จิตรกรรมฝาผนังอีสาน

ลักษณะของฮูปแต้ม ฮูปแต้ม หรือจิตรกรรมฝาผนัง ที่ปรากฏบนผนังของสิมซึ่งเป็นชื่อเรียกศาสนาคารของคนอีสาน มีการเขียนฮูปแต้มทั้งด้านในและด้านนอกสิม บางแห่งมีทั้งสองด้าน บางแห่งมีเพียงด้านเดียว ส่วนเรื่องราวของฮูปแต้ม และตำแหน่งของผนังที่วาดนั้นไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ส่วนมากเป็นเรื่องพุทธประวัติ ทศชาดกเวสสันดร อดีตพระพุทธเจ้า พระมาลัย นิทานพื้นบ้านเรื่องต่างๆ และมีวิถีชีวิตของชาวบ้านเป็นเกร็ดย่อยแทรกอยู่ในภาพที่เป็นเรื่องหลัก การวางเรื่องราวอาจไม่เป็นไปตามลำดับเหตุการณ์    2. การแบ่งพื้นที่ในการวาด สำหรับพื้นที่ใหญ่ๆ เช่น ผนังรีทั้งด้านในและด้านนอกที่ไม่ติดเสา มักจะแบ่งโดยใช้เส้นหนาทึบเป็นเส้นแบ่ง บางภาพจะใช้เส้นแบ่งนี้เป็นพื้นดินหรือภูเขาไปในตัว ไม่ใช้เส้นสินเทาอย่างรูปวาดของช่างหลวง การวางเรื่องราวขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสิม    3. ฮูปแต้มมีลักษณะเป็นสองมิติ แบนเรียบ การแสดงระยะใกล้ไกลของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะแสดงด้วยการวางรูปให้คาบเกี่ยวกัน บังกัน ซ้อนกัน มีการสร้างบรรยากาศด้วยสีสันน้อยมาก เพราะขาดแคลนสี ช่างแต้มอาศัยเส้นหนา เส้นบาง เน้นระยะ เน้นเรื่องราว และเน้นบรรยากาศ เช่น บริเวณที่ต้องการให้ดูยุ่งเหยิงวุ่นวาย อาจขีดเส้นสั้นๆ ถี่ๆ 
Read more
ฮูปแต้มอีสาน : จิตรกรรมฝาผนังอีสาน             ฮูปแต้มคืออะไร….           ฮูปแต้ม เป็นคำพื้นเมืองในภาษาถิ่นวัฒนธรรมลาวชาวอีสานโบราณ ฮูปแต้ม หมายถึง รูป และคำว่า แต้ม หมายถึง การขีดเขียนหรือการระบายสีเพื่อให้เกิดลักษณะอย่างรูป รวมกันจึงหมายถึง ภาพเขียน หรือ รูปเขียน โดยต่อมาถูกนักวิชาการใช้เรียกในความหมายเดียวกันกับงานจิตรกรรมในวัฒนธรรมหลวง โดยช่างผู้สร้างงานเหล่านี้ภาษาพื้นเมืองอีสานเรียกว่า ช่างแต้ม หรือ ช่างเขียนรูป เมื่อเทียบกับคำหลวงก็คือ จิตรกร นั้นเอง               ฮูปแต้มอีสานอยู่ที่ไหน              ในแง่พัฒนาการกล่าวได้ว่าฮูปแต้มนั้นพัฒนามาจากการวาดรูปบนผืนผ้าผะเหวด ต่อมาได้พัฒนามาสู่ผืนผนังศาสนาคาร ตามพัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านวัสดุแบบก่ออิฐถือปูนอันเป็นเทคโนโลยีนำเข้าจากชาวจีนที่นิยมสร้างตึกดิน โดยช่างพื้นบ้านอีสานได้นำเทคนิคดังกล่าวมาใช้กับอาคารศาสนา   
Read more
048774