เสน่ห์..ภูมิปัญญาแห่งสีธรรมชาติ
เสน่ห์..ภูมิปัญญาแห่งสีธรรมชาติ
..สีย้อมผ้าจากธรรมชาติภูมิปัญญาถิ่นอีสาน..
สีธรรมชาติ คือ สีที่ได้จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
เช่น เปลือกไม้ แก่นไม้ และผลไม้ เช่น สีเหลืองได้จากต้นเข หรือแก่นขนุน สีแดงจากครั่ง สีน้ำเงินจากคราม แต่เนื่องจากกรรมวิธีในการย้อมยุ่งยาก ขาดแคลนวัตถุดิบ อีกทั้งสีเคมีเข้ามาจำหน่ายทำให้สีธรรมชาติมีการใช้กันน้อยลง
ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ จะมีสีที่งดงาม กลมกลืน ไม่ฉูดฉาด และมีเสน่ห์อันท้าทายจากเรื่องราวของสีสัน กรรมวิธีการย้อม และความเชื่อมั่นอันเป็นเอกลักษณ์ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ความลี้ลับของการย้อมสีแต่ละครั้งที่ออกมาไม่ซ้ำกันแม้ต้นไม้นั้นจะเป็นต้นเดียวกัน ปัจจัยของฤดูกาล วิธีย้อม อายุของต้นไม้ และอื่นๆ จะทำให้ได้สีที่มีความแตกต่างกัน การย้อมสีธรรมชาติ จึงเป็นศิลปะอันประณีต และบอกเล่าเป็นตำนานของผ้าถ่ายทอดกันไปในกาลข้างหน้า
ที่มาของสีธรรมชาติ
สีแดง ได้จากรากยอ ลูกคำแสด เปลือกสมอ นิยมใช้ย้อมไหม รังของครั่งเมื่อนำมาสกัดจะได้สีแดง ใช้ย้อมไหม
สีคราม ได้จากต้นคราม หรือต้นฮ่อม โดยใช้รากและใบของต้นครามผสมกับปูนขาวและน้ำ
สีเหลือง ได้จากแก่เข หรือแก่นแกแล แก่นขนุน เนื้อไม้ของต้นหม่อน ใช้ย้อมผ้าไหมใยเสนียดยางของต้นธงทอง แก่นของสุพรรณิการ์ ลูกมะคาย ลูกมะแสด รวมกับด่าง ไม้สะแก และหัวขมิ้นสวนและเปลือกไม้นมแมว
สีตองอ่อน ได้จากเปลือกของต้นมะพูด เปลือกผลทับทิม แก่นแกแล รวมกับต้นคราม ใบหูกวางเปลือกและผลสมอพิเภก ใบส้มป่อยผสมกับผงขมิ้น จะให้สีเขียว นอกจากนี้ยังมีใบสับประรดอ่อน ใบแค
สีดำ ได้จากลูกมะเกลือก ลูกกระจาย ต้นกระเม็ง ผลและเปลือกของสมอ
สีส้ม ได้จากเปลือกและรากยอ เปลือกและรากจะให้สีแดง เนื้อของรากยอจะให้สีเหลืองถ้าใช้เปลือกรากผสมกับเนื้อรากจะให้สีส้ม
สีแดง ได้จากดอกคำฝน กับครั่ง
สีม่วงอ่อน ได้จากลูกหว้า
สีชมพู ได้จากต้นฝาง ต้นมหากาฬ
สีน้ำตาล แก่ ได้จากเปลือกไม้โกงกาง
สีกากีแกมเหลือง ได้จากหมากเฮง กับแก่นแกแล
สีเขียว ได้จากเปลือกต้นมะริดไม้ ใบหูกวาง เปลือกสมอ เปลือกกระหูด ครามแล้วย้อมทับด้วยแถลง
สีเปลือกไม้ ได้จากต้นลกฟ้า หนามกราย ไม้โกงกาง เปลือกตะบูน
การย้อมสีด้ายฝ้าย สีที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ชนิด คือ
- สีย้อมที่ได้จากธรรมชาติ ได้จากต้นไม้ เปลือก ราก แก่น และผล ฯลฯ มีวิธีการย้อมแบบพื้นบ้าน
- สีย้อมวิทยาศาสตร์หรือสีสังเคราะห์ มีส่วนผสมทางเคมี วิธีย้อมแต่ละครั้งจะใช้สัดส่วนของสีและสารเคมีที่แน่นอน สีที่ได้จากการย้อมแต่ละครั้งจะเหมือนกัน
ชาวอีสานและภาคเหนือนิยมใช้สีธรรมชาติในการย้อมด้ายฝ้าย เพราะมีความเชื่อกันว่าสีวิทยาศาสตร์ หรือสีสังเคราะห์ มักจะได้สีที่ไม่ค่อยสดใส เวลาใช้ไปนานๆ สีจะจืดซีดสู้สีย้อมธรรมชาติของไทยไม่ได้ ในสมัยโบราณนิยมใช้ย้อมผ้าไหม จีวรพระ ผ้าฝ้าย แห และอวนซึ่งจะต้องนำต้น เปลือก หรือ ราก ฯลฯ ดังกล่าวมาบด สับ และมีตัวช่วยเสริมให้สีนั้นติดแน่น สีย้อมจากธรรมชาติที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
การย้อมสีธรรมชาติ ที่ได้จากต้นไม้เปลือก ราก แก่น และผล มีวิธีการแบบพื้นเมือง ได้รวบรวมไว้ดังนี้
- การย้อมสีแดงจากรากยอ
- การย้อมสีแดงจากดอกคำฝอย
- การย้อมสีครามจากใบคราม
- การย้อมสีกากีแกมเขียวจากเปลือกเอกากับแก่นขนุน
- การย้อมสีดจากลูกกระจาย
- การย้อมสีดำจากเปลือกสมอ
- การย้อมสีดำจากลูกมะ เกลือ
- การย้อมสีม่วงจากลูกหว้า
- การย้อมสีน้ำตาลแก่จากเปลือกไม้โกงกาง
- การย้อมสีเหลืองจากแก่นเข
- การย้อมสีเหลืองจากขมิ้นชัน
- การย้อมสีเหลืองจากแก่นขนุน
- การย้อมสีเขียวจากต้นหูกวาง
- การย้อมสีเขียวตองอ่อนจากต้นรากแถลง
- การย้อมสีเขียวจากเปลือกของต้นมะริดไม้
- การย้อมสีเขียวจากเปลือกสมอ
- การย้อมสีชมพูจากต้นมหากาฬ และต้นฝาง
- การย้อมสีแดงจากครั้ง
- การย้อมสีแดงจากรากยอ
ยอเป็นไม้ยืนต้น ใบมีลักษณะคล้ายหูกวาง แต่สีเข้มกว่า ใบหนากว่าหูกวาง ขึ้นอยู่ทั่วไปทุกภาคของประ เทศไทย ใบยอใช้ประกอบอาหารได้ ผลใช้ตาส้มได้ รากยอจะให้สีแดง
วิธีการย้อม คือ เอารากยอแห้งที่มีอายุสักหน่อย เพื่อจะให้ได้สีเข้มมาสับหรือนั่นเป็นชิ้นเล็กๆนำไปต้มให้น้ำเดือด น้ำเป็นสีแดงจึงยกลง กรองเอาแต่น้ำสี นาเอาต้ายฝ้ายที่เตรียมจะย้อมชุบน้ำให้เปียกพอหมาด ลงแช่ในน้ำสีประมาณ 30 นาทีหรือกว่านั้น หมั่นยกด้ายผ้ายกลับใบกลับมา เพื่อให้สีติด้ายฝ้ายอย่างทั่วถึง แล้วนำด้ายฝ้ายที่ย้อมขึ้นจากหม้อ บิดพอหมาดนำไปล้างน้ำสะอาด แล้วผึ่งให้แห้ง จะได้ด้ายฝ่ายที่ย้อมเป็นสีแดงตามต้องการ
- การย้อมสีแดงจากดอกคำฝอย
นำ’ดอกคำฝอยมาตาให้ละ เอียด ห่อด้วยผ้าขาวบาง ผสมน้ำด่างเพื่อให้เกิดสี
การทำน้ำด่าง
นำต้นผักขมหนามที่แก่จน เป็นสีแดงหรือน้ำตาลมาตากให้แห้งสนิท แล้วนำไปเผาไฟให้เป็นขี้เถ้า ผสมกับน้ำให้ตกตะกอน รินเอาแต่น้าใส ๆ มาผสมกับสี
วิธีย้อม
นำดอกคำฝอยมาต้มให้น้าออกมาก ๆ จนเหนียวเก็บน้าสีไว้ จากนั้นเอาแก่นไม้ขวางเส้นมาไสด้วยกบบาง ๆ แล้วต้มให้เดือดนานประมาณ 6 ชั่วโมง ช้อนกากทิ้ง เวลาจะย้อมฝ้าย นำเอาน้ำย้อมที่ต้มแล้วทั้งสองอย่างมา เทรวมเข้าด้วยกัน แล้วเติมสารส้มลงไปเล็กน้อย คนให้เข้ากันดี นำฝ้ายที่ชุบน้ำและตีเส้นให้กระจายลงย้อมในอ่างย้อม
- การย้อมสีครามจากใบคราม
คราม เป็นพืชล้มลุกมีอยู่ 2 ชนิด คือ ครามบ้านและครามป่าชาวบ้านจะนิยมใช้ครามบ้าน
ย้อมผ้า เพราะครามป่าย้อมผ้าไม่ได้ครามบ้านมีต้นสูงประมาณ 1.5 เมตร ลักษณะของใบเล็กคล้ายๆ ใบมะขาม เมื่อครามอายุได้ประมาณ 3 เดือนจะออกดอกซึ่งแสดงว่ามีอายุแก่เต็มที่
วิธีย้อม ให้ตัดต้นครามมาม้วนและมัด เป็นฟอน ๆ นำไปแช่น้ำในภาชนะที่เตรียมไว้ประมาณ 2-3 วัน จนใบครามเปื่อยจึงแก้มัดครามออกเพื่อให้ใบครามหลุดออกจากลำต้น นำลำต้นไปทิ้ง เอาปูนขาวในอัตราส่วนที่เหมาะกันกับน้ำที่แช่ครามใส่ผสมลงไปแทนต้นคราม จากนั้นนำเอาขี้เถ้าซึ่งได้จากเหง้ากล้วยเผาจาดำผสมลงไป ทั้งไว้ประมาณ 2-3 คืน
จนกว่าน้ำที่กวนใส รินน้ำที่ใสออกทั้งจะได้น้ำสีครามที่ต้องการ เอาผ้าขาวบางกรองเพื่อจะได้น้ำครามที่ละเอียด นำไปขยำในหม้อคราม พยายามอย่าให้ด้ายฝ้ายยุ่งพันกัน ให้น้ำสีกินเข้าไปในเนื้อด้ายฝ้ายอย่างทั่วถึง จนกระทั่งได้สีเข้มตามต้องการ จึงยกด้ายฝ้ายขึ้นจากหม้อ บิดให้หมาดล้างน้ำสะอาดนำไปราวตากให้แห้ง
วิธีการทำสีคราม
เมื่อได้เส้นฝ้าย (ด้าย) แล้ว ถ้าไม่ต้องการย้อมสี ก็นำด้ายที่ได้นั้นไปกวักเพื่อต้นหูก สืบหูก และตำหูกได้เลย ถ้าต้องการให้เป็นสีดำ หรือสีคราม (สีหม้อนิล ) ก็จะทำตามขั้นตอน
ดังต่อไปนี้
การเกี่ยวคราม ลักษณะ ของต้นครามจะ เป็นพืชขนาดไม่ใหญ่นักคล้ายกับพืชส้มลุกมีลำต้นคล้ายกับหญ้าขัดมอญ ใบเล็กคล้ายกับใบมะรุม ถ้าคนไม่รู้จักจะดูว่า เป็นต้นมะรุมขนาดเล็ก ก็จะนำต้นครามที่เกี่ยวมามัด แล้วนำลงไปแช่น้ำให้น้ำท่วมใบ 1 คืน โดยรอให้ใบเน่าเสียก่อน จากนั้นจะนำปูนขาวลงไปผสมจะทำให้เกิด “น้ำฮ่อม” ซึ่งเป็นสีคราม จากนั้นก็จะคนให้เข้ากัน กวนไปเรื่อยๆ จนไม่มีฟอง แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ตกตะกอน แล้วรินน้าใส ๆทิ้งเหลือไว้แต่น้าข้น ๆ ที่เป็นสีคราม (น้ำครามที่ใช้ได้ดีจะมีฟองเกิดขึ้นเป็นสีม่วงน้ำเงิน) ปูนถ้าใส่น้อยน้ำครามจะเน่าใช้ไม่ได้ใส่มากไปไม่เป็นไร
การย้อม เอาน้าครามที่หมักได้ 1 ปิ๊บ ใส่น้ำหลัง 1 แก้ว น้ำฮ่อม 1 แก้ว กวนให้เข้ากันทิ้งไว้5 – 6 วัน ดูว่าสีที่ได้ออกเรืองแสง การทดสอบสี ใช้มือจุ่มลงไปถ้าติดมือทั้งหน้ามือ และหลังมือแสดงว่าน้ำย้อมใช้ได้
เอาผ้าหรือปอยด้าย (ใจด้าย) หรือ ด้าย ขยำลงไปด้วยมือครั้งแรกนาน 30 นาทีแล้วเอาด้ายหรือผ้าที่ย้อมออกมาบีบน้ำ หรือกระตุก ตากพอหมาด แล้วนำไปซัก ตากให้แห้งถ้ายังไม่ได้ก็ย้อมอีกจนกระทั่งเป็นสีนิล (นายเซียน สุวรรณเพ็ง 20 กรกฎาคม 2539
- การย้อมสีเหลืองอมน้ำตาล
กระบวนการย้อมสีธรรมชาติ
การสกัดสี
- นำส่วนของเปลือกต้นเพกามาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ใน
อัตราส่วนของวัตถุดิบ 3 กิโลกรัม ต่อเส้นไหม 1 กิโลกรัม
- ใส่วัตถุดิบลงในหม้อแล้วเติมน้ำใส่หม้อต้มปริมาณ
30 ลิตร นำไปตั้งไฟให้เดือดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
- ครบเวลานำมากรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อเก็บน้ำสีสกัด
ไว้ย้อมสี
การย้อมสีเปลือกเพกากับสารส้มและเกลือ
- นำเส้นไหมที่ลอกกาวแล้วแช่บิดให้หมาดกระตุกเส้นไหมให้เรียงตัว
- นำเส้นไหมลงย้อมในน้ำสีที่สกัดปริมาณ 30 ลิตร ประมาณ 10 นาที
(ย้อมเย็น) จากนั้นนำเส้นไหมขึ้นพักแล้วต้มน้ำสีสกัดให้เดือด เติมสารส้มและเกลือปริมาณ 20 กรัม แล้วคนให้ละลาย
- นำเส้นไหมพักไว้ลงย้อม แบบย้อมร้อน 1 ชั่วโมง หมั่นพลิกเส้นไหมให้ทั่ว
- ครบเวลานำเส้นไหมไปล้างในน้ำอุ่นที่ผสมน้ำยาอเนกประสงค์ แล้วล้างในน้ำเปล่าจนสะอาดบิดให้หมาด กระตุกเส้นไหมให้เรียงตัวคืน แล้วนำไปผึ่งในที่ร่มกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ
5 . การย้อมสีดำจากลูกมะเกลือ
มะ เกลือ เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ลูกมะเกลือใช้ทำเป็นสีย้อมผ้า จะได้สีดำมะเกลือ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบที่ยังอ่อนจะมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ผลกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ ผลแก่จัดจะแห้ง ผลแก่ราวเดือน มิถุนายน -สิงหาคม มีผลมะเกลือใช้ทำเป็นสีย้อมผ้า จะได้สีดำ
กระบวนการย้อมสีธรรมชาติ
การสกัดและย้อมเย็นด้วยผลมะเกลือ
- นำผลมะเกลืออปริมาณ 1 กิโลกรัมสำหรับเส้นไหม 100 กรมล้างให้สะอาดแล้วตำให้ละเอียด
- ใส่น้ำเติมพอท่วมแล้วขยำมะเกลือกับน้ำสะอาดให้เข้ากันแล้วแช่ทิ้งไว้นาน 30 นาที – 1 ชั่วโมง
- ใช้ผ้าขาวบางกรองเก็บน้ำสีที่สกัดไว้สำหรับย้อมสี
- นำเส้นไหมที่ลอกกาวแล้วชุบน้ำบิดหมาด แล้วนำมาย้อมเย็นในน้ำมะเกลือ ขยำเส้นไหมกับน้ำมะเกลือสกัดให้เข้ากัน แล้วแช่ทิ้งไว้นาน 10 นาที
- ครบเวลาแล้วนำเส้นไหมมาบิดให้หมาด นำเส้นไหมไปกระตุกที่ราวแล้วตากแดด เป็นเวลา 1 วัน สีของเส้นไหมจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน
- จากนั้นนำเส้นไหมลงแช่ในน้ำเกลือแล้วนำไปตากแดด สีของเส้นไหมจะเปลี่ยนเป็นสีเทา น้ำตาล และดำตามจำนวนครั้งที่ย้อมและตากแดด
6.สีส้มจากดินภูเขาไฟ-ภูอัคนี
ดินภูเขาไฟ-ภูอัคนี
การย้อมฝ้ายกลุ่มสีส้มในแถบอีสานใต้ เป็นการค้นพบวัสดุใหม่ในพื้นที่โดยนำดินภูเขาไฟมาใช้ย้อมสีผ้า
ของกลุ่ม “ผ้าภูอัคนี” บ้านเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เนื่องจากสีเนื้อดินมีสีอมส้ม มีแร่
ธาตุมากมายจากลาวาภูเขาไฟที่เคยประทุก่อนดับลงมาเป็นเวลายาวนาน
วิธีการเตรียมน้ำสีจากดินภูเขาไฟอัคนีเพื่อนำมาทำสีย้อม
- นำดินภูเขาไฟใกล้กับเขาพระอังคารมา คัดเศษผงที่เจือปนออก นำมาตำทุและปนให้ละเอียดนำ
ไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน ดินภูเขาไฟ 3 กิโลกรัมต่อ น้ำเปล่า 10 ลิตร แล้วแซน้ำประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
เพื่อให้เม็ดสีจากเนื้อดินละลายในน้ำอย่างทั่วถึง
- เมื่อได้น้ำสีส้มจากดินภูเขาไฟ หากต้องการให้ได้ผ้าสีเข้มควรผสมน้ำให้น้อยลง หากต้องการให้ได้
ผ้าสีอ่อนก็ผสมน้ำให้มากขึ้น
สำหรับวิธีการย้อมมีขั้นตอนดังนี้
- เมื่อได้น้ำสีส้มจากดินภูเขาไฟ ให้นำเส้นใยฝ่ายที่เตรียมไว้ย้อมสี (จะใช้เส้นใยฝ้ายน้ำหนักประมาณ
กิโลกรัม ในการย้อมแต่ละครั้ง) นำผ้าลงไปย้อมโดยบีบนวดเส้นใยให้ดูดซับสีแล้วแช่ต่อในน้ำดินภูเขาไฟ
ประมาณ 8-10 ชั่วโมง ก็จะได้ผ้าสีส้มอมน้ำตาลเย็นตา เป็นสีธรรมชาติที่สวยงามตามที่ต้องการ
- นำเส้นใยออกจากถังย้อม นำมาล้างน้ำให้สะอาด
- บิดให้หมาดแล้วนำมาผึ่งแดดจนแห้งสนิท (ส่วนใหญ่แล้วสีย้อมจากดินภูเขาไฟมักจะใช้ย้อมเส้น
ใยฝ้าย)
- เพื่อจะรักษาสีผ้าให้คงทน ชุมชนได้นำผ้าที่ได้จากการย้อมดินภูเขาไฟ ไปตัมย้อมทับด้วย “น้ำเปลือก
ตันประดู่” ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาชาวบ้าน ในการนำวัตถุดิบที่หาได้จากห้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์
คุณยายสมศรี ถุนนอก ได้อธิบายขั้นตอนการนำผ้าแช่น้ำเปลือกประดูไปต้ม ให้ฟังอีกว่า “นำเปลือกตันประดู่
มาต้มในน้ำ ซึ่งน้ำต้มจะต้องร้อนแต่ไมให้เดือดจนเกินไป หลังจากนั้นน้ำผ้าที่ต้องการย้อมลงไปแช่ประมาณครึ่ง
ชั่วโมง ขั้นตอนนี้จะเป็นการป้องกันการตกสี อีกทั้งในน้ำเปลือกต้นประดู่ ยังมียางและสีที่คล้ายกับสีดินภูเขาไฟ
จึงเป็นการเคลือบสีไปในตัว ผ้าที่ได้จึงเงางามยิ่งขึ้นและไม่ตกสี
- การย้อมสีม่วงจากลูกหว้า
สำหรับวิธีการย้อมสีจากลูกหว้านั้นสามารถย้อมได้ทั้งวิธีการย้อมเย็นและการย้อมร้อน ซึ่งมีรายละเอียด
ดังนี้
การย้อมเย็น
- นำลูกหว้าที่สุกแล้วมาคั้นเอาน้ำสีให้ได้ 10 ลิตร
- ผสมสารช่วยติดสี ด้วยน้ำปูนใส และเกลือ
- นำเส้นไหมที่ฟอกกาวไหมออกแล้ว จุ่มน้ำให้เปียก
ทั่ว แล้วบิดจนหมาดเพื่อพร้อมย้อม
- นำเส้นไหมมาลงจุ่มย้อม หมุนเส้นใยให้ติดสีจนทั่วแล้วแช่ทิ้งไว้ในหม้อน้ำสี เพื่อให้เส้นใยดูดซับสีอย่าง
เต็มที่
- นำเส้นใยขึ้นบิดแล้วผึงหรือตากแดดอ่อนให้แห้ง
- นำเส้นใยที่แห้งแล้ว มาลงซักล้างในน้ำให้สะอาดแล้วนำไปตากให้แห้งอีกครั้ง
การย้อมร้อน
- นำลูกหว้าที่สุกแล้วมาคั้นเอาน้ำให้ได้น้ำสี 10 ลิตร
- นำไปต้ม 1-2 ครั้งเพื่อไม่ให้สีเปลี่ยน แล้วกรองด้วยตาข่ายหรือผ้าขาวบาง
- นำเส้นใยลงย้อมในหม้อต้มน้ำสี แล้วนำเส้นใยขึ้นบิดแล้วผึ้งหรือตากแดดอ่อนให้แห้ง
- นำเส้นใยที่แห้งแล้ว มาลงซักล้างในน้ำให้สะอาด แล้วนำไปตากให้แห้งอีกครั้ง
การย้อม
- การย้อมสีเหลืองจากขมิ้น
ขมิ้นเป็นพืชที่ให้สีย้อมสีเหลือง การย้อมไหมให้ได้สีเหลืองจากขมิ้นมีเทคนิคการย้อม 2 เทคนิคดังนี้
เทคนิคการย้อมที่ 1
- ล้างเหง้าขมิ้นให้สะอาดแล้วทุบ แช่น้ำทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ต้มขมิ้นในน้ำประมาณ 3 ชั่วโมง เติมเกลือเล็กน้อย
- ต้มฝ้าย 1 หัว กับสารติดสีตกโดยใช้สารส้ม 65 กรัม โชดาแอช 7.5 กรัม นาน 2 ชั่วโมงแล้วนำขึ้น
ตากพอหมาดนำไหมดังกล่าวต้กับน้ำขมิ้นนาน 2-3 ชั่วโมง หมั่นกลับเส้นไหมบ่อยๆ แช่ทิ้งไว้
- นำมาชักจนน้ำใสสะอาด
- ตากให้แห้ง
เทคนิคการย้อมที่ 2
สีที่ได้จากการย้อมขมิ้นเทคนิคที่ 2 ทำการย้อมเช่นเดียวกับการย้อมขมิ้นเทคนิคที่ 1 แต่ในขณะที่ต้มใช้ปูนขาวผสมกับน้ำขมิ้นเสร็จแล้วให้ซักในน้ำสะอาดจนน้ำสีออกหมดและนำมาย้อมสารกันสีตกโดยใช้น้ำมะกรูด จากนั้นนำขึ้นตากให้แห้ง
9 . การย้อมสีเหลืองจากแก่นเข
ต้นเข เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาว์ มีหนามแข็งโค้งยาว ใบเป็นมันขึ้นอยู่ตามป่าใช้ส่วนของแก่นเขอมผ้าจะได้สีเหลือง ซึ่งจะมีสารสีเหลืองชื่อ MORIN อยู่ประมาณ 1 %
วิธีย้อม ให้นำแก่นเขมาตากให้แห้งแล้วผ่าให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่หม้อต้มให้เดือดจนน้ำต้มเป็นสีเหลืองจึงยกลงและนำเอาไปกรองเก็บน้ำสีไว้ เอาเขที่กรองไว้ไปต้มน้ำให้เดือดต่อไป จนได้น้ำสีจากเขซึ่งอ่อนกว่าหม้อแรก เก็บน้ำสีไว้ ทำแบบเดียว สีครบ 3 หม้อ จะได้สีอ่อนสุดถึงแก่สุด นำเอาด้ายฝ้ายที่เตรียมไว้ลงย้อมในน้ำสีหม้ออ่อนสุดยกด้ายฝ้ายกลับไปกลับมา เพื่อให้สีเข้าไปในเนื้อฝ้ายได้ทั่วถึงไม่ด่าง ทิ้งด้ายฝ้ายขึ้นบิดพอหมาดนำไปย้อมในหม้อที่ 2 และหม้อที่ 1 ที่แบบเดียวกันจนย้อมได้ครบ 3 หม้อ นำด้ายฝ้ายขึ้นชักน้าสะอาด จนสีไม่ตกเอาเข้าราวผึ่งแดดให้แห้ง
- การย้อมสีเหลืองจากแก่นขนุน
ขนุน เป็นไม้ยืนตัน มีผลรับประทานได้ เปลือกและแก่นขนุนสามารถนำมาทำเป็นสีย้อมผ้าให้สีเหลืองอ่อนสวยงาม
วิธีย้อม นำแก่นขนุนที่แห้งแล้วมาหั่นหรือใสด้วยกบบาง ๆ ใช้มือขยำให้ปนละ เอียดห่อด้วยผ้าขาวบาง แล้วต้มประมาณ 4 ชั่วโมง ดูว่าสีนั้นออกตามความต้องการหรือยัง เป็นใช้ได้ช้อนเอากากทั้งกรองเอาน้ำใส เติมสารส้มเล็กน้อย เพื่อให้สีติดดี นำเอาด้ายฝ้ายซึ่งชุบน้ำพอหมาดจุ่มลงในอ่างย้อม กลับด้ายฝ้ายไขมานาน 1 ชั่วโมง เอาขึ้นจากอ่างย้อม ซักน้ำสะอาดกระตุกตาก
11. การย้อมสีเขียวจากใบหูกวาง
ต้นหูกวาง เป็นไม้ยืนต้น ใบจะแผ่เป็นชั้น ๆ ให้ร่มเงาได้ดี ลักษณะใบใหญ่รีเล็กน้อย สามารถทำเป็นสีย้อมผ้าให้สีเขียว
วิธีย้อม ให้เอาใบหูกวางมาตำคั้นเอาแต่น้ำสีกรองให้สะอาด ต้มให้เดือด เอาด้ายฝ้ายที่เตรียมไว้ลงย้อม จะได้เป็นสีเขียวอ่อน หมั่นยกด้ายฝ้ายกลับไปกลับมา เพื่อไม่ให้ด้ายฝ้ายด่างและสีย้อมจะได้ติดดีทั่วถึง พอได้ความเข้มของสดด้ายฝ้ายตามต้องการ จึงยกขึ้นบิดพอหมาดซักน้ำสะอาด นำเข้าราวผึ่งให้แห้ง
- การย้อมสีเขียวจากเปลือกสมอ
สมอ เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง เปลือกของสมอนำมาเป็นสีย้อมผ้าจะได้สีเขียว
วิธีย้อม
เอาเปลือกสมอมาต้มเคี่ยวให้แห้งพอสมควร รินเอาแต่น้ำใส่หม้อดินเอาด้ายฝ้ายที่ผ่านการย้อมครามมาครั้งหนึ่งแล้ว ลงไปย้อมในน้ำสีที่ยังร้อนอยู่ ต้มต่อไปประมาณ 1 ชั่วโมง หมั่นกลับด้ายฝ้ายไปมา เพื่อให้สีดูดซึมอย่างสม่ำเสมอ พอได้สีตามต้องการ ยกด้ายฝ้ายขึ้นกระตุกตากให้แห้ง จะได้สีเขียวตามต้องการ
- การย้อมสีเทาดำจากฝักคูน
คูนหรือชัยพฤกษ์ เป็นพืชพื้นเมืองในแถบเอเชียใต้ ผลมีลักษณะเป็นฝักยาว ทรงกลม ยาวได้มากถึง 60 เซนติเมตร ผิวฝักเกลี้ยง ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีน้ำตาล น้ำตาลดำ นิยมนำผลมาย้อมไหมและฝ้าย เมื่อย้อมออกมาจะให้สีเทาดำ
วิธีการเตรียมน้ำจากฝักคูนเพื่อนำมาทำสีย้อม
- นำฝักคนแห้งมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ
- นำฝักคูนแห้งที่สับแล้วจำนวน 2 กิโลกรัม แช่น้ำปริมาตร 10 ลิตร นาน 12 ชั่วโมงหรือ 1 คืน (ถ้าย้อมไม่มากนัก ใช้เปลือกฝักคูน 2 ขีด ต่อน้ำ 2 ลิตร)
- มาต้มให้เดือดนาน 1 ชั่วโมง เพื่อสกัดน้ำสีจากฝักคูน ที่ได้จากส่วนเนื้อในของฝักคูน
- กรองด้วยผ้าขาวบาง
- เก็บน้ำที่ได้ไว้ใช้สำหรับย้อมต่อไป
วิธีการย้อมมีขั้นตอนดังน้ำ
- ต้มน้ำย้อมฝักคูณให้เดือด
- นำไหมลงชุบน้ำบิดพอหมาดๆ นำลงย้อมในหม้อต้มนาน 1 ชั่วโมง โดยขณะทำการย้อมให้พลิกเส้นไหมบ่อยๆ เพื่อให้สีย้อมติดเส้นไหมได้ทั่วถึงตลอดทั้งเส้น
- นำไหมขึ้น บิดพอหมาดๆ
- ผสมน้ำสนิมเหล็ก ลงในหม้อย้อมสี ปรับให้อุณหภูมิประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส นำเส้นไหมลง
ย้อมนาน 30 นาทีพลิกเส้นไหมบ่อยๆ
- นำเส้นไหมขึ้น บิดให้หมาดๆ กระตุกให้เส้นไหม ให้สัมผัสอากาศ แล้วตากให้แห้ง
- นำเส้นไหมที่ย้อมแล้ว มาล้างด้วยน้ำสะอาดจนน้ำล้างใส จากนั้นตากในที่ร่มให้แห้ง
เคล็ดลับการทำให้เกิดสีที่สวยงาม : น้ำสนิมเหล็ก ช่วยให้สีของฝักคูนสามารถติดบนเส้นไหมได้ดีขึ้4
14. การย้อมสีชมพูจากต้นมหากาฬและแก่นฝาง
วิธีย้อม เอาเปลือกของต้นมหากาฬมาสับให้ละ เอียด ต้มในน้ำเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วช้อนเอาเปลือกออก เติมไม้ฝางที่ผ่าเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลงไป ต้มในน้ำเดือดต่อไปนาน 1 ชั่วโมง เติมใบส้มป่อยลงไปอีก 1 กำ ต้มต่อไปอีกเล็กน้อย ช้อนเอากากออกแล้วเติมน้ำด่างลงไป จะได้น้ำย้อมสีชมพู จึงเอาด้ายฝ้ายชุบน้ำบิดพอหมาด จุ่มลงไปในอ่างย้อม ตั้งไฟต้มนาน 30 นาที ยกขึ้นจากอ่างย้อม นำไปซักน้ำสะอาดบิดให้หมาด กระดุกให้เส้นด้ายกระจายตากแดดให้แห้ง
15. การย้อมสีแดงจากครั่ง
ครั้งจะมีมากตามต้นจามจุรี หรือต้นพุทรา ชาวอีสานเรียกว่า ขี้ครั่ง
วิธีย้อม นำครั้งมาตากแดดให้แห้ง นำไปป่นในครกตำข้าวให้ละเอียด แล้วแช่ในน้ำมะขามเปียก นานประมาณ 6 ชั่วโมง เสร็จแล้วนำเอาไปตั้งไฟต้มให้เดือด เอาด้ายฝ้ายจุ่มน้ำบิดพอหมาดลงย้อมในอ่างย้อมสีที่เตรียมไว้ นาน 30 นาที ยกด้ายฝ้ายขึ้นบิดให้แห้งล้างน้ำให้สะอาด
ดวงเดือน ไชยโสดา…
เอกสารอ้างอิง
สิทธิชัย สมานชาติ. (2561). การย้อมสีธรรมชาติและสารช่วยติดสีธรรมชาติในประเทศไทย : กระบวนการและแหล่งผลิต. ขอนแก่น : มูลนิธิภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและศิลปะเอเชีย,
พินัย ห้องทองแดง. พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ , 2548.
สิทธิชัย สมานชาติ. มรกดสิ่งทออีสาน. อุบลราชธานี : คณะศิลปะประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,