คชศาสตร์ชาวกูย
คชศาสตร์ชาวกูย
ประวัติความเป็นมา
กลุ่มชนชาวกูย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศไทย ซึ่งอาศัยหนาแน่นในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานีและสระแก้วบางส่วน คำเรียกขานว่า “กูย” “กุย” หรือ “กวย” เป็นการออกเสียงที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นและยังจำแนกชื่อเรียกตามวิถีชีวิต อาทิ กูยซแร หมายถึง ชาวกูยที่ประกอบอาชีพทำนา กูยแฎก หมายถึง กลุ่มชาวภูยที่ประกอบอาชีพตีมีด และกูยอะจีง หรือ กูยอาเจียง คือ ชาวกูยที่ประกอบอาชีพเลี้ยงช้าง
ความสำคัญและคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญา
ชาวกูยอะจีง บ้านกระโพ บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
มีความรูเและความชำนาญในการจับและการเลี้ยงช้างซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้ถ่ายทอดมาแต่โบราณกาล
องค์ความรู้ดังกล่าวประกอบด้วย
๑) ความด้านการจับช้างป่าด้วยวิธีการโพนช้าง คือ การจับช้างป่าด้วยการใช้ช้างต่อ
๒) ความด้านพิธีกรรมเกี่ยวกับช้างและคนเลี้ยงช้าง พิธีกรรมเช่นไหว้ผีปะกำ พิธีกรรมปัดรังควานเป็นต้น ความรู้ทั้งสองด้านเป็นความรู้ที่โดดเด่นที่สุดของชาวกูยอะจีง เนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนความยึดโยงระหว่างโลกมนุษย์และโลกแห่งความศักดิ์สิทธิ์และจิตวิญญาณ
๓) ความรู้ด้านการฝึกบังคับช้าง ทั้งในยามปกติและยามที่ช้างตกมัน
๔) ความรู้ด้านการรักษาโรคของช้างด้วยสมุนไพรและมนต์คาถา
๕) ความรู้ด้านการทำเชือกปะกำคล้องช้าง
๖) ความรู้ด้านการสังเกตลักษณะดีร้ายของช้าง
ความรู้ด้านคชศาสตร์ของชาวกูย เป็นความรู้ที่อยู่กับหมอช้างในลักษณะของความทรงจำและประสบการณ์การถ่ายทอดความรู้กระทำ ได้ 2 ทาง คือ ทางวาจาและการปฏิบัติจริง แต่มีข้อห้ามอันเป็นจารีตว่าห้ามบิดาถ่ายทอดความรู้ให้กับบุตรชายโดยตรง เนื่องจาก
เภทภัยต่อผู้ที่ฝ่าฝืน อนึ่ง การที่ชาวกูยไม่มีตัวอักษรเป็นของตน จึงไม่มีการบันทึกองค์ความรู้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นมา ชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์ไม่ได้ออกไปจับช้างป่าอีกต่อไป เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศ เมื่อไม่มีการจับข้างป่าก็ไม่สามารถแต่งตั้งหรือเลื่อนตำแหน่งหมอช้างได้เพราะตำแหน่งหมอช้างขึ้นอยู่กับความรอบรู้ในการจับช้างป่าและการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ รวมทั้งจำนวนข้างป่าที่จับได้ ปัจจุบันเหลือหมอช้างที่ยังมีชีวิตอยู่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น
การประกาศขึ้นบัญชี
คชศาสตร์ชาวกูย ได้รับการประกาศขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๕
ดวงเดือน ไชยโสดา…
เอกสารอ้างอิง
มรดกภูมิปัญญาอีสาน. (2562). [กรุงเทพฯ]: กลุ่มสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.