News

ธุงใยแมงมุม : พุทธบูชาตามความเชื่อคนอีสาน         ธุง เป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อประดับตกแต่งเป็นเครื่องหมาย หรือป้ายบอกกิจกรรมหรือถวายเป็นพุทธบูชาของชาวอีสาน …..ทำด้วยเส้นฝ้ายย้อมสีและไม้ไผ่ โดยใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นซี่เล็ก ๆ ไขว้กากบาทกันแล้ว ใช้เส้นฝ้ายพันสานกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จากศูนย์กลางออกมาเรื่อย ๆ และมักจะใช้ฝ้ายสีพันเป็นแถบสีสลับกันเป็นชั้น ๆ ขนาดของธุงหรือธงจะเล็กใหญ่ต่าง ๆ กัน แล้วนำธุงมาต่อกันเป็นผืนยาว ทิ้งชายห้อยให้แกว่งปลิวไปตามลม ธุง หรือ ธงชนิดนี้จะมีสีสันสวยงาม จึงมักแขวนประดับไว้ตามศาลาการเปรียญของวัด เป็นพุทธบูชาตามความเชื่อของชาวบ้าน           ธงชนิดหนึ่งของภาคอีสาน มีชื่อเรียกเป็นธุงชนิดต่าง ๆ หลากหลายตามโอกาส เช่น ธุงที่ใช้ในงานบุญผะเหวด เรียกว่า ธุงผะเหวด       
Read more
เส็งกลอง : ประเพณีสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์..ที่กำลังจะถูกลืม #กลองเส็ง…รู้จักกลองเส็ง…มรดกทางวัฒนธรรมที่กำลังจะถูกลืม… “กลองเส็ง” คือ #กลองที่ดีประกวดกัน หรือ “เส็งกัน” เรียกอีกชื่อว่า #กลองกิ่ง ว่า กลองเส็งเป็นกลองประเพณีมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ใช้ดีประกวดหรือแข่งขันกันในงานเทศกาลต่างๆ เช่น บุญกฐิน บุญแข่ง เรือ เทศกาลบุญผเวส (บุญพระเวส-เทศน์มหาชาติ) หรือทำบุญแจกข้าว ออกพรรษา ผ้าป่า เป็นประเพณีที่มีมาแต่ครั้งพ่อแม่ที่เป็นผู้ปฏิบัติ นำลูกหลานมาจนทุกวันนี้ #การทำกลองเส็ง เป็นเรื่องที่ยากมาก เริ่มจากการไปหาไม้ ติดไม้เป็นท่อน โดยมีแบบว่าจะกำหนดให้สูงเท่าไร กว้างเท่าไร เช่น ให้สูง 95 เซนติเมตร กว้างประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนหน้าและ ส่วนท้ายกว้าง 25 เซนติเมตร เมื่อติดไม้มาแล้วต้องไสไม้ด้านนอกให้ เป็นตัวกลอง แล้วชุดไม้ด้านในออกให้กลวง 
Read more
ฮีตในเดือนหก  : ผญา # ฮอดเดือนหกเสียงฟ้า ไขบอกข่าวทางคน มีแต่ฝนกับลมส่งเสียงกึกก้อง สายตามองเห็นแล้ว ในใจกะให้ม่วน ส่วนว่าเขียดอีโม้ ลำเกี้ยวใส่ผู้สาว เห็นปลาขาวปลาซิว ปลานิลปลากะเดิด แล่นหยอกล้อ กันเล่นเหลือหลาย เดือนนี้เหมิดโทษฮ้ายบ่มีเรื่องเลิงหลง อัศดงดวงอาทิตย์ค่ำลงปลายไม้ เห็นแต่สีใสเน้น วันเพ็ญสิบห้าค่ำ วิสาขะเลิศล้ำ ชาวบ้านบ่อยู่เสย ไผกะยิ้มเป้ยๆ ลงวัดเวียนเทียน ได้เวียนมาเถิง นพคุณคลองเค้า “ ….ดวงเดือน ไชยโสดา….
Read more
ฮูปแต้มอีสาน : จิตรกรรมฝาผนังอีสาน             ฮูปแต้มคืออะไร….           ฮูปแต้ม เป็นคำพื้นเมืองในภาษาถิ่นวัฒนธรรมลาวชาวอีสานโบราณ ฮูปแต้ม หมายถึง รูป และคำว่า แต้ม หมายถึง การขีดเขียนหรือการระบายสีเพื่อให้เกิดลักษณะอย่างรูป รวมกันจึงหมายถึง ภาพเขียน หรือ รูปเขียน โดยต่อมาถูกนักวิชาการใช้เรียกในความหมายเดียวกันกับงานจิตรกรรมในวัฒนธรรมหลวง โดยช่างผู้สร้างงานเหล่านี้ภาษาพื้นเมืองอีสานเรียกว่า ช่างแต้ม หรือ ช่างเขียนรูป เมื่อเทียบกับคำหลวงก็คือ จิตรกร นั้นเอง               ฮูปแต้มอีสานอยู่ที่ไหน              ในแง่พัฒนาการกล่าวได้ว่าฮูปแต้มนั้นพัฒนามาจากการวาดรูปบนผืนผ้าผะเหวด ต่อมาได้พัฒนามาสู่ผืนผนังศาสนาคาร ตามพัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านวัสดุแบบก่ออิฐถือปูนอันเป็นเทคโนโลยีนำเข้าจากชาวจีนที่นิยมสร้างตึกดิน โดยช่างพื้นบ้านอีสานได้นำเทคนิคดังกล่าวมาใช้กับอาคารศาสนา   
Read more
โปงลาง : สัญญลักษณ์ดนตรีอีสาน            โปงลาง       เป็นเครื่องดนตรีของชาวอีสานชนิดหนึ่งทำด้วยท่อนไม้ร้อยต่อกันสิบสามท่อน แต่ละท่อน จะมีความยาวลดหลั่นกันไม้ที่นำมาทำลูกโปงลางนี้ นิยมใช้ไม้มะหาดซึ่งมีในป่าเบญจพรรณภาคอีสาน ไม้ชนิดนี้มีเนื้อเหนียวแข็งไม่ บิแตกเป็นเสี้ยนแห้งแล้วเคาะมีเสียงกังวาลดีมาก ยิ่งเป็นต้นมะหาด จากต้นที่ยืนตายยิ่งให้เสียงดีเป็นพิเศษ ช่างทำโปง ลางบางคนถึงกับลงทุนตัดเซาะเผารากต้นมะหาด แล้วปล่อยให้ยืนตายก่อนโค่นลงมาทำลูกโปงลาง และในขณะที่ปล่อยให้ไม้ยืนตายนั้นตนเองจำเป็นต้องเฝ้ารักษาป้องกันไม่ให้คนอื่นมาขโมยตัดไปทำฟืนเสียก่อน บางคนถึงกับลงทุน ไปตั้งแคมป์เฝ้าต้นมะหาด ไม้ชนิดอี่น ๆ ที่นำมาทำลูกโปงลางได้มีไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้ชิงชัง ไม้หมากเหลี้ยม เป็นต้น การตีโปงลาง     การตีโปงลาง โปงลางบรรเลงโดยการเคาะใช้ผู้เล่นสองคน คนแรกเล่นทำนองเพลงหลักเรียกว่าหมอเคาะ อีกคนหนึ่งนั่งเคาะด้านขวามือทำหน้าท่เคาะประสานเสียงทำจังหวะ เรียกว่า หมอเสริ์ฟ การบรรเลงจะบรรเลงเดียวเฉพาะโปงลาง หรือจะเล่นผสมวงกับ เครื่องดนตรีพื้นบ้านอื้น 
Read more
    ชื่อวัด :  วัดสุวรรณาวาส พิกัดภูมิศาสตร์ :  ละติจูด 16.322309,  103.298860 ประเภทวัด :  วัดราษฏร์ นิกาย    : มหานิกาย ที่ตั้ง :   ตั้งอยู่ที่บ้านโคกพระ  ตำบลโคกพระ  อำเภอกันทรวิชัย  จังหวัดมหาสารคาม  มีเนื้อที่ทั้งหมด 9 ไร่ 99 ตารางวา   ประวัติความเป็นมา : วัดสุวรรณาวาส  เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดโคกพระ ไม่ปรากฏหลักฐานในการสร้างที่ชัดเจนนัก เรียกชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้าน เพราะสถานที่ตั้งของวัดในอดีตนั้นเป็นที่ป่ารกหนาทึบ ชาวอีสานเรียกป่าชนิดนี้ว่า ดอน หรือโคก  ในโคกนี้มีพระพุทธรูปยืนอยู่ 1 องค์  พระพุทธรูปองค์นี้สร้างด้วยศิลาแลง วัดที่สร้างขึ้นนี้ อาศัยมงคลนามตามโคกพระยืน 
Read more
ชื่อวัด : วัดสุวรรณมงคล  หรือ วัดพุทธมงคล  (วัดพระยืน) พิกัดภูมิศาสตร์ :   ละติจูด 16.309006   ลองจิจูด 103.300565 ประเภทวัด :  วัดราษฏร์ นิกาย    :  มหานิกาย ที่ตั้ง :   ตั้งอยู่ที่บ้านสระ  ถนนถีนานนท์  หมู่ที่ 2 ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 21ไร่ 2 งาน 41 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ 5 เส้น จดถนนสาธารณะสายบ้านสระ – บ้านโพน ทิศใต้ประมาณ 4 เส้น 6 
Read more
บุญเดือนหก บุญบั้งไฟ เป็นงานประเพณีท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและความเชื่อทางศาสนาของชาวอีสานมาช้านาน บุญบั้งไฟเป็นงานสำคัญของชาวอีสานก่อนลงมือทำนา ด้วยความเชื่อว่าเป็นการขอฝนเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนาอุดมสมบูรณ์ ประชาชนอยู่อย่างมีความสุข ในงานจะมีการแห่บั้งไฟและจุดบั้งไฟเพราะเชื่อว่าเป็นการส่งสัญญาณขึ้นไปบอกพญาแถนให้ส่งน้ำฝนลงมา ระหว่างที่มีการจุดบั้งไฟชาวบ้านจะมีการเซิ้งอย่างสนุกสนาน การทำบุญบั้งไฟนับเป็นการชุมนุมที่สำคัญของคนในท้องถิ่นที่มาร่วมงานบุญกันอย่างสนุกสนานเต็มที่ มีการนำสัญลักษณ์ทางเพศมาล้อเลียนในขบวนแห่บั้งไฟ โดยไม่ถือว่าเป็นเรื่องหยาบคาย การทำบุญบั้งไฟนี้บางทีจะตรงกับประเพณีบุญวันวิสาขบูชาด้วย นี่เป็นอีกหนึ่งงานประเพณีอีสาน ซึ่งเมื่อได้ไปดู ไปรู้ ไปเห็นแล้วจะเข้าใจถึงความหมายของภาคอีสานที่ว่า “แหล่งเรียนรู้ อู่อารยธรรม” ที่สำคัญของเมืองไทยจริงๆ กาพย์เซิ้งบั้งไฟ ประวัติความเป็นมา กาพย์เซิ้งบั้งไฟ เป็นร้อยกรองท้องถิ่นอีสานหรือเป็นเพลงพื้นบ้านประเภทเพลงประกอบ พิธีของชาวบ้านอีสาน ที่ร้องในขบวนแห่บั้งไฟในงานประเพณีบุญบั้งไฟ เดือน ๖ มีผู้นำคนหนึ่ง เป็นคนขับเนื้อความ แล้วคนอื่น ๆในขบวนจะร้องรับไปเรื่อย ๆ เรียกว่า การเซิ้ง ประกอบการฟ้อน ตามจังหวะของกลองตุ้มและเครื่องดนตรีอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบ เช่น พังฮาด โทน กาพย์เซิ้งบั้งไฟ แต่งด้วยคำประพันธ์ที่เรียกว่า กาพย์ 
Read more
หนังสือผ้าไทยลายอัตลักษณ์ 76 จังหวัด  …เพื่อสืบสานพระราชปณิธานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้กับประชาชนในจังหวัดที่จะได้มีผ้าลายอัตลักษณ์ของตนเอง ส่งเสริมการใช้ผ้าไทยให้แพร่หลาย สามารถนำลายผ้าอัตลักษณ์มาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และของที่ระลึกประจำจังหวัด ช่วยชุมชนและผู้ประกอบการด้านผ้าทอให้มีรายได้ โดยเนื้อหาในหนังสือกล่าวถึงพระราชประวัติพระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ความเป็นมาของผ้าโบราณ กระบวนผลิตผ้าลายอัตลักษณ์ 76 จังหวัด ผู้สนใจสามารถชมในรูปแบบ e-book : หนังสือผ้าไทยลายอัตลักษณ์ 76 จังหวัด เว็บไซต์ของกระทรวงวัฒนธรรม www.m-culture.go.th และ ทางเฟสบุ๊ก ThaiMCulture  
Read more
เห็ดคืออะไร
Read more
048883