ผ้าไหมล้ำเลอค่า มหาสารคาม Maha Sarakham Precious Silk

  ผ้าไหมล้ำเลอค่า มหาสารคาม Maha Sarakham Precious Silk

            นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ  ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ที่ปรึกษาการจัดทำหนังสือ “ผ้าไหมล้ำเลอค่า มหาสารคาม” ตามโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์มรดกทางภูมิปัญญา “ผ้าไหมลำเลอค่า มหาสารคาม” เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา  12 สิงหาคม พ.ศ. 2566 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาการทอผ้าของชาวจังหวัดมหาสารคาม  ที่ได้สืบทอดมาจากบรรพชนจนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ดังคำขวัญประจำจังหวัด คือ พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร   โดยมีเนื้อหาพร้อมภาพสีสวยงาม ประกอบด้วยดังนี้

  • ผ้าไหมล้ำเลอค่า มหาสารคาม : สืบสานมรดกวัฒนธรรมจากบรรพชน
  • มรดกผ้าทอเจ้าเมืองมหาสารคาม
  • ผ้าไหมล้ำเลอค่า มหาสารคาม : พ.ศ. 2540 ลายสร้อยดอกหมาก ลายผ้าประจำจังหวัดมหาสารคาม
  • ผ้าไหมล้ำเลอค่า มหาสารคาม : พ.ศ. 2559   13 ลายผ้าประจำอำเภอ
  • ผ้าไหมล้ำเลอค่า มหาสารคาม : สืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  • ผ้าไหมล้ำเลอค่า มหาสารคาม : สนองพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
  • ผ้าไหมล้ำเลอค่า มหาสารคาม : ยกระดับเพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจฐานราก
  • การยกระดับวัฒนธรรมผ้าทอตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
  • การยกระดับวัฒนธรรมผ้าทอตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
  • การยกระดับวัฒนธรรมผ้าทอสู่แฟชั่นผ้าทอ
  • การยกระดับวัฒนธรรมผ้าทอด้วยนวัตกรรมย้อมสีธรรมชาติ
  • รายชื่อกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จังหวัดมหาสารคาม

บรรณาธิการ   นายทม เกตุวงศา   ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้เขียน   นายทม เกตุวงศา,  นางฉวีวรรณ อรรคะเศรษฐัง,  นางสาวจงรักษ์ คชสังข์, นายไกรวิทย์ นรสาร, นายนิพล สายศรี และนายนัฐพงษ์ ภูภักดี

สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ภาษาอังกฤษ  ดร.อภิราดี จันทร์แสง และ ดร.พิลานุช ภูษาวิโศธน์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Post by  Pornpimol Manochai