โปงลาง : สัญญลักษณ์ดนตรีอีสาน

โปงลาง : สัญญลักษณ์ดนตรีอีสาน

           โปงลาง

      เป็นเครื่องดนตรีของชาวอีสานชนิดหนึ่งทำด้วยท่อนไม้ร้อยต่อกันสิบสามท่อน แต่ละท่อน จะมีความยาวลดหลั่นกันไม้ที่นำมาทำลูกโปงลางนี้ นิยมใช้ไม้มะหาดซึ่งมีในป่าเบญจพรรณภาคอีสาน ไม้ชนิดนี้มีเนื้อเหนียวแข็งไม่ บิแตกเป็นเสี้ยนแห้งแล้วเคาะมีเสียงกังวาลดีมาก ยิ่งเป็นต้นมะหาด จากต้นที่ยืนตายยิ่งให้เสียงดีเป็นพิเศษ ช่างทำโปง ลางบางคนถึงกับลงทุนตัดเซาะเผารากต้นมะหาด แล้วปล่อยให้ยืนตายก่อนโค่นลงมาทำลูกโปงลาง และในขณะที่ปล่อยให้ไม้ยืนตายนั้นตนเองจำเป็นต้องเฝ้ารักษาป้องกันไม่ให้คนอื่นมาขโมยตัดไปทำฟืนเสียก่อน บางคนถึงกับลงทุน ไปตั้งแคมป์เฝ้าต้นมะหาด ไม้ชนิดอี่น ๆ ที่นำมาทำลูกโปงลางได้มีไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้ชิงชัง ไม้หมากเหลี้ยม เป็นต้น

การตีโปงลาง

    การตีโปงลาง โปงลางบรรเลงโดยการเคาะใช้ผู้เล่นสองคน คนแรกเล่นทำนองเพลงหลักเรียกว่าหมอเคาะ อีกคนหนึ่งนั่งเคาะด้านขวามือทำหน้าท่เคาะประสานเสียงทำจังหวะ เรียกว่า หมอเสริ์ฟ การบรรเลงจะบรรเลงเดียวเฉพาะโปงลาง หรือจะเล่นผสมวงกับ เครื่องดนตรีพื้นบ้านอื้น เช่น แคน พิณ ไหซอง และกลองเรียกว่าแคนวงก็ได้ทำนองดนตรีจของโปงลางเรียกว่าลายมีดังนี้ ลายลมพัดพร้าว ลายโปงลาง ลายช้าง ขึ้นภู ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไทรบินข้ามทุ่ง ลายภูไทเลาะ ตูบ ลายแมลงภู่ตอมดอก โดยทั่วไปโปงลางมีไว้ตียามว่าง ต่อมาได้มีการประยุกต์รำโปงลางประกอบการเคาะไปงลาง ส่วนตำแหน่งเสียงของลูกโปงลางนั้น โปงลางหนึ่งผืนจัดสเกลเสียง เป็นแบบเพนทาโทนิคสเกล คือในหนึ่งช่วง ทบเสียงประกอบด้วยเสียง โด เร มี โซ ลา เสียงโดเป็นเสียงที่หนึ่ง เสียงเรเป็นเสียงที่สาม เสียงโซเป็นเสียงที่สี่และเสียงลา เป็นเสียงที่ห้า เมื่อเคาะเสียงตามลำดับจากต่ำไปหาสูงมีดังนี้ มี โซ ลา โด เร มี โซดา โด่ เร่ มี โซ่ เร เนื่องจากลูกโปงลางทำด้วยไม้ เวลา เคาะเสียงแกร่งขึ้นและห้วน ถ้าเคาะโน้ตหนึ่งหรือสอบจังหวะได้เสียงไม้ไพเราะเพราะเสียงไม่กังวานผู้เคาะควรซอยโน้ตให้ ย้อยออกเป็นตัวเขบ็จหนึ่งชั้นหรือสองชั้นแทน คือใช้เคาะรัวถี่

พัฒนาการของโปงลาง

       กำเนิดของโปงลางมีผู้ตั้งข้อมสังเกตไว้หลายแนวทาง จารุบุตร เรืองวุวรรณ สันนิษฐานว่าโปงหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะกลวงหรือโป่งด้านในช่วยทำให้เกิดเสียงดังอาจทำด้วยโลหะหรือไม้ก็ได้ ตามวัดเก่าแก่ในภาคอีสานนอกจากจะมีกลองแล้วยังมีโปงขนาดใหญ่ ซึ่งหล่อด้วยสำริดหรือทำด้วยไม้ท่อนใหญ่ขุดเจาะให้กลวงแขวนไว้สำนหรับใช้กระทุ้งตีสัญญาณ มีเสียงก้องกังวานไกลให้คนทั้งชุมชนได้ยินเป็นสัญญาณบอกเวลาใครได้ยินเสียง โปงนอกจากจะรู้ว่าเป็นเวลาใดแล้ว ผู้ที่หลงทางอยู่กลางป่าก็สามารถกำหนดทิศทางเข้าสู่หมู่บ้านได้ นอกจากโปงชนิดนี้อยู่ตามอยู่ตามวัดแล้วยังมีโปงขนาดเล็กใช้แขวนคอวัวควายเรียกว่า ขิก หรือ ขอ หรือเกราะไม้ถือว่าเป็นโปงขนาดเล็กอาจทำด้วยไม้หรือทองเหลืองผสมเงินสำหรับสัตว์พาหนะเวลาใช้งานไม่ว่าจะเป็นช้าง ม้า วัวต่างและวัวเทียมเกวียน จะมีสัญญาณผูกคอแบบต่าง ๆ เช่น ช้างและวัวอาจจะใช้โปงหรือหมากกะโหล่ง (เกราะเหล็กก็ได้)ในสมัยโบราณการไปค้าขายทางไกล ต่างถิ่นต่างแดนจะจัดเป็นกองคาราวานขบวนวัวต่าง ๆ โดยประกอบด้วยวัวหลายร้อยตัวสำหรับบรรทุกสินค้า ในขบวนทั้งหมดจะมีจ่าฝูงสองตัว สำหรับอยู่ต้นขบวนและท้ายขบวน บนหลังวัวจ่าฝูงทั้งสองตัวจะบรรทุก โปงลางคู่ใหญ่มีเสียงทุ้มกังวาลนำต้นขบวน ส่วนโปงลางคู่เล็กมีเสียงแหลมวงบนหลังวัวตัวกำกับท้ายขบวน ปัจจุบันนี้แทบทุกครอบครัวของนายฮ้อยค้าวัวต่างมักจะมีโปงลาง เหลือไว้เป็นอนุสรณ์ไว้ให้แก่ลุกหลาน นอกจากนี้ผู้สุงอายุบางคนเล่าว่า สมัยก่อนบ้านเมืองยังเป็นป่าดงมีสัตว์ป่าอยู่ทั่วไป ชาวบ้านต่างบุกร้าวถางพง สร้างที่พุ่มกลาป่าให้เป็นไร่นาสวนปลูกผักผลไม้สัตว์ป่ามักจะยกฝูงลงมาเก็บกินธัญญาหารที่ปลูกไว้ ชาวบ้านจึงข่มขวัญโดยการเคาะมีดเคาะไม้เคาะท่อนโลหะต่าง ๆ และได้ตัดเอาท่อนไม้เนื้อแข็งผูกเชือกแขวนไว้ตามขื่อคากระท่อมกลางนา เมื่อฝูงสัตว์ลงมาก็จะเคาะไม้เป็นท่อน ๆ ไป นักดนตรีพื้นบ้านจึงเกิดแรงบันดาลใจประดิษฐ์โปงลางโดยนำท่อนไม้เนื้อแข็งขนาดต่าง ๆ มาร้อยเชือกเป็นผืนเดียวกัน ทำให้สามารถเคาะทำนองดนตรีได้ ชื่อที่ใช้เรียกโปงลาง บางท้องถิ่นนจะเรียกแตกต่างกัน เช่น หมากกลิ้งกล่อม หมากเต๋อะเติ่น หมากเติดเติ่ง หมากเกราะลอ

ส่วนประกอบของโปงลาง

      ผืนโปงลาง ประกอบด้วยลูกโปงลางสิบสองลูก โดยแต่ละลูกจะเรียงจากลูกใหญ่ซึ่งอยุ่ข้างบนลงไปหาลูกเล็กซึ่งอยู่ข้างล่าง ลูกใหญ่ท่สุดจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตร ขนาดจะเล็กลงตามลำดับไปจนถึงลูกสุดท้ายจะมีเส้นผ่านศูนย์ กลางประมาณ 2 นิ้วปลายใม้ทั้งสองข้างจะกลมทุกท่อนห่างจากท่อนปลายประมาณเจ็ดเซ็นติเมตร เจาะรุสำหรับร้อยผูกเชือกขนาดสองหุนครึ่ง ตรงกลางลูกโปงลางจะตกแต่งให้บางทั้งสองด้าน เพื่อปรับระดับเสียงของโปงลางให้เข้ากับเสียงของแคน ลูกใหญ่ที่อยู่ด้านบนจะมีเสียงต่ำ ส่วนลูกที่เล็กจะสั้นจะมีเสียงสูง โปงลางจะมีเสียงห้าเสียงคือ โด เร มี ซอล ลา

ขาโปงลาง ในสมัยก่อนผืนโปงลางไม่นิยมใช้ขาแต่มักจะผูกหรือแขวนโยงไว้กับเสา ส่วนอีกด้านหนึ่งจะผูกติดกับพื้นหรือใช้ขาเกี่ยวไว้ ปัจจุบันนิยมทำขาโปงลางแบบถาวร เพื่อสะดวกในการติดตั้งขณะบรรเลงขาโปงลางทำจากไม้เนื้อแข็ง มีความสูงประมาณหนึ่งเมตร และมีความยาวประมาณหนึ่งเมตร การแขวนลูกโปงลางจะแขวนลูกใหญ่ไว้ด้านบนโดยจะมีตะปูบนเสา ส่วนตัวล่างจะมีตะปูตอกไว้เหมือนกันเพื่อเกี่ยวเชือกร้อยโปงลาง

ไม้ตีโปงลาง ไม้สำหรับตีโปงลางส่วนมากทำด้วยไม้ชนิดเดียวกันกับไม้ที่ทำลูกโปงลาง โดยไม้ที่นิยมทำไม้ตีโปงลางจะมีหลายแบบแตกต่างกันไปตามความถนัดของผู้ตี ส่วนมากจะมีความยาว ประมาณ 20-25 เซนติเมตรโดยด้านหัวของไม้ตีจะมีขนาดใหญ่ มีทั้งแบบหัวกลมแบบหัวแบนและหัวโค้ง ส่วนมากนิยมแบบหัวโค้งเพราะเวลาตีหัวโค้งสามารถที่จะเลื่อนไหลได้ อย่างรวดเร็วโดยไม่สะดุดลูกอื่น ๆ ของโปงลาง