ผ้ามัดหมี่

ผ้ามัดหมี่

ผ้ามัดหมี่ คือ ผ้าที่ทอจากด้ายหรือไหมที่ผูกมัดแล้วย้อม โดยการคิดผูกให้เป็นลวดลายแล้วนำไปย้อมสีก่อนทอ เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่นิยมทำกันมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสานของประเทศไทย ในภาคกลางบางจังหวัด อาทิ จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดลพบุรี ภาคเหนือมีการทอที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดน่าน เป็นต้น

 

 ความสำคัญและคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญา กระบวนการทำผ้ามัดหมี่นั้น ในขั้นตอนการสร้างลวดลายจะต้องนำเส้นใยผ้ายหรือเส้นใยไหมไปค้นลำหมีให้ได้ตามจำนวนที่เหมาะสมกับลวดลาย แล้วจึงนำไปขึงเข้ากับ “โฮงหมี่” โดยจะใช้เชือกมัดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี เรียกว่าการ “โอบ” ในอดีตใช้เชือกกล้วยต่อมานิยมใช้เชือกฟางพลาสติก การมัดจะต้องมัดให้แน่นตามลวดลายที่กำหนดไว้แล้วนำไปย้อมสี จากนั้นตากแดดให้แห้ง เมื่อนำมาแก้เชือกออก จะเห็นส่วนที่มัดไว้ไม่ติดสีที่ย้อม หากต้องการให้ลวดลายมีหลายสี จะต้องมัดโอบอีกหลายครั้งตามความต้องการ ตำแหน่งที่มัดให้เกิดลวดลายนั้นจะต้องอาศัยทักษะเชิงช่างที่ชำนาญและแม่นยำ เพราะช่างมัดหมี่ของประเทศไทยไม่ได้มีการขีดตำแหน่งลวดลายไว้ก่อนแบบประเทศอื่น ๆ ตำแหน่งการมัดลวดลาย จึงอาศัยการจดจำและสั่งสมจากประสบการณ์ ในกระบวนการทอ ช่างทอผ้ามัดหมี่จะต้องระมัดระวังทอผ้าตามลำดับของหลอดด้ายมัดหมี่ที่ร้อเรียงลำดับไว้ให้ถูกต้อง และจะต้องใช้ความสามารถในการปรับจัดลวดลายที่เหลื่อมล้ำกันที่เกิดจากระบวนการย้อมสีให้ออกมาสวยงาม กลวิธีการทอผ้ามัดหมี่จึงเป็นภูมิปัญญาด้านงานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ต้องอาศัยทักษะเชิงช่างชั้นสูงลวดลายมัดหมีที่มีการสีบทอดต่อกันมาตั้งแต่โบราณนั้น ส่วนใหญ่ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในวิถีชีวิต ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณี อาทิ ลายดอกแก้วลายต้นสน ลายโคมห้า ลายโคมเจ็ด ลายบายศรี ลายกวาง ลายนกยูง ลายเต่า ลายพญานาค ฯลฯ ผ้ามัดหมี่มีบทบาทในวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย หญิงสาวต้องทอผ้าเพื่อทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม วัสดุเส้นใยทั้งฝ้ายและไหม บ่งบอกถึงศักยภาพทางการค้า เพราะเป็นวัสดุที่ใช้แลกเปลี่ยนซื้อขายมาแต่โบราณ ส่วนวัสดุย้อมสีธรรมชาติ สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์พืชในประเทศไทยที่มีความหลากหลาย ซึ่งช่วยให้ผ้ามัดหมี่ของไทยมีสีสันเฉพาะตัว และยังสะท้อนไปถึงความเชี่ยวชาญของแต่ละกลุ่มชนในการย้อมสีธรรมชาติ 

เทคนิคมัดหมี่

ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น มีเทคนิคสิ่งทอที่มีชื่อเสียงแพร่หลายและโดดเด่น คือ ภูมิปัญญาการทอผ้าแบบ “มัดหมี่” ซึ่งมีความหมายตรงกับศัพท์เฉพาะของภาษาอังกฤษว่า ” Ikat” มาจากภาษาอินโดนีเซียว่า “Mangikat” ซึ่งเป็นระบบการออกแบบลวดลายผ้าด้วยการกั้นสีเส้นใย (Resisted dye ) ให้เกิดลวดลายตามจังหวะการมัดกั้นสี

เทคนิคการทอผ้าแบบมัดหมี่ ในภาคอีสานพบว่ามีการปฏิบัติ สืบทอดกันต่อมานั้น มีอยู่ ๒ ประเภท คือ

๑. มัดหมี่เส้นพุ่ง (Weft Ikat) เป็นผ้ามัดหมี่ที่มัดข้อมสวดลายเฉพาะเส้นพุ่งเท่านั้น เป็นเทคนิคที่แพร่หลายที่สุดในประเทศไทยในการผลิตผ้ามัดหมี่ของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในภาคอีสาน

๒. มัดหมี่ช้อนหรือมัดหมี่สองทาง (Double Ikal)  เป็นผ้ามัดหมี่ที่มัดลวดลายทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน เป็นเทคนิคที่ใช้ผลิตเพียงผ้าชนิดเดียวในบริเวณอีสานตอนล่าง คือ “ผ้าไหมอัมปรม” ที่นิยมทอมากในจังหวัดสุรินทร์

ลักษณะเพาะของผ้ามัดหมี่ คือ รอยซึมของสีที่วิ่งไปตามบริเวณของลวดลายที่ถูกมัด และการเหลื่อมล้ำในตำแหน่งของเส้นด้าย เมื่อถูกนำขึ้นกี่หรือในขณะที่ทอซึ่งจะทำให้เกิดลักษณะลายที่คลาดเคลื่อนต่างจากผ้าทอชนิดอื่น ๆ การใช้ความแม่นยำในการมัดย้อมและการขึ้นด้ายบนกี ตลอดจนการทอจะช่วยลดความคลาดเคลื่อนนี้ลง หรืออาจใช้ลักษณะเหลื่อมล้ำนี้เป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบ ซึ่งนับเป็นเอกลักษณของผ้ามัดหมี่ (เยาวนิจ ทองพาหุสัจจะ และคณะ, ๒๕๒๖ : ๑)

การสำรวจและวิเคราะห์ระบบวิธีการย้อมสี่ผ้ามัดหในภาคอีสาน พบว่ามีภูมิปัญญาที่ปฏิบัติกันอยู่ ๒ วิธีการ คือ

(๑) ระบบมัดโอบ ” ที่จะมัดโอบกั้นสีหลายครั้ง ให้ได้จำนวนสีอมที่ต้องการ จึงใช้เวลานาน ซึ่งยมทำในแถบอีสานตอนล่าง

(๒) ยอมแบบแจะสี” จะมัดกั้นสีเฉพาะลวดลายหลัก แล้วใช้พู่กันหรือกิ่งไม้ จุ่มสีไปแต้มกับปอยหมี่ให้ติดสีตามจังหวะลวดสายที่ต้องการ ลดขั้นตอนในการมัดโอบลวดลาย นิยมทำกันในแถบอีสานตอนบน

จากการสำรวจวิธีการทอผ้ามัดหมีในภาคอีสาน พบว่าระบบการทอผ้านั้นเป็นวิธีการที่สามารถสร้างสรรค์ลวดลายมัดหมี่ที่แตกต่างกันโดยสามารถจำแนกเทคนิคการทอตามลวดลายได้เป็น ๓ แบบ คือ

๑. การทอผ้าลวดลายแบบหมี่รวด หรือ หมี่โลด ซึ่งที่มาของคำว่า “รวด” มาจากภาษา

ท้องถิ่นภาคอีสานว่า “เอ็ดลวดเดียว” หมายถึง “การมัดและทอลวดลายมัดหมี่ต่อเนื่องไปรวดเดียวจบ ” การออกแบบโครงสร้างลวดลายผ้ามัดหมี่แบบนี้ นิยมทำกันมากกว่าแบบอื่น ๆ บางท้องที่ในภาคอีสานจะเรียกมัดหมี่แบบนี้ว่า “หมี่หว่าน” นักออกแบบจะต้องทราบว่าลวดลายจะเป็นการมัดเพียงชุดเดียว โดยองค์ประกอบลวดลายในโฮงหมี่นั้น จะกำหนดให้ลวดลายด้านข้างนั้นมัดเพียง “ครึ่งลาย” เท่านั้น เพราะในเวลาทอผ้า เมื่อย้อนลำดับลำหมี่จะเกิดเป็นลวดลายที่ “เต็มลาย” ซึ่งในการทอผ้าจะทอไล่ลำดับหลอดหมี่ วนกลับจึงย้อนมาซ้ำลายเดิม ทำให้เกิดเป็นลวดลายมัดหมี่ที่ต่อเนื่องกันไปตลอดทั้งผืน

๒. การทอผ้าลวดลายแบบหมี่คั่น ลวดลายผ้ามัดหมี่แบบนี้จะนิยมออกแบบเป็นลวดลาย

ขนาดเล็ก เช่น ลายขอนาคน้อย ลายจอนฟอน (พังพอน) ลายบกคว่ำบกหงาย ฯลฯ โดยระบบการทอนั้นจะใช้วิธีการ “คั่น” ลวดลายมัดหมี่ด้วยแถบริ้วซึ่งอาจทอแทรกด้วยเส้นใยที่ควบเส้นแบบหางกระรอกหรือสีพื้นเข้าไปก็ได้ ดังนั้นกระสวยเส้นพุ่งที่ใช้ทอผ้ามัดหมี่แบบ “หมี่คั่น” นี้จึงมีจำนวนมากกว่าการทอผ้ามัดหมี่แบบหมี่รวด/หมี่โลด และหมี่ร่าย โดยปกติช่างทอผ้าจะใช้กระสวยเส้นพุ่งจำนวนประมาณ ๓ – ๔ กระสวย ดังนั้นช่างทอผ้าจึงจะต้องใช้ทักษะความชำนาญและมีความจำที่แม่นยำในการหยิบเลือกกระสวยเส้นพุ่งต่าง ๆ ขึ้นมาทอสลับกันให้ถูกต้อง

๓. การทอผ้าลวดลายแบบหมี่ร่าย การออกแบบลวดลายของผ้ามัดหมี่แบบนี้จะต้องใช้โครงสร้างลวดลายเป็นแนวทแยงมุมทั้งผืน เนื่องจากมีวิธีการผลิตที่ซับซ้อน ซึ่งจะต้องเตรียม

เส้นด้ายมัดหมี่เส้นพุ่งอย่างเป็นระบบ และช่างมัดลายหมี่จะต้องคำนวณจังหวะรอยต่อที่ลายจะย้อนมาต่อกันเป็นเส้นแนวทแยงให้ลงตัวโดยมีวิธีการในการกรอด้ายมัดหมี่เข้าหลอดเพื่อใช้ทอจะต้องกรอจากหมี่ลำแรกถึงหมี่ลำสุดท้ายเป็นหลอดที่หนึ่ง ส่วนหลอดที่สองจะกรอหมี่ลำสุดท้ายมาหาหมี่ลำแรก กรอด้ายมัดหมี่สลับกันไปจนครบ แล้วเมื่อนำมาทอจะต้องทอหลอดคี่หรือหลอดคู่อย่างเดียวจนหมด แล้วจึงทอหลอดที่เหลือตามลำดับ คือ ทอหลอดที่ ๑, ๓, ๕, ๗, ๙, ๑ ,… จนครบ แล้วจึงทอหลอดที่ ๒, ๔, ๖, ๘, … จนครบ จึงจะได้ลวดลายผ้ามัดหมี่เป็นลายทแยงไปด้านเดียวกัน เรียกว่า “หมี่ร่าย”

ผ้ามัดหมี่ ได้รับการประกาศขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๓…

ดวงเดือน ไชยโสดา 

เอกสารอ้างอิง

มรดกภูมิปัญญาอีสาน. (2562). [กรุงเทพฯ]: กลุ่มสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

สิทธิชัย สมานชาติ. (2562). มรดกภูมิปัญญาสิ่งทออีสาน. [กรุงเทพฯ]: กลุ่มสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.