News

ครกกระเดื่อง : ครกมอง ก่อนที่จะมีโรงสีข้าวนั้น ครกกระเดื่องเป็นเครื่องมือสำคัญในการแปรรูปข้าว เปลือกให้เป็นข้าวสารโดยวิธีการทำข้าว วิธีการทำข้าวแบบเดิมของชาวนาอีสานนั้น เป็นการกะเทาะแยกเอาเปลือกหุ้มจากเมล็ดข้าว เริ่มแรกใช้วิธีการทุบข้าว ต่อมาได้ ทำครกตำข้าวขึ้นสองรูปแบบคือครกซ้อมมือหรือครกมือและครกกระเดื่องหรือครกมอง มีรายละเอียดดังนี้ ครกมือ เป็นครกตำข้าวที่ใช้มือจับสากตำข้าวเปลือก ส่วนประกอบของครก มือมีดังนี้ 1.ตัวครก เป็นท่อนไม้ขนาดใหญ่ ที่มีความยาวประมาณ 80-90 เซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50-60 เซนติเมตรเจาะตรงกลางเป็นร่องลึกโดยใช้ขวานฟันเอาแกลบใส่เป็นเชื้อและจุดไฟเผาส่วนกลางของท่อนไม้ เผาเป็นโพรงให้มีขนาดลึกตามต้องการ ขัดภายในให้เกลี้ยงเกลา ตัวครกมี 2 ขนาด คือ ครกขนาดใหญ่ และครกขนาดเล็กทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ครกมือ ตัวครก เป็นท่อนไม้ขนาดใหญ่ 2. สาก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีความยาวขนาด 2 เมตร มีลักษณะปลายทั้งสองข้างโค้งมน หัวสากทู่มนใหญ่ ปลายสากมนเรียวเล็ก ตรงกลางกลมกลึงพอดีกับมือกำอย่างหลวม 
Read more
      เฮือนพื้นถิ่น : วิถีชีวิตและคติความเชื่อในใบลาน                  หนังสือ “เฮือนพื้นถิ่น : วิถีชีวิตและคติความเชื่อในใบลาน” เป็นเอกสารตำราวิชาการผลงานที่ปริวรรตและเรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย นิลอาธิ    รองศาสตราจารย์ ดร. ราชันย์ นิลวรรณาภา  และนายณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ ภายใต้โครงการอนุรักษ์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำเสนอถึงองค์ความรู้ คติความเชื่อเกี่ยวกับเฮือนอีสานที่ปรากฎในใบลาน สะท้อนถึงวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวอีสาน ในมิติมุมมองต่างๆ โดยปริวรรตจากใบลานต้นฉบับของบ้านดอนยม อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม   เนื้อหาแบ่ง 4 ภาค ได้แก่    
Read more
ฮดสรงในฮูปแต้ม โฮงฮด หรือ ฮางฮด (รางฮด)                เป็นศิลปะไม้แกะ -สลักอีสาน ใช้สำหรับรดหรือสรงน้ำพระสงฆ์ทำเป็นรูปคล้ายเรือจำลองขนาดเล็กยาว เหมือนของล้านนา ส่วนหัวมักทำรูปเศียรนาค ส่วนท้องค่อนไปทางหัว เจาะรูให้น้ำไหลลงสู่พระสงฆ์ที่นั่งอยู่ข้างล่างเป็นประเพณีอย่างหนึ่งเรียกว่า ประเพณีอดสรง ประเพณีนี้มีในโอกาสพิเศษ เช่น ทำเพื่อเป็นการเลื่อนยศให้แก่พระสงฆ์ตามประเพณีเดิมซึ่งชาวอีสานเลือกพระที่จะเข้าพิธีนี้เอง  ประเพณีฮดสรง แทรกอยู่ในเรื่องเวสสันดร ชาวบ้านกำลังนั่งทำพิธีฮดสรง มีรางฮดหรือโฮงฮด ผนังด้านนอก ทิศตะวันตก วัดป่าเรไรย์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม                   คำว่า ฮาง ไม้แก่นที่ขุดเป็นร่องตรงกลางสำหรับใส่อาหารสัตว์ มีขนาดต่างๆ กัน เช่น ฮางไก่สำหรับใส่อาหารไก่ ฮางเฮ็ดสำหรับใส่อาหารเป็ด                 คำว่า ฮางสรง 
Read more
เรียนรู้ภูมิปัญญาผญาอีสาน   อย่าได้ทำโตเพี้ยงหัวเพียง สะเหมออึ่ง มันหากเหลือแต่ฮ้อง ตายย้อนปากโต คำแปล อย่าทำตนเป็ฯคนหยิ่งยโสทำตัวพองเหมือนอึ่ง ซึ่งมีแต่เสียงร้อง ในที่สุดก็ตาย                  เพราะปากตนเอง การใช้ สอนให้เป็นคนสุภาพเรียบร้อย ไม่คุยโวโอ้อวด อย่าได้ตายเพราะปาก (เหมือนอึ่ง)                                            
Read more
  หวด เครื่องใช้ประจำครัวเรือนของคนอีสาน ภาชนะสำหรับนึ่งของ เช่น ข้าวเหนียว ผัก ถั่ว งา แต่นิยมนึ่งข้าวเหนียวมากกว่าอย่างอื่น โดยทั่วไปมักสานด้วยตอก รูปร่างคล้ายกรวย ก้นสอบปากผาย                         ผลิตภัณฑ์จักสาน งานหัตถกรรม มักใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น  เช่น กก หรือ ผือ ไม้ไผ่ มวยเป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่ มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนบนกว้างส่วนล่างแคบลง กกและผือคือพืชที่ขึ้นตามป่าบุ่งป่าทามแต่ก่อนชาวบ้านจะฉีกเป็นเส้นเพื่อมัดของ ต่อมาด้วยฝีมือการจักสานที่มีอยู่ดั้งเดิม จึงได้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์จักสานผือขึ้น หวดสานด้วยไม้ไผ่             
Read more
บุนสงน่าม หรือ บุญเดือนห้า   สงน่าม เขียนตามเสียงพูดของคนอีสาน ตามกับภาษาไทยว่า สรงน้ำ เป็นคำกริยา แปลว่า อาบน้ำ ซึ่งคำนี้ใช้แก่บรรพชิตและเจ้านาย เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร           ฉะนั้น บุนสงน่าม จึงหมายถึง การทำบุญที่เอาน้ำอบน้ำหอม โปรดหรือไปสรงพระพุทธรูปพระภิกษุสงฆ์ และคนเฒ่าคนแก่ที่เราเคารพนับถือ มีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น มูลเหตุที่ทำ เนื่องจากเดือนห้าถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวอีสารมาแต่โบราณ โดยจะถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 เป็นวันเริ่มต้นการทำบุญ อย่างไรก็ตาม “ฮีตที่ 5 หรือ บุนเดือนห้า” นี้ก็คือ “บุญวันขึ้นปีใหม่ของชาวอีสานนั้นเอง” ซึ่งมีวันสำคัญ 3 วันดังนี้           
Read more
  ธุงผะเหวดอีสาน : พุทธศิลป์แห่งพลังศรัทธา                  หนังสือ “ธุงผะเหวดอีสาน : พุทธศิลป์แห่งพลังศรัทธา” จัดทำโดย กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยรองศาสตราจารย์วีณา วีสเพ็ญ และคณะได้ดำเนินการศึกษา อนุรักษ์ และสืบสานประเพณีเรื่องธุงผะเหวดอีสาน ภายใต้โครงการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอีสานแบบมุ่งเป้า ปี พ.ศ. 2562 โดยเน้นพื้นที่ศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี   ดำเนินการเรียบเรียงเนื้อหาโดย รองศาสตราจารย์วีณา วีสเพ็ญ และนายณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ เนื้อหาประกอบด้วยดังนี้                    
Read more
เห็ดเป็นยา : จากภูมิปัญญาสู่การรักษาโรค เห็ด  เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “ฟังไจ” (Fungi) หรือ เรียกว่า “กลุ่มเห็ด-รา” เห็ด-รา ไม่ใช่พืช เพราะไม่มีโครงสร้างภายในเซลล์ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง และมีลำดับของพันธุกรรมคล้ายคลึงกับสัตว์มากกว่าพืช นักวิทยาศาสตร์จึงได้แยกกลุ่มของ เห็ด-รา ออกจากกลุ่มของพืช เห็ดแตกต่างจากราตรงที่เส้นใยมีการถักทอรวมกันเป็นดอกเห็ด ซึ่งลักษณะเช่นนี้ไม่พบในกลุ่มของรา                  เห็ดตับเต่า/เห็ดเผิ่ง         เห็ดหำฟาน         เห็ดขอนขาว คุณค่าทางยาจากเห็ดเป็นยา    มนุษย์ได้มีการบริโภคเห็ดเป็นอาหารและยารักษาโรค เป็นเวลามากกว่า 2,000 ปี มาแล้ว โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันออก มีงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์หลายชิ้น 
Read more
เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ              เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ (Barorneter Earthstars) เป็นเห็ด พื้นบ้านพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เห็ดที่อยู่ในป่าเขตร้อนชื้น อยู่ในจำพวกราชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์  Diplocystaceae มีลักษณะเป็นเห็ดรา อยู่ในหมวด Basidiomycota  ในไทยมี 3 ชนิด ได้แก่ 1. เห็ดเผาะฝ้าย (feeraeae hygnomernicad) 2. เห็ดเผาะหนัง (A.odoratuo) 3. siaticud             ดอกเห็ดเผาะมีลักษณะ   เป็นเม็ดกลมจนถึงกลมแบน ขนาด 1.5-3.5 เซนติเมตร เติบโตได้ดีร่วมกับต้นไม้ใหญ่หลายชนิดที่มีดินปนทรายในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ 
Read more
เรียนรู้ภูมิปัญญาผญาภาษิต อย่าติถะแหลงหล่ม ตมบ่มีพะลาดมื่น อย่าสู่พะลาดล้ม เดือนห้าก่อนฝน คำแปล อย่าทำเป็นลื่นล้ม ทั้งที่ไม่มีตมสักหน่อยและอย่าทำเป็นลื่นล้มในเดือนห้าก่อนฝนจะตก การใช้ ใช้เป็นคติเตือนใจว่าจะทำอะไรทำให้เหมาะกับกาลเทศะ   (คัดลอกมาจาก (วัฒนธรรมอีสาน. 2555. )                                                             
Read more
048815