News

ฮีตเดือนสิบ : บุญข้าวสาก      ฮีตเดือนสิบ : บุญข้าวสาก การเขียนชื่อใส่ลงในพาข้าว (สำรับ) เรียกข้าวสาก (สลาก) การทำบุญมีการให้ทานเป็นต้น เกี่ยวแก่ข้าวสากเรียกบุญข้าวสาก เพราะมีกำหนดการทำในเดือนสิบจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า บุญเดือนสิบ                เป็นการทำบุญเพื่ออุทศส่วนกุศลบรรพบุรุษหรือญาติมิตรของเราที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นผู้มีพระคุณต่อเรามากมาย การทำบุญทำทานอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ล่วงลับแล้ว จึงเป็นหน้าที่ที่เราพึงกระทำ ฉะนั้นก่อนออกพรรษา 1 เดือน จะมีบุญสำคัญที่กำหนดเป็นฮีตที่ 10 และทำกันในวันเพ็ญเดือนสิบ ชาวอีสานเรียกว่าบุญข้าวสาก ส่วนชาวภาคกลางเรียกว่า บุญสารท ซึ่งเขากำหนดทำในวันสิ้นเดือนสิบ (วัดดับหรือวันแรม 15 ค่ำ เดือนสืบ) บุญข้าวสากจะมีการเตรียมสิ่งของเอาไว้ล่วงหน้า มากและนานวันกว่าบุญข้าวประดับดิน สิ่งที่เตรียมคือหาเนื้อหาปลาทำข้าวเม่า ข้าวพอง คั่วข้าวตอกแตก 
Read more
หมก : ภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านอีสาน   การหมก คือ อาหารที่นำเครื่องแกงทั้งพริกสดหรือพริกแห้ง ตะไคร้ หอมแดงหรือกระเทียม อาจมีใบมะกรูดโขลกละเอียด มาคลุกเคล้ากับเนื้อสัตว์ ทั้งเนื้อปลา ไข่ปลา ไก่ หมู กบ เขียด ลูกฮวก ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้ารสเผ็ดเค็มนัว คนอนเข้าเนื้อ โรยหน้าด้วยต้นหอม ใบแมงลัก บางสูตรมีผักชีลาวหรือพริกสดทุบ ห่อด้วยใบตองทั้งแบบพับทบไปมา หรือห่อจับอีบกลัดด้วยก้านมะพร้าวนำไปนึ่งหรือย่างให้สุก                                การใช้พืชผักต่างๆ มาทำเป็นหมก อย่างเห็ดและหน่อไม้ นำมาปรุงรสและห่อใบตองนำไปหมกได้เช่นกัน จะเรียกกันว่า 
Read more
  แคน  เป็นเครื่องดนตรีสำคัญของชาวอีสาน ทำจากไม้กู่แคน เมื่อเป่าแล้วทำนองเสียงดัง    แคนแล่นแคน แล่นแคน แล่นแคน  แคนหนึ่งอันเรียกว่าแคนหนึ่งเต้า ประวัติความเป็นมา แคน เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป๋าให้เป็นเพลง แบ่งเป็นสองอย่างคือ แคนเจ็ดและแคนแปด แคนเจ็ดนั้นมีลูกเจ็ดคู่ ส่วนแคนแปดนั้นมีลูกแปดคู่  แคนทำด้วยไม้อ้อหรือไม้เหี้ยน้อย แต่เดี๋ยวนี้ไม้อ้อหาได้ยาก จึงทำแคนด้วยไม้เหี้ยน้อยและจะต้องหาให้ได้ลดขนาดเท่านิ้วมือจึงจะใช้ได้ระบบของแคนแปดมีเสียงทั้งหมด ๑๖ เสียงแต่เป็นระดับเสียงที่ซ้ำกัน ๒ เสียง โดยเสียงทั้ง ๑๖ เสียงนี้ มิได้เรียงลำดับอย่างเสียงระนาดหรือเสียงเปียโน ส่วนประกอบของแคนมีดังนี้ ลูกแคน  ลูกแคนคือไม้ไผ่ที่นำมาประกอบเป็นแคน ทำจากไม้ซางซึ่งเป็นพืชตระกูลไม้ไผ่  ลำเล็ก ๆ มีปล้องยาว ขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วนางตามลำดับ โดยนำมาลนไฟแล้วดัดให้ตรงขนาดยาวตั้งแต่แปดสิบเซนติเมตรถึงสามเมตร ไม้กู่แคนทุกลำทะลุข้อออกเพื่อให้ลมผ่าน ฝังลิ้นทองเหลือง หรือลิ้นเงิน ห่างจากปลายข้างบนประมาณ 50-60 เซนติเมตร โดยบริเวณนั้นบากเป็นช่องสี่เหลี่ยมสองช่องห่าง 
Read more
  ภูมิปัญญาการอยู่ไฟ  การดูแลมารดาด้วยการแพทย์แผนไทย   “การอยู่ไฟ” หมายถึง การใช้ความร้อนในการรักษาสุขภาพของหญิงหลังคลอด ดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบการแพทย์แบบตะวันตก การตั้งครรภ์และสุขภาพหลังคลอดเป็นช่วงวิกฤติของผู้หญิง เนื่องจากระบบต่างๆ ของร่างกายมีการปรับเปลี่ยนไปร่างกายอยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล จึงจำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ- การอยู่ไฟนอกจากจะช่วยให้มดลูกแห้ง เข้าอู่เร็วน้ำคาวปลาแห้งสนิทแล้ว ยังทำให้ร่างกายฟื้นตัวเข้าสู่สภาพปกติและแข็งแรงโตเร็วขึ้น นอกจากนั้นการอยู่ไฟยังทำให้ผิวพรรณดี เลือดฝาดสมบูรณ์ รูปร่างสวยงามเหมือนก่อนตั้งครรภ์ มีความกระฉับกระเฉงไม่เมื่อยล้าไม่ปวดหลังปวดเอว ขั้นตอนในการอยู่ไฟประกอบด้วยภูมิปัญญาหลายส่วน ได้แก่ ลักษณะการให้ความร้อนกับร่างกาย โดยเฉพาะชนิดของพันธุ์ไม้ที่จะนำมาใช้เป็นฟืนหรือถ่าน สมุนไพรที่ใช้ดื่มในขณะอยู่ไฟ การรักษาแผลที่ช่องคลอด การทำความสะอาดร่างกาย และอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการอยู่ไฟ เช่น การเกิดผื่น รับประทานอาหารไม่ได้ ปวดหัว ปวดท้อง ซึ่งในแต่ละภูมิภาคมีภูมิปัญญาในการจัดการที่มีลักษณะจำเพาะของแต่ละพื้นที่ ภูมิปัญญา ในการอยู่ไฟมีหลักการที่สำคัญ ๕ ส่วน คือ ๑) การใช้ความร้อนในการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดลมในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายปรับตัวให้กลับมาอยู่ในสภาวะสมดุล ความร้อนทำให้หญิงที่อยู่ไฟหลังคลอดแข็งแรงสามารถกลับไปทำงานได้เหมือนเดิม และทนอากาศร้อนหนาวได้ดี ๒) อาหารและสมุนไพร 
Read more
เรือนไทยภาคอีสาน   ประวัติความเป็นมาของเรือนไทยภาคอีสาน “ดินแดนในเฮือนมีเสา เป่าแคน แห้นข้าวเหนียว เคี้ยวปลาแดก แม่นแล้วคือลาว”         ลาวในที่นี้ หมายถึง ชนชาติไต-ลาว ซึ่งเป็นบรรพบุรุษร่วมสายใยทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนไทย-อีสานนั้นเอง ลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมอันเป็นตัวคอยเชื่อมโยงอยู่มี 3 ประการ คือ พูดตระกูลไท-ลาว ปลูกข้าวเหนียว และยกเรือนเสาสูง           ลักษณะอาคารบ้านเรือนเป็นองค์วัตถุที่แต่ละเผ่าชนได้สั่งสมและสืบสานนับเนื่องกันมายาวนานจนผู้พบเห็นบอกได้ทันทีว่า ลักษณะอาคารบ้านเรือนเช่นนั้นเป็นของคนชาติใด-เผ่าใด เช่น คนอีสานซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายไต-ลาว จะมีบ้านหรือเฮือนใต้ถุนสูง ทั้งนี้เนื่องจากอีสานเป็นที่สูง อยู่ในเขตซึ่งในอดีตมีสัตว์ร้ายมากมาย ในฤดูร้อนก็ร้อนมากต้องอาศัยใต้ถุนบ้านเป็นที่ทำงานบ้านต่าง ๆ เป็นคอกสัตว์เลี้ยงและที่เก็บเครื่องใช้สอย รวมทั้งใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและปฏิสัมพันธ์เพื่อนบ้านในรูปแบบต่างๆ หรือแม้แต่การป้องกันน้ำท่วมซึ่งมีให้เห็นได้บ่อยในฤดูฝน ชาวอีสานโดยทั่วไปมักจะตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มเครือญาติเป็น “หมู่บ้าน” บนที่สูง ใกล้ป่า ใกล้แหล่งน้ำ และมีพื้นที่ทำนาโดยรอบหมู่บ้าน เพราะเกือบทั้งหมดเป็นชาวนา ชื่อหมู่บ้านต่าง ๆ มักจะบ่งบอกภูมิลักษณะที่ตั้ง เช่น บ้านหนอง 
Read more
พระเจริญราชเดช (ท้าวกวด) : เจ้าเมืองคนแรกมหาสารคาม ….พระเจริญราชเดช (ท้าวกวด) พระเจริญราชเดช (ท้าวกวด) เป็นบุตรอุปฮาดสิงห์ เจ้าเมืองร้อยเอ็ด เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2379 ที่เมืองร้อยเอ็ด เป็นหลานปู่ขัติยวงษาพิสุทธิบดี (สีลัง) และเป็นเหลนพระขัติยวงษา (ทน) ผู้สร้างเมืองร้อยเอ็ดซึ่งเป็นเจ้า เมืองร้อยเอ็ดคนแรก …..พระเจริญราชเดช (ท้าวกวด) เมื่อเติบโตขึ้นได้ไปศึกษาอยู่ที่สำนักท่านหลักคำเมืองอุบลราชธานี เมื่อจบการศึกษาที่นั่นแล้ว ได้กลับไปรับราชการอยู่กับพระขัติยวงษา (จัน) ที่เมืองร้อยเอ็ด ท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถใน งานราชการปราบโจรผู้ร้ายให้สงบราบคาบได้ จึงได้รับแต่งตั้งเป็น “ท้าว มหาชัย” เมื่ออายุได้ 21 ปี ใน พ.ศ. 2412 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ยกฐานะเมือง มหาสารคามขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ต่อมาในปี พ.ศ. 
Read more
บุญเข้าพรรษา เป็นประเพณีในพระพุทธศาสนาซึ่งมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาลพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจะจาริกไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดแม้ในช่วงฤดูฝนบางครั้งก็เหยียบข้าวกล้าของชาวนาจนได้รับความเสียหาย ในขณะที่นักบวชศาสนาอื่นและฝูงนกยังหยุดผักผ่อนไม่ท่องเที่ยวในฤดูฝนพระพุทธเจ้าได้ทราบถึงความเดือนร้อนของชาวนา จึงทรงรับสั่งให้พระสงฆ์ประชุมพร้อมกันและทรงบัญญัติเรื่องการเข้าพรรษาไว้ว่า “อนุชานามิ ภิกขะเว วัสสัง อุปะคันตุง” แปลว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้พวกเธออยู่จำพรรษา” โดยกำหนด วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา (ปุริมพรรษา) แต่ถ้าปีใดเป็นอธิกมาส มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเข้าพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ก็ได้ และไปสิ้นสุดเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เรียกว่า วันเข้าพรรษาหลัง (ปัจฉิมพรรษา) ดวงเดือน ไชยโสดา… เอกสารอ้างอิง : เชาว์ลิต ทิมา . 
Read more
“บุญเดือนแปด” เดือน ๘ เป็นเดือนอยู่ในระยะหน้าฝน และเป็นเดือนที่พระอยู่จำพรรษาตลอดสามเดือนไม่ไปค้างคืนที่อื่น ยกเว้นแต่มีกิจที่จำเป็น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน ๗ วัน ถ้าเกินนั้นถือว่าพรรษาขาด โดยปกติแล้วกำหนดเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของปีที่เป็นปกติมาส (๘ หนเดียว)  เป็นวันอธิฐานเข้าพรรษา สำหรับปีที่เป็นอธิกมาสคือ ๘ สองหน กำหนดเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง เป็นวันอธิฐานเข้าพรรษาเพราะมีกำหนดทำกันในเดือน ๘ เป็นประจำ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มูลเหตุมีการเข้าพรรษา ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่เวฬุวันกลันทกะนิวาปะสถานณ เมืองราชคฤห์  มีพระภิกษุพวกหนึ่งเรียกว่า “ฉับพัคคีย์” ได้เที่ยวไปทุกฤดูกาลไม่หยุดพักเลย โดยเฉพาะฤดูฝนอาจไปเหยียบย่ำข้าวกล้า และหญ้าระบัดใบตลอดสัตว์เล็กเป็นอันตราย ประชาชนทั่วไปพากันติเตียน พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้พระภิกษุสามเณรจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน 
Read more
รายการ..ออนซอนอีสาน ออนซอน..ผ้าแพรวา : ราชินีไหมหัตถกรรมผู้ไทกาฬสินธุ์  
Read more
มหัศจรรย์…สมุนไพรใกล้ตัว สวย..สดใส..ด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน           ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร สำนักวิทยบริการ จัดนิทรรศการในหัวข้อ “มหัศจรรย์ สมุนไพรใกล้ตัว” นี้ ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ ผู้ใช้บริการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ ได้รับทราบถึงคุณค่าและประโยชน์ของสมุนไพรพื้นบ้านนานาชนิดที่สามารถหาได้ง่ายๆ รอบตัวเรา เช่น พืชผักสวนครัวต่างๆ ล้วนแต่มีสรรพคุณมีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยนำมาใช้เป็นเครื่องยา ทำอาหาร ตลอดจนบำรุงสุขภาพและความงาม                                     
Read more
048883