ฮูปแต้ม

ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนัง) : วัดป่าเลไลย์ มหาสารคาม ความเป็นมาของ ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนัง) วัดป่าเลไลย์ วัดป่าเลไลย์ ตั้งอยู่ที่บ้านหนอกพอก ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.2224 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2460 วัดแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า วัดบ้านหนองพอก ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดป่าเลไลย์ ภายในวัดมีสิมซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด ตัวสิมเป็นอาคารแบบก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลียมผืนผ้าแบบทึบ นับเป็นสิมพื้นบ้านบริสุทธิ์ที่มีลักษณ์เฉพาะ มีเสารับปีนก หลังคาทรงจั่วชั้นเดียว มีปีกนกคลุมโดยรอบ หน้าบันทำเรียบมีซานจั่ว ตัวสิมยกสูงจากฐาน บนฐานมีระเบียงล้อมรอบ ทางขึ้นเป็นบันไดนาค ศิลปะพื้นบ้านแบบอีสาน มีประตูทางเข้าหนึ่งช่องอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ผนังด้านข้างเจาะเป็นช่องหน้าต่างแคบ ๆ เป็นช่องแสง ข้างละ 2 ช่อง ไม่มีบานหน้าต่าง บนฝาผนังมีภาพเขียนทั้งด้านนอกและด้านใน สิมวัดป่าเลไลย์  
Read more
ฮดสรงในฮูปแต้ม โฮงฮด หรือ ฮางฮด (รางฮด)                เป็นศิลปะไม้แกะ -สลักอีสาน ใช้สำหรับรดหรือสรงน้ำพระสงฆ์ทำเป็นรูปคล้ายเรือจำลองขนาดเล็กยาว เหมือนของล้านนา ส่วนหัวมักทำรูปเศียรนาค ส่วนท้องค่อนไปทางหัว เจาะรูให้น้ำไหลลงสู่พระสงฆ์ที่นั่งอยู่ข้างล่างเป็นประเพณีอย่างหนึ่งเรียกว่า ประเพณีอดสรง ประเพณีนี้มีในโอกาสพิเศษ เช่น ทำเพื่อเป็นการเลื่อนยศให้แก่พระสงฆ์ตามประเพณีเดิมซึ่งชาวอีสานเลือกพระที่จะเข้าพิธีนี้เอง  ประเพณีฮดสรง แทรกอยู่ในเรื่องเวสสันดร ชาวบ้านกำลังนั่งทำพิธีฮดสรง มีรางฮดหรือโฮงฮด ผนังด้านนอก ทิศตะวันตก วัดป่าเรไรย์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม                   คำว่า ฮาง ไม้แก่นที่ขุดเป็นร่องตรงกลางสำหรับใส่อาหารสัตว์ มีขนาดต่างๆ กัน เช่น ฮางไก่สำหรับใส่อาหารไก่ ฮางเฮ็ดสำหรับใส่อาหารเป็ด                 คำว่า ฮางสรง 
Read more
048785