Author: ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร

บุนสงน่าม หรือ บุญเดือนห้า   สงน่าม เขียนตามเสียงพูดของคนอีสาน ตามกับภาษาไทยว่า สรงน้ำ เป็นคำกริยา แปลว่า อาบน้ำ ซึ่งคำนี้ใช้แก่บรรพชิตและเจ้านาย เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร           ฉะนั้น บุนสงน่าม จึงหมายถึง การทำบุญที่เอาน้ำอบน้ำหอม โปรดหรือไปสรงพระพุทธรูปพระภิกษุสงฆ์ และคนเฒ่าคนแก่ที่เราเคารพนับถือ มีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น มูลเหตุที่ทำ เนื่องจากเดือนห้าถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวอีสารมาแต่โบราณ โดยจะถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 เป็นวันเริ่มต้นการทำบุญ อย่างไรก็ตาม “ฮีตที่ 5 หรือ บุนเดือนห้า” นี้ก็คือ “บุญวันขึ้นปีใหม่ของชาวอีสานนั้นเอง” ซึ่งมีวันสำคัญ 3 วันดังนี้           
Read more
เห็ดเป็นยา : จากภูมิปัญญาสู่การรักษาโรค เห็ด  เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “ฟังไจ” (Fungi) หรือ เรียกว่า “กลุ่มเห็ด-รา” เห็ด-รา ไม่ใช่พืช เพราะไม่มีโครงสร้างภายในเซลล์ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง และมีลำดับของพันธุกรรมคล้ายคลึงกับสัตว์มากกว่าพืช นักวิทยาศาสตร์จึงได้แยกกลุ่มของ เห็ด-รา ออกจากกลุ่มของพืช เห็ดแตกต่างจากราตรงที่เส้นใยมีการถักทอรวมกันเป็นดอกเห็ด ซึ่งลักษณะเช่นนี้ไม่พบในกลุ่มของรา                  เห็ดตับเต่า/เห็ดเผิ่ง         เห็ดหำฟาน         เห็ดขอนขาว คุณค่าทางยาจากเห็ดเป็นยา    มนุษย์ได้มีการบริโภคเห็ดเป็นอาหารและยารักษาโรค เป็นเวลามากกว่า 2,000 ปี มาแล้ว โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันออก มีงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์หลายชิ้น 
Read more
เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ              เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ (Barorneter Earthstars) เป็นเห็ด พื้นบ้านพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เห็ดที่อยู่ในป่าเขตร้อนชื้น อยู่ในจำพวกราชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์  Diplocystaceae มีลักษณะเป็นเห็ดรา อยู่ในหมวด Basidiomycota  ในไทยมี 3 ชนิด ได้แก่ 1. เห็ดเผาะฝ้าย (feeraeae hygnomernicad) 2. เห็ดเผาะหนัง (A.odoratuo) 3. siaticud             ดอกเห็ดเผาะมีลักษณะ   เป็นเม็ดกลมจนถึงกลมแบน ขนาด 1.5-3.5 เซนติเมตร เติบโตได้ดีร่วมกับต้นไม้ใหญ่หลายชนิดที่มีดินปนทรายในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ 
Read more
เรียนรู้ภูมิปัญญาผญาภาษิต อย่าติถะแหลงหล่ม ตมบ่มีพะลาดมื่น อย่าสู่พะลาดล้ม เดือนห้าก่อนฝน คำแปล อย่าทำเป็นลื่นล้ม ทั้งที่ไม่มีตมสักหน่อยและอย่าทำเป็นลื่นล้มในเดือนห้าก่อนฝนจะตก การใช้ ใช้เป็นคติเตือนใจว่าจะทำอะไรทำให้เหมาะกับกาลเทศะ   (คัดลอกมาจาก (วัฒนธรรมอีสาน. 2555. )                                                             
Read more
ข้าวจี่ : เมนูยอดฮิตฤดูหนาว..ชาวอีสาน         เป็นอาหารอย่างหนึ่งของคนอีสาน คำว่า “ข้าว” หมายถึงข้าวเหนียว ส่วน “จี่” เป็นภาษาอีสานแปลว่าเผาหรือย่าง การทำข้าวจี่ก็คือการนำข้าวเหนียวไปย่างไฟนั่นเอง วิธีทำคือนำข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนกลมหรือแบน ก็ได้ตามชอบ โรยเกลือป่นให้ทั่วแล้วย่างไฟอ่อน ๆ ให้เหลืองกรอบก็รับประทานได้เลย ถ้าจะให้อร่อยยิ่งขึ้นต้องทาด้วยไข่ แล้วนำไปย่างไฟอีกครั้งจะมีกลิ่นหอมอร่อย                                        หน้าหนาวเข้ามาแล้ว..คนท้องถิ่นอีสานต้องถามหาข้าวจี่ ข้าวจี่ ภูมิปัญญาอาหารช่วงหน้าหนาว คนอีสานจะก่อไฟผิงแก้หนาว 
Read more
รายการบรรณานุกรมเศรษฐกิจพอเพียงอีสาน แหล่งศึกษาค้นคว้า เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงอีสาน รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศสารสนเทศเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอีสานที่ให้บริการในสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  แต่ละชื่อเรื่องทำรายการเชื่อมโยงไปยัง แหล่งสารสนเทศและเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) คลิก e-book บรรณานุกรมเศรษฐกิจพอเพียงอีสาน  แบ่งเป็นประเภท    หนังสือ      บทความ      กฤตภาค      จุลสาร        เอกสารวิจัย ช่องทางเพื่อเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ ที่สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ดวงเดือน ไชยโสดา…
Read more
รายการบรรณานุกรมอาหารพื้นบ้านอีสาน แหล่งศึกษาค้นคว้า เรื่อง อาหารพื้นบ้านอีสาน รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศสารสนเทศ เรื่อง อาหารพื้นบ้านอีสาน ที่ให้บริการในสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  แต่ละชื่อเรื่องทำรายการเชื่อมโยงไปยัง แหล่งสารสนเทศและเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) คลิก e-book บรรณานุกรมอาหารพื้นบ้านอีสาน  แบ่งเป็นประเภท    หนังสือ      บทความ      กฤตภาค      จุลสาร      ภาคนิพนธ์    เอกสารวิจัย ช่องทางเพื่อเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ ที่สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ดวงเดือน ไชยโสดา…
Read more
  ไหลเรือไฟ : ความเชื่อ พลังศรัทธาต่อสายน้ำที่ยิ่งใหญ่ไทสองฝั่งโขง ในค่ำคืนวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันที่ทุกคนรอคอยชมการไหลเรือไฟของชาวสองฝั่งแม่น้ำโขงนครพนม และเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อบูชาพระแม่คงคา และบูชารอยพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งอดีตจากจินตนาการของศิลปินเรือไฟพื้นบ้านสู่ลำไม้ไผ่หลายร้อยลำมาสร้างเป็นเรือไฟ หลอมศรัทธา และพลังใจผู้คนสองฟากฝั่งสืบสานประเพณีอันดีงามให้คงอยู่ตลอดไปประเพณีไหลเรือไฟจากอดีตถึงปัจจุบัน มีการพัฒนารูปแบบการสร้างผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ บ้างก็เฉลิมฉลองด้วยพลุดอกไม้ไฟวิจิตรตระการตา นับเป็นศิลปะการออกแบบก่อสร้างจากแรงงานในท้องถิ่น และเป็นความภาคภูมิใจในการสืบสานประเพณีของท้องถิ่นมาถึงปัจจุบันชาวอีสานมีความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีไหลเรือไฟอยู่ ๓ แนว คือ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธเจ้า  เมื่อครั้งพญานาคทูลอาราธนาพระพุทธองค์ไปแสดงธรรมในโลกพิภพ ครั้งจะเสด็จกลับพญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ประทับรอยพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักขิณาบท ประเทศอินเดีย (ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา) ไว้เป็นที่เคารพของเทวดา มนุษย์ตลอดจนสัตว์ทั้งปวง   ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์ ภายหลังเสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระมารดา จึงเสด็จกลับลงมาสู่โลกมนุษย์ผ่านบันไดทิพย์ ๓ ทาง คือบันไดทองเบื้องขวา เป็นที่ลงของเหล่าเทพยดา บันไดเงินเบื้องซ้ายเป็นทางลงของหมู่พรหม 
Read more
เรียนรู้ภูมิปัญญา..ผญาภาษิต..               “บุนบ่อคาดได้ แสนสิฮอมกะจำห่าง บาดว่าบุนคาดได้ แสนสิเว้นกะเวินมา” คำแปล : ของสิ่งใดก็ตาม ถ้าบุญวาวสนาจะไม่เป็นของเราแล้ว ถึงแม้จะอยู่ใกล้แค่เอื้อมก็จำต้องห่างไกลออกไป แต่ถ้าบุญวาสนาจะเป็นของเราแม้จะพยายายาม หลีกเว้นแต่ก็ต้องพบจนได้ แหล่งข้อมูล : ภูมิ สาระผล. (2555). วัฒนธรรมอีสาน. โรงพิมพ์พระธรรมขันต์.
Read more
เรียนรู้ภูมิปัญญา..ผญาภาษิต..   คนเฮานี้ ต้องเผิ่งอาศัยกัน คือดังปลาอาศัยน้ำ น้ำกะเผิ่งวังปลา ปลาอาศัยวังเวิน จึ่งล่องลอยนาน้ำ ทามอาศัยห้วย งัวควยอาศัยแอก ตาแฮกอาศัยไก่ต้ม จึงโดนตุ้มจากคอน คือดังคอนอาศัยไม้ นกใส่อาศัยโกน คนกะอาศัยคน เผิ่งกันโดยด้าม คามอาศัยหม้อ หมอมออาศัยส่อง ฆ้องอาศัยไม้ฆ้อน ตีต้องจึงค่อยดัง..ซั่นแล้ว การพึ่งพาอาศัยกันถือเป็นเรื่องสำคัญของทุกสิ่งอย่าง
Read more
048815