มรดกภูมิปัญญาอีสาน

  แคน  เป็นเครื่องดนตรีสำคัญของชาวอีสาน ทำจากไม้กู่แคน เมื่อเป่าแล้วทำนองเสียงดัง    แคนแล่นแคน แล่นแคน แล่นแคน  แคนหนึ่งอันเรียกว่าแคนหนึ่งเต้า ประวัติความเป็นมา แคน เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป๋าให้เป็นเพลง แบ่งเป็นสองอย่างคือ แคนเจ็ดและแคนแปด แคนเจ็ดนั้นมีลูกเจ็ดคู่ ส่วนแคนแปดนั้นมีลูกแปดคู่  แคนทำด้วยไม้อ้อหรือไม้เหี้ยน้อย แต่เดี๋ยวนี้ไม้อ้อหาได้ยาก จึงทำแคนด้วยไม้เหี้ยน้อยและจะต้องหาให้ได้ลดขนาดเท่านิ้วมือจึงจะใช้ได้ระบบของแคนแปดมีเสียงทั้งหมด ๑๖ เสียงแต่เป็นระดับเสียงที่ซ้ำกัน ๒ เสียง โดยเสียงทั้ง ๑๖ เสียงนี้ มิได้เรียงลำดับอย่างเสียงระนาดหรือเสียงเปียโน ส่วนประกอบของแคนมีดังนี้ ลูกแคน  ลูกแคนคือไม้ไผ่ที่นำมาประกอบเป็นแคน ทำจากไม้ซางซึ่งเป็นพืชตระกูลไม้ไผ่  ลำเล็ก ๆ มีปล้องยาว ขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วนางตามลำดับ โดยนำมาลนไฟแล้วดัดให้ตรงขนาดยาวตั้งแต่แปดสิบเซนติเมตรถึงสามเมตร ไม้กู่แคนทุกลำทะลุข้อออกเพื่อให้ลมผ่าน ฝังลิ้นทองเหลือง หรือลิ้นเงิน ห่างจากปลายข้างบนประมาณ 50-60 เซนติเมตร โดยบริเวณนั้นบากเป็นช่องสี่เหลี่ยมสองช่องห่าง 
Read more
  ภูมิปัญญาการอยู่ไฟ  การดูแลมารดาด้วยการแพทย์แผนไทย   “การอยู่ไฟ” หมายถึง การใช้ความร้อนในการรักษาสุขภาพของหญิงหลังคลอด ดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบการแพทย์แบบตะวันตก การตั้งครรภ์และสุขภาพหลังคลอดเป็นช่วงวิกฤติของผู้หญิง เนื่องจากระบบต่างๆ ของร่างกายมีการปรับเปลี่ยนไปร่างกายอยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล จึงจำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ- การอยู่ไฟนอกจากจะช่วยให้มดลูกแห้ง เข้าอู่เร็วน้ำคาวปลาแห้งสนิทแล้ว ยังทำให้ร่างกายฟื้นตัวเข้าสู่สภาพปกติและแข็งแรงโตเร็วขึ้น นอกจากนั้นการอยู่ไฟยังทำให้ผิวพรรณดี เลือดฝาดสมบูรณ์ รูปร่างสวยงามเหมือนก่อนตั้งครรภ์ มีความกระฉับกระเฉงไม่เมื่อยล้าไม่ปวดหลังปวดเอว ขั้นตอนในการอยู่ไฟประกอบด้วยภูมิปัญญาหลายส่วน ได้แก่ ลักษณะการให้ความร้อนกับร่างกาย โดยเฉพาะชนิดของพันธุ์ไม้ที่จะนำมาใช้เป็นฟืนหรือถ่าน สมุนไพรที่ใช้ดื่มในขณะอยู่ไฟ การรักษาแผลที่ช่องคลอด การทำความสะอาดร่างกาย และอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการอยู่ไฟ เช่น การเกิดผื่น รับประทานอาหารไม่ได้ ปวดหัว ปวดท้อง ซึ่งในแต่ละภูมิภาคมีภูมิปัญญาในการจัดการที่มีลักษณะจำเพาะของแต่ละพื้นที่ ภูมิปัญญา ในการอยู่ไฟมีหลักการที่สำคัญ ๕ ส่วน คือ ๑) การใช้ความร้อนในการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดลมในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายปรับตัวให้กลับมาอยู่ในสภาวะสมดุล ความร้อนทำให้หญิงที่อยู่ไฟหลังคลอดแข็งแรงสามารถกลับไปทำงานได้เหมือนเดิม และทนอากาศร้อนหนาวได้ดี ๒) อาหารและสมุนไพร 
Read more
พระเจริญราชเดช (ท้าวกวด) : เจ้าเมืองคนแรกมหาสารคาม ….พระเจริญราชเดช (ท้าวกวด) พระเจริญราชเดช (ท้าวกวด) เป็นบุตรอุปฮาดสิงห์ เจ้าเมืองร้อยเอ็ด เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2379 ที่เมืองร้อยเอ็ด เป็นหลานปู่ขัติยวงษาพิสุทธิบดี (สีลัง) และเป็นเหลนพระขัติยวงษา (ทน) ผู้สร้างเมืองร้อยเอ็ดซึ่งเป็นเจ้า เมืองร้อยเอ็ดคนแรก …..พระเจริญราชเดช (ท้าวกวด) เมื่อเติบโตขึ้นได้ไปศึกษาอยู่ที่สำนักท่านหลักคำเมืองอุบลราชธานี เมื่อจบการศึกษาที่นั่นแล้ว ได้กลับไปรับราชการอยู่กับพระขัติยวงษา (จัน) ที่เมืองร้อยเอ็ด ท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถใน งานราชการปราบโจรผู้ร้ายให้สงบราบคาบได้ จึงได้รับแต่งตั้งเป็น “ท้าว มหาชัย” เมื่ออายุได้ 21 ปี ใน พ.ศ. 2412 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ยกฐานะเมือง มหาสารคามขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ต่อมาในปี พ.ศ. 
Read more
เมี่ยงคำ เป็นอาหารว่างหรือของกินเล่นของคนไทยทุกภาค เป็นอาหารว่างที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะมีธาตุอาหารครบ ๕ หมู่อยู่ในคำเดียวกัน ไม่มีการบันทึกประวัติความเป็นมา แต่พิจารณาจากลักษณะของอาหารที่ใช้ทรัพยากรหลายอย่างจากสวนจึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นอาหารของชาวสวนแต่เดิม และอาจดัดแปลงมาจาก “เมี่ยง” ของชาวภาคเหนือ โดยเปลี่ยนใบเมี่ยงที่ใช้ห่อมาเป็นพืชผักในสวนภาคกลางแทน มีอาหารของชาวภาคกลางหลายชนิดที่ใช้ใบไม้ห่อแล้วเรียกว่า “เมี่ยง” ดังปรากฎในบทเห่ชมเครื่องว่าง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ว่า “เมี่ยงคำน้ำลายสอ เมี่ยงสมอเมี่ยงปลาทู       ข้าวคลุกคลุกไก่หมู น้ำพริกคั่วทั่วโอชา” เมี่ยงคำประกอบด้วยส่วนประกอบ 4 ส่วนคือ 1.เครื่องเมียง  2. น้ำเมี่ยง 3. ผักที่ใช้ห่อ 4. เครื่องเมี่ยง                 เครื่องเมี่ยง ประกอบด้วย มะพร้าวคั่วกุ้งแห้ง ขิง 
Read more
  ผ้าแพรวา : ราชินีไหมหัตถกรรมผู้ไทกาฬสินธุ์ ประวัติความเป็นมา ผ้าแพรวา คือ ผ้าแพรเบี่ยงไหมที่ใช้พาดเบี่ยงคล้ายสไบ มีความกว้างประมาณ ๑ ศอก ยาว ๑ วา จึงเป็นที่มาของชื่อผืนผ้าว่า “ผ้าแพรวา” ซึ่งมีแหล่งผลิตอยู่ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยช่างทอกลุ่มวัฒนธรรมผู้ไทย ความสำคัญและคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญา กรรมวิธีการทอผ้าแพรวา เป็นกรรมวิธีจกแบบดั้งเดิม โดยใช้ “นิ้วก้อย” จก สอดเส้นไหมสีสันต่าง ๆ สอดแทรกเป็นเส้นพุ่งพิเศษตามจังหวะลวดลายทีละเล็กละน้อย ส่วนการย้อมไหมมักใช้สีธรรมชาติ โดยเฉพาะสีแดงจากครั่งซึ่งใช้เป็นสีพื้น ทอสลับการสร้างลวดลายจกเป็นช่วง ๆ ตลอดทั้งผืน ผ้าแพรวาหนึ่งผืนใช้เวลาทอนานนับเดือน ความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของผ้าแพรวา คือ ลายหลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเป็นโครงสร้างพื้นฐานในลวดลายผ้า โดยมีลวดลาย ๑๐ – ๑๒ ลายต่อผืน และใช้เส้นไหม ๒ 
Read more
ผ้ามัดหมี่ ผ้ามัดหมี่ คือ ผ้าที่ทอจากด้ายหรือไหมที่ผูกมัดแล้วย้อม โดยการคิดผูกให้เป็นลวดลายแล้วนำไปย้อมสีก่อนทอ เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่นิยมทำกันมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสานของประเทศไทย ในภาคกลางบางจังหวัด อาทิ จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดลพบุรี ภาคเหนือมีการทอที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดน่าน เป็นต้น    ความสำคัญและคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญา กระบวนการทำผ้ามัดหมี่นั้น ในขั้นตอนการสร้างลวดลายจะต้องนำเส้นใยผ้ายหรือเส้นใยไหมไปค้นลำหมีให้ได้ตามจำนวนที่เหมาะสมกับลวดลาย แล้วจึงนำไปขึงเข้ากับ “โฮงหมี่” โดยจะใช้เชือกมัดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี เรียกว่าการ “โอบ” ในอดีตใช้เชือกกล้วยต่อมานิยมใช้เชือกฟางพลาสติก การมัดจะต้องมัดให้แน่นตามลวดลายที่กำหนดไว้แล้วนำไปย้อมสี จากนั้นตากแดดให้แห้ง เมื่อนำมาแก้เชือกออก จะเห็นส่วนที่มัดไว้ไม่ติดสีที่ย้อม หากต้องการให้ลวดลายมีหลายสี จะต้องมัดโอบอีกหลายครั้งตามความต้องการ ตำแหน่งที่มัดให้เกิดลวดลายนั้นจะต้องอาศัยทักษะเชิงช่างที่ชำนาญและแม่นยำ เพราะช่างมัดหมี่ของประเทศไทยไม่ได้มีการขีดตำแหน่งลวดลายไว้ก่อนแบบประเทศอื่น ๆ ตำแหน่งการมัดลวดลาย จึงอาศัยการจดจำและสั่งสมจากประสบการณ์ ในกระบวนการทอ ช่างทอผ้ามัดหมี่จะต้องระมัดระวังทอผ้าตามลำดับของหลอดด้ายมัดหมี่ที่ร้อเรียงลำดับไว้ให้ถูกต้อง และจะต้องใช้ความสามารถในการปรับจัดลวดลายที่เหลื่อมล้ำกันที่เกิดจากระบวนการย้อมสีให้ออกมาสวยงาม กลวิธีการทอผ้ามัดหมี่จึงเป็นภูมิปัญญาด้านงานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ต้องอาศัยทักษะเชิงช่างชั้นสูงลวดลายมัดหมีที่มีการสีบทอดต่อกันมาตั้งแต่โบราณนั้น ส่วนใหญ่ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในวิถีชีวิต ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณี อาทิ ลายดอกแก้วลายต้นสน 
Read more
คชศาสตร์ชาวกูย   ประวัติความเป็นมา         กลุ่มชนชาวกูย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศไทย ซึ่งอาศัยหนาแน่นในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานีและสระแก้วบางส่วน คำเรียกขานว่า “กูย” “กุย” หรือ “กวย” เป็นการออกเสียงที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นและยังจำแนกชื่อเรียกตามวิถีชีวิต อาทิ กูยซแร หมายถึง ชาวกูยที่ประกอบอาชีพทำนา กูยแฎก หมายถึง กลุ่มชาวภูยที่ประกอบอาชีพตีมีด และกูยอะจีง หรือ กูยอาเจียง คือ ชาวกูยที่ประกอบอาชีพเลี้ยงช้าง ความสำคัญและคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญา           ชาวกูยอะจีง บ้านกระโพ บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ มีความรูเและความชำนาญในการจับและการเลี้ยงช้างซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้ถ่ายทอดมาแต่โบราณกาล องค์ความรู้ดังกล่าวประกอบด้วย 
Read more
  บายศรี : เครื่องใช้ในพิธีกรรมเพื่อความเป็นสิริมงคล        “บายศรี” เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นเคย เพราะเห็นบ่อยในพิธีกรรมต่าง ๆ แทบทุกภาคของคนไทย เช่น การทำขวัญคน การทำขวัญข้าว การบวงสรวงสิ่งศักสิทธิ์ การไหว้ครู นาฏศิลป์ดนตรี และพิธีสมโภชพระพุทธรูป เป็นต้น ซึ่งพิธีกรรมเหล่านี่ล้วนต้องใช้บายศรีเป็นเครื่องประกอบทั้งสิ้น ความหมายของคำว่า บายศรี  หมายถึง เครื่องเชิญขวัญ หรือ รับขวัญ ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้นๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยอยู่ในบายศรี และมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี คำว่า บายศรี 
Read more
  ลายผ้าเอกลักษณ์ ประจำอำเภอ เมืองมหาสารคาม             ในปี พ.ศ.2558 สมาคมส่งเสริมผ้าไทยจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกันจัดประกวดผ้าลายมัดหมี่ของดีประจำอำเภอขึ้นทำให้เกิดการบัญญัติลายผ้าเพิ่มขึ้นอีก 13 ลายที่ปราณีตสวยงามเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคและเพิ่มโอกาสของผู้ทอผ้า เกิดความหลากหลายของผ้ามัดหมี่อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้จังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัดแรกที่มีผ้าลายประจำอำเภออย่างเป็นทางการเกิดมิติใหม่และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดให้กลุ่มทอผ้ามีงานทำมากกว่าเดิมเพิ่มรายได้สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคงยิ่งขึ้นและที่สำคัญเป็นการสร้างภาพจำใหม่ให้จังหวัดมหาสารคาม เป็นเมืองแห่งไหมมัดหมี่โดยสมบูรณ์อย่างแท้จริง จึงขอประกาศผลการคัดเลือกลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอ จังหวัดมหาสารคาม ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม                   ผ้าลายสร้อยดอกหมาก    เป็นลายผ้าโบราณลายดั้งเดิมของท้องถิ่นอีสาน เป็นลายเก่าแก่ของบรรพบุรุษซึ่งชาวบ้านในแถบภาคอีสานโดยเฉพาะจังหวัดมหาสารคามได้ทอใช้กันมากและจังหวัดมหาสารคามได้กำหนดให้เป็น “ลายเอกลักษณ์ประจำแต่เดิมชาวบ้านแถบจังหวัดมหาสารคามทอผ้าลายโบราณ 
Read more
ธุงใยแมงมุม : พุทธบูชาตามความเชื่อคนอีสาน         ธุง เป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อประดับตกแต่งเป็นเครื่องหมาย หรือป้ายบอกกิจกรรมหรือถวายเป็นพุทธบูชาของชาวอีสาน …..ทำด้วยเส้นฝ้ายย้อมสีและไม้ไผ่ โดยใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นซี่เล็ก ๆ ไขว้กากบาทกันแล้ว ใช้เส้นฝ้ายพันสานกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จากศูนย์กลางออกมาเรื่อย ๆ และมักจะใช้ฝ้ายสีพันเป็นแถบสีสลับกันเป็นชั้น ๆ ขนาดของธุงหรือธงจะเล็กใหญ่ต่าง ๆ กัน แล้วนำธุงมาต่อกันเป็นผืนยาว ทิ้งชายห้อยให้แกว่งปลิวไปตามลม ธุง หรือ ธงชนิดนี้จะมีสีสันสวยงาม จึงมักแขวนประดับไว้ตามศาลาการเปรียญของวัด เป็นพุทธบูชาตามความเชื่อของชาวบ้าน           ธงชนิดหนึ่งของภาคอีสาน มีชื่อเรียกเป็นธุงชนิดต่าง ๆ หลากหลายตามโอกาส เช่น ธุงที่ใช้ในงานบุญผะเหวด เรียกว่า ธุงผะเหวด       
Read more
048775