลายข้าวสารเป็นลายผ้าไหมที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีความเชื่อเรื่องพระแม่โพสพซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่ดูแลข้าวในนาที่ชาวนาเคารพนับถือ ข้าวจึงเป็นสิ่งที่มีค่ามากของคนอีสานและข้าวของชาวอำเภอวาปีปทุมเป็นข้าวที่มีคุณภาพ เมล็ดข้าวสวยงามกลิ่นหอมรสชาติที่อร่อย จึงได้นำมาประยุกต์มัดหมี่เป็นลายข้าวสารถ้าใครได้สวมใส่ก็จะมีแต่ความงอกงามเจริญรุ่งเรือง
- อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอได้แก่ ลายดาวล้อมเดือน
ผ้าลายดาวล้อมเดือน การทอผ้าเป็นภูมิปัญญาฟื้นถิ่น นับเป็นมรดกอันล้ำค่าที่ถ่ายทอดมาแต่โบราณ สตรีชาวอำเภอพยัคภูมิพิสัย มีความชำนาญในการทอผ้ามัดหมี่ ตอนกลางวันแม่จะทำนาปลูกข้าว เลี้ยงไหม กลางคืนแม่กวักไหมมัดหมี่ จึงแหงนมองขึ้นบนท้องฟ้าในคืนเดือนเพ็ญ ที่มีแสงสีนวล มองแล้วมีความสุขและอบอุ่น แม่จึงมัดหมี่ลายดาวล้อมเตือนเพื่อมอบให้แทนความรักความห่วงใยของแม่ ผู้ใดได้สวมใส่จะทำให้ผิวพรรณนวลผ่องใสเหมือนแสงของพระจันทร์จิตใจสดใสและมีความสุขสวยงามสืบสานภูมิปัญญาสวยงาม
- อำเภอกุดรัง ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอได้แก่ ลายดอกยัง
ผ้าลายดอกฮัง จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ต้นยังเรียกอีกชื่อว่าต้นเต็งรัง เมื่อเวลาออกดอก ดอกฮังจะมีสีขาวเป็นดอกไม้ที่มีความสวยงามและมีกลิ่นหอม เมื่อได้กลิ่นดอกฮังแม้ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะทำให้คิดฮอดบ้าน จึงได้มีการนำเอาดอกฮังมาประยุกต์เป็นลายในการมัดหมี่ โดยมีความเชื่อว่าถ้าใครได้สวมใส่เสื้อผ้าที่ตัดเย็บด้วยผ้าลายดอกฮังถึงแม้นจะอยู่ที่ไหนก็จะมีความอบอุ่นเหมือนอยู่บ้านตัวเอง ดังคำผญาที่ว่า
“หอมดอกจิกคิดฮอดความหลัง หอมดอกฮังคิดฮอดบ้านเก่า
หอมดอกคัด เค้าคือสิเฒ่าบ่เป็น”
- อำเภอยางสีสุราช ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอได้แก่ ลายดอกขจร
ผ้าลายดอกขจรมาจากดอกไม้โบราณประจำถิ่นชนิดหนึ่งที่ปู่ย่าสมัยนั้นเรียกว่า ดอกขิก ดอกรัง ดอกขจร ดอกจะมีลักษณะเป็นพุ่มสีเหลืองสวยงามกินกับน้ำพริกสุดยอดของความอร่อยจากความงาม จึงได้นำมาทำเป็นต่างหูของคนสมัยโบราณและเห็นว่าเป็นดอกวงต่างหูที่สวยงามจึงคิดค้นประดิษฐ์ทำเป็นลายมัดหมี่และตั้งชื่อว่าลายดอกขจรใคร่ได้สวมใส่ก็จะมีชื่อเสียงขจรกระจายก้าวหน้าในหน้าที่การงานเจริญรุ่งเรือง
- อำเภอโกสุมพิสัย ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอได้แก่ ลายโกสัมพี
ผ้าลายโกสัมพี เป็นผ้าลายที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์โดยได้สร้างสรรค์จากแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติคือ วนอุทยานโกสุมพิสัย หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “บุ่งลิง” ที่มีลิงวอกอาศัยอยู่จำนวนมากเป็นป่าดงดิบธรรมชาติและอยู่ริมน้ำชีไหลผ่านที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ ชาวบ้านจึงได้
มัดหมี่ลายโกสัมพีเพื่อให้เป็นสื่อกลางในการสร้างความรักความสามัคคีของชาวอำเภอโกสุมพิสัย
- อำเภอบรบือ ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอได้แก่ ลายดอกแก้ว
ผ้าลายดอกแก้ว จากการบอกเล่าของนางเพ็ญศรี ดวงสุพรรณ ประธานกลุ่มทอผ้าไหมตำบลหนองม่วงเดิมตั้งแต่สมัยโบราณ เกือบทุกบ้านจะปลูกต้นแก้ว มีดอกสีขาวส่งกลิ่นหอมทำให้ต้องเก็บมาดอมดม คนสมัยโบราณจึงนำมาทำลายหมอนขิดของใช้ประจำบ้านและเป็นที่นิยมของผู้พบเห็น จึงได้นำมาประยุกต์มัดหมี่เป็นผ้าไหมลายดอกแก้วที่สวยงามและชื่อที่ไพเราะติดหูติดใจผู้พบเห็นต้องไขว่คว้ามาเป็นเจ้าของ
- อำเภอกันทรวิชัย ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอได้แก่ ลายดอกผักติ้ว
ผ้าลายดอกติ้ว เกิดจากแรงบันดาลใจของชาวบ้านบ้านนาสีนวล ซึ่งมีต้นผักติ้วจำนวนมากและเวลาออกดอกบานเป็นทิวกลีบสีขาวสะพรั่งเย็นตาสวยงามเต็มต้นชวนหลงใหล จึงได้นำมาประยุกต์เข้ากับลายโบราณที่มีอยู่ดั้งเดิมคือลายหมากจับกับโคมห้า ถักทอเป็นผ้าหมัดหมี่ลายดอกผักติ้วได้อย่างสวยงามอ่อนหวานนุ่มนวลเข้ากับยุคสมัยอย่างลงตัว
- อำเภอนาเชือก ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอได้แก่ ลายขอขจร
ผ้าลายขอขจร จากการบอกเล่าของนางสุรัตน์ มูลพาที ประธานเครือข่าย OTOP อำเภอนาเชือกผ้าลายขอขจร มีตำนานเรื่องเล่าจากการบอกเล่าของคุณยายซึ่งเป็นผู้คิดริเริ่มลายนี้ว่ามีที่มาจากคำ ๒ คำ คือ
๑. ขอ หมายถึง ตะขอที่ติดไว้ปลายไถเพื่อเชื่อมหรือยืดระหว่างคาดกับไถเพื่อใช้ในการไถนา ซึ่งเป็นวิถีชีวิตในการประกอบอาชีพของชาวบ้านบ่งบอกถึงการสืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น
๒.ขจรเป็นชื่อเรียกตุ้มหู (ต่างหู) หญิงสมัยโบราณที่สวมใส่เพื่อความสวยงาม หากหญิงใดสวมใส่ก็เกิดความสง่างาม
เมื่อ ๒ คำมารวมกันจึงเกิดผ้าลายขอขจร ซึ่งเดิมจะย้อมด้วยครั่งหรือสีธรรมชาติ เดิมจะนิยมย้อมเป็นสีน้ำตาล และหญิงที่มีฐานะดีเท่านั้นที่จะมีสวมใส่ได้ เพื่อแสดงถึงฐานะของตนเองต่อมาได้ผสมผสานลวดลายและย้อมสีที่หลากหลาย สวยงามเข้ากับยุคสมัย
- อำเภอเชียงยืน ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอได้แก่ ลายโคมเก้า
ผ้าลายโคมเก้า มาจากบ้านโพนบูรพา เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ดั้งเดิมมานาน ราวศตวรรษที่ ๑๑ หรือพ.ศ. ๑๑๐๐ นามว่าโพน มีประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่ มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาเป็นเวลานาน และมีการสืบทอดวัฒนธรรมการทอผ้ามาจากบรรพบุรุษในอดีตผ้าลายโคมเก้าเป็นหนึ่งในผ้าลายมัดหมี่ จะใช้หมี่ จำนวน ๙ ลำ มีดวงเป็นจุดตรงกลาง คล้ายตะเกียง หรือโคมไฟอยู่ตรงกลางลายโคมมาจากการมัดหมีที่ละสำหรือโคม การมัดลายโคมเก้า มัด ๙ ลำหรือโคม จึงได้ชื่อว่าโคม ๙ ซึ่งอีกความหนึ่งคือโคมไฟส่องสว่างสู่ความรุ่งเรืองความอุดมสมบูรณ์ และเลข ๙ ความก้าวหน้าเมื่อรวมกันแล้วหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าชาวบ้านจึงมีความเชื่อว่าผู้ใดได้สวมใส่ผ้าลายโคมเก้าจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า และผ้าลายโคมเก้าผ่านเวทีประชาคมให้เป็นลายเอกลักษณ์ประจำอำเภอเชียงยืนในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๙