หวด : เครื่องใช้ประจำครัวเรือนของคนอีสาน

 

หวด

เครื่องใช้ประจำครัวเรือนของคนอีสาน

ภาชนะสำหรับนึ่งของ เช่น ข้าวเหนียว ผัก ถั่ว งา แต่นิยมนึ่งข้าวเหนียวมากกว่าอย่างอื่น โดยทั่วไปมักสานด้วยตอก รูปร่างคล้ายกรวย ก้นสอบปากผาย

                        ผลิตภัณฑ์จักสาน งานหัตถกรรม มักใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น  เช่น กก หรือ ผือ ไม้ไผ่ มวยเป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่ มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนบนกว้างส่วนล่างแคบลง กกและผือคือพืชที่ขึ้นตามป่าบุ่งป่าทามแต่ก่อนชาวบ้านจะฉีกเป็นเส้นเพื่อมัดของ ต่อมาด้วยฝีมือการจักสานที่มีอยู่ดั้งเดิม จึงได้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์จักสานผือขึ้น

หวดสานด้วยไม้ไผ่

              การสานมวย

ในการสานจะเริ่มจากการจักหรือการส่วยไม้ เหลาตอกให้เกลี้ยงเกลา แล้วจึงสานเป็นลายสอง ส่วนรูปแบบจะขึ้นอยู่กับประโยชน์ใช้สอย ที่ผลิตมากคือมวยสำหรับนึ่ง

 

             

วิธีนึ่ง   ต้องนำสิ่งที่จะนึ่งใส่ลงในหวด ถ้าเป็นข้าวเหนียวต้องซาวน้ำให้เมล็ดข้าวสะอาดแล้วใส่ไว้ในหวด ปล่อยให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำหวดไปวางบนปากหม้อซึ่งมีน้ำอยู่ประมาณไม่ให้น้ำจรดกันหวด เมื่อนำหม้อไปตั้งไฟจนน้ำเดือด ไอน้ำจะระเหยเข้าไปภายในหวดตามช่องว่างระหว่างรอยสานของตอก ทำให้ความร้อนระอุอยู่ภายในจนสิ่งที่ต้องการจะนึ่งสุก

             การนึ่งด้วยหวดจะต้องมีใบตองหรือผ้าขาวบางปิดปากหวด เพื่อให้ความร้อนระอุอยู่ภายใน   

               

 

                  หวดที่สานด้วยตอกไม้ไผ่ใช้ได้ดีกว่าหวดชนิดอื่น เพราะช่องว่างระหว่างรอยสานของตอกจะทำให้ไอน้ำระเหยเข้าและออกได้ เกิดการถ่ายเทไอน้ำหมุนเวียน ทำให้สิ่งที่อยู่ภายในสุกทั่วกันโดยไม่แฉะหรือมีน้ำเข้าไปภายใน หวดไม้ไผ่จึงนิยมใช้กันทั่วไป แต่รูปทรงอาจต่างกันไปตามความนิยมของแต่ละถิ่น    

             หวดทรงกระบอก ปากผาย สานด้วยไม้ไผ่  ภาคอีสานเรียก มวย ภาคใต้เรียก สวด 

ดวงเดือน ไชยโสดา…

แหล่งข้อมูล วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2558). พจนานุกรมหัตถกรรมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน. วิริยะธุรกิจ.

ธนาคารนครหลวงไทย. (11 กรกฎาคม 2548). ตอน หัตถกรรมจากที่ราบสูง. ไทยโพสต์. 20