มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ

เมี่ยงคำ เป็นอาหารว่างหรือของกินเล่นของคนไทยทุกภาค เป็นอาหารว่างที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะมีธาตุอาหารครบ ๕ หมู่อยู่ในคำเดียวกัน ไม่มีการบันทึกประวัติความเป็นมา แต่พิจารณาจากลักษณะของอาหารที่ใช้ทรัพยากรหลายอย่างจากสวนจึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นอาหารของชาวสวนแต่เดิม และอาจดัดแปลงมาจาก “เมี่ยง” ของชาวภาคเหนือ โดยเปลี่ยนใบเมี่ยงที่ใช้ห่อมาเป็นพืชผักในสวนภาคกลางแทน มีอาหารของชาวภาคกลางหลายชนิดที่ใช้ใบไม้ห่อแล้วเรียกว่า “เมี่ยง” ดังปรากฎในบทเห่ชมเครื่องว่าง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ว่า “เมี่ยงคำน้ำลายสอ เมี่ยงสมอเมี่ยงปลาทู       ข้าวคลุกคลุกไก่หมู น้ำพริกคั่วทั่วโอชา” เมี่ยงคำประกอบด้วยส่วนประกอบ 4 ส่วนคือ 1.เครื่องเมียง  2. น้ำเมี่ยง 3. ผักที่ใช้ห่อ 4. เครื่องเมี่ยง                 เครื่องเมี่ยง ประกอบด้วย มะพร้าวคั่วกุ้งแห้ง ขิง 
Read more
  ผ้าแพรวา : ราชินีไหมหัตถกรรมผู้ไทกาฬสินธุ์ ประวัติความเป็นมา ผ้าแพรวา คือ ผ้าแพรเบี่ยงไหมที่ใช้พาดเบี่ยงคล้ายสไบ มีความกว้างประมาณ ๑ ศอก ยาว ๑ วา จึงเป็นที่มาของชื่อผืนผ้าว่า “ผ้าแพรวา” ซึ่งมีแหล่งผลิตอยู่ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยช่างทอกลุ่มวัฒนธรรมผู้ไทย ความสำคัญและคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญา กรรมวิธีการทอผ้าแพรวา เป็นกรรมวิธีจกแบบดั้งเดิม โดยใช้ “นิ้วก้อย” จก สอดเส้นไหมสีสันต่าง ๆ สอดแทรกเป็นเส้นพุ่งพิเศษตามจังหวะลวดลายทีละเล็กละน้อย ส่วนการย้อมไหมมักใช้สีธรรมชาติ โดยเฉพาะสีแดงจากครั่งซึ่งใช้เป็นสีพื้น ทอสลับการสร้างลวดลายจกเป็นช่วง ๆ ตลอดทั้งผืน ผ้าแพรวาหนึ่งผืนใช้เวลาทอนานนับเดือน ความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของผ้าแพรวา คือ ลายหลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเป็นโครงสร้างพื้นฐานในลวดลายผ้า โดยมีลวดลาย ๑๐ – ๑๒ ลายต่อผืน และใช้เส้นไหม ๒ 
Read more
คชศาสตร์ชาวกูย   ประวัติความเป็นมา         กลุ่มชนชาวกูย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศไทย ซึ่งอาศัยหนาแน่นในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานีและสระแก้วบางส่วน คำเรียกขานว่า “กูย” “กุย” หรือ “กวย” เป็นการออกเสียงที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นและยังจำแนกชื่อเรียกตามวิถีชีวิต อาทิ กูยซแร หมายถึง ชาวกูยที่ประกอบอาชีพทำนา กูยแฎก หมายถึง กลุ่มชาวภูยที่ประกอบอาชีพตีมีด และกูยอะจีง หรือ กูยอาเจียง คือ ชาวกูยที่ประกอบอาชีพเลี้ยงช้าง ความสำคัญและคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญา           ชาวกูยอะจีง บ้านกระโพ บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ มีความรูเและความชำนาญในการจับและการเลี้ยงช้างซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้ถ่ายทอดมาแต่โบราณกาล องค์ความรู้ดังกล่าวประกอบด้วย 
Read more
  บายศรี : เครื่องใช้ในพิธีกรรมเพื่อความเป็นสิริมงคล        “บายศรี” เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นเคย เพราะเห็นบ่อยในพิธีกรรมต่าง ๆ แทบทุกภาคของคนไทย เช่น การทำขวัญคน การทำขวัญข้าว การบวงสรวงสิ่งศักสิทธิ์ การไหว้ครู นาฏศิลป์ดนตรี และพิธีสมโภชพระพุทธรูป เป็นต้น ซึ่งพิธีกรรมเหล่านี่ล้วนต้องใช้บายศรีเป็นเครื่องประกอบทั้งสิ้น ความหมายของคำว่า บายศรี  หมายถึง เครื่องเชิญขวัญ หรือ รับขวัญ ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้นๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยอยู่ในบายศรี และมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี คำว่า บายศรี 
Read more
048780