ความเชื่อ

รายการออนซอนอีสาน  อะเมซิ่งสายมูอีสาน  “พญานาค 3 พิภพ” มุกดาหารดินแดนแห่งศรัทธาเมืองลุ่มน้ำโขง  จังหวัดมุกดาหาร ดวงเดือน ไชยโสดา… post
Read more
  ไหลเรือไฟ : ความเชื่อ พลังศรัทธาต่อสายน้ำที่ยิ่งใหญ่ไทสองฝั่งโขง ในค่ำคืนวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันที่ทุกคนรอคอยชมการไหลเรือไฟของชาวสองฝั่งแม่น้ำโขงนครพนม และเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อบูชาพระแม่คงคา และบูชารอยพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งอดีตจากจินตนาการของศิลปินเรือไฟพื้นบ้านสู่ลำไม้ไผ่หลายร้อยลำมาสร้างเป็นเรือไฟ หลอมศรัทธา และพลังใจผู้คนสองฟากฝั่งสืบสานประเพณีอันดีงามให้คงอยู่ตลอดไปประเพณีไหลเรือไฟจากอดีตถึงปัจจุบัน มีการพัฒนารูปแบบการสร้างผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ บ้างก็เฉลิมฉลองด้วยพลุดอกไม้ไฟวิจิตรตระการตา นับเป็นศิลปะการออกแบบก่อสร้างจากแรงงานในท้องถิ่น และเป็นความภาคภูมิใจในการสืบสานประเพณีของท้องถิ่นมาถึงปัจจุบันชาวอีสานมีความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีไหลเรือไฟอยู่ ๓ แนว คือ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธเจ้า  เมื่อครั้งพญานาคทูลอาราธนาพระพุทธองค์ไปแสดงธรรมในโลกพิภพ ครั้งจะเสด็จกลับพญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ประทับรอยพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักขิณาบท ประเทศอินเดีย (ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา) ไว้เป็นที่เคารพของเทวดา มนุษย์ตลอดจนสัตว์ทั้งปวง   ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์ ภายหลังเสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระมารดา จึงเสด็จกลับลงมาสู่โลกมนุษย์ผ่านบันไดทิพย์ ๓ ทาง คือบันไดทองเบื้องขวา เป็นที่ลงของเหล่าเทพยดา บันไดเงินเบื้องซ้ายเป็นทางลงของหมู่พรหม 
Read more
คชศาสตร์ชาวกูย   ประวัติความเป็นมา         กลุ่มชนชาวกูย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศไทย ซึ่งอาศัยหนาแน่นในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานีและสระแก้วบางส่วน คำเรียกขานว่า “กูย” “กุย” หรือ “กวย” เป็นการออกเสียงที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นและยังจำแนกชื่อเรียกตามวิถีชีวิต อาทิ กูยซแร หมายถึง ชาวกูยที่ประกอบอาชีพทำนา กูยแฎก หมายถึง กลุ่มชาวภูยที่ประกอบอาชีพตีมีด และกูยอะจีง หรือ กูยอาเจียง คือ ชาวกูยที่ประกอบอาชีพเลี้ยงช้าง ความสำคัญและคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญา           ชาวกูยอะจีง บ้านกระโพ บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ มีความรูเและความชำนาญในการจับและการเลี้ยงช้างซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้ถ่ายทอดมาแต่โบราณกาล องค์ความรู้ดังกล่าวประกอบด้วย 
Read more
  บายศรี : เครื่องใช้ในพิธีกรรมเพื่อความเป็นสิริมงคล        “บายศรี” เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นเคย เพราะเห็นบ่อยในพิธีกรรมต่าง ๆ แทบทุกภาคของคนไทย เช่น การทำขวัญคน การทำขวัญข้าว การบวงสรวงสิ่งศักสิทธิ์ การไหว้ครู นาฏศิลป์ดนตรี และพิธีสมโภชพระพุทธรูป เป็นต้น ซึ่งพิธีกรรมเหล่านี่ล้วนต้องใช้บายศรีเป็นเครื่องประกอบทั้งสิ้น ความหมายของคำว่า บายศรี  หมายถึง เครื่องเชิญขวัญ หรือ รับขวัญ ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้นๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยอยู่ในบายศรี และมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี คำว่า บายศรี 
Read more
ฮีตสิบสอง : ประเพณีอีสาน 12 เดือน ฮีตเดือนอ้าย  บุญเข้ากรรม “ฮีตหนึ่งนั้น  เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย   ฝูงหมู่สังฆเจ้ากะเตรียมเข้าอยู่กรรม   มันหากธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน   อย่าได้ละห่วงเว้นเข็ญสิข้องแล่นนำ แท้แหล่ว” บุญเข้ากรรม เป็นกิจกรรมของสงฆ์ เรียกว่า เข้าปริวาสกรรม โดยให้พระภิกษุสงฆ์ที่ต้องอาบัติ (กระทำผิด) สังฆทิเสส ได้สารภาพต่อหน้า คณะสงฆ์เพื่อเป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตน แล้วปรับตัว ประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระวินัยพิธีเข้าปริวาสกรรมกำหนดไว้ 9 ราตรี กำหนดให้พักอยู่ในสถานที่สงบ ไม่มีคนพลุกพล่าน (อาจเป็นบริเวณวัดก็ได้) โดยมีกุฏิชั่วคราวเป็นหลังๆ พระภิกษุสงฆ์เข้าปริวาสกรรมคราวหนึ่งๆ จะมจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่ต้องบอกพระภิกษุสงฆ์จำนวน 4 รูปไว้ก่อนว่าตนเอง จะเข้ากรรม และเมื่อถึงเวลาออกกรรมจะมีพระสงฆ์ 20 รูป มารับออกกรรม เรียกว่า สวดอัพภาณ 
Read more
ธุงใยแมงมุม : พุทธบูชาตามความเชื่อคนอีสาน         ธุง เป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อประดับตกแต่งเป็นเครื่องหมาย หรือป้ายบอกกิจกรรมหรือถวายเป็นพุทธบูชาของชาวอีสาน …..ทำด้วยเส้นฝ้ายย้อมสีและไม้ไผ่ โดยใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นซี่เล็ก ๆ ไขว้กากบาทกันแล้ว ใช้เส้นฝ้ายพันสานกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จากศูนย์กลางออกมาเรื่อย ๆ และมักจะใช้ฝ้ายสีพันเป็นแถบสีสลับกันเป็นชั้น ๆ ขนาดของธุงหรือธงจะเล็กใหญ่ต่าง ๆ กัน แล้วนำธุงมาต่อกันเป็นผืนยาว ทิ้งชายห้อยให้แกว่งปลิวไปตามลม ธุง หรือ ธงชนิดนี้จะมีสีสันสวยงาม จึงมักแขวนประดับไว้ตามศาลาการเปรียญของวัด เป็นพุทธบูชาตามความเชื่อของชาวบ้าน           ธงชนิดหนึ่งของภาคอีสาน มีชื่อเรียกเป็นธุงชนิดต่าง ๆ หลากหลายตามโอกาส เช่น ธุงที่ใช้ในงานบุญผะเหวด เรียกว่า ธุงผะเหวด       
Read more
061929