การปลูกเฮือน

เรือนไทยภาคอีสาน   ประวัติความเป็นมาของเรือนไทยภาคอีสาน “ดินแดนในเฮือนมีเสา เป่าแคน แห้นข้าวเหนียว เคี้ยวปลาแดก แม่นแล้วคือลาว”         ลาวในที่นี้ หมายถึง ชนชาติไต-ลาว ซึ่งเป็นบรรพบุรุษร่วมสายใยทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนไทย-อีสานนั้นเอง ลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมอันเป็นตัวคอยเชื่อมโยงอยู่มี 3 ประการ คือ พูดตระกูลไท-ลาว ปลูกข้าวเหนียว และยกเรือนเสาสูง           ลักษณะอาคารบ้านเรือนเป็นองค์วัตถุที่แต่ละเผ่าชนได้สั่งสมและสืบสานนับเนื่องกันมายาวนานจนผู้พบเห็นบอกได้ทันทีว่า ลักษณะอาคารบ้านเรือนเช่นนั้นเป็นของคนชาติใด-เผ่าใด เช่น คนอีสานซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายไต-ลาว จะมีบ้านหรือเฮือนใต้ถุนสูง ทั้งนี้เนื่องจากอีสานเป็นที่สูง อยู่ในเขตซึ่งในอดีตมีสัตว์ร้ายมากมาย ในฤดูร้อนก็ร้อนมากต้องอาศัยใต้ถุนบ้านเป็นที่ทำงานบ้านต่าง ๆ เป็นคอกสัตว์เลี้ยงและที่เก็บเครื่องใช้สอย รวมทั้งใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและปฏิสัมพันธ์เพื่อนบ้านในรูปแบบต่างๆ หรือแม้แต่การป้องกันน้ำท่วมซึ่งมีให้เห็นได้บ่อยในฤดูฝน ชาวอีสานโดยทั่วไปมักจะตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มเครือญาติเป็น “หมู่บ้าน” บนที่สูง ใกล้ป่า ใกล้แหล่งน้ำ และมีพื้นที่ทำนาโดยรอบหมู่บ้าน เพราะเกือบทั้งหมดเป็นชาวนา ชื่อหมู่บ้านต่าง ๆ มักจะบ่งบอกภูมิลักษณะที่ตั้ง เช่น บ้านหนอง 
Read more
048780