เห็ดเป็นยา : จากภูมิปัญญาสู่การรักษาโรค

เห็ดเป็นยา : จากภูมิปัญญาสู่การรักษาโรค

เห็ด  เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “ฟังไจ” (Fungi) หรือ เรียกว่า “กลุ่มเห็ด-รา” เห็ด-รา ไม่ใช่พืช เพราะไม่มีโครงสร้างภายในเซลล์ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง และมีลำดับของพันธุกรรมคล้ายคลึงกับสัตว์มากกว่าพืช นักวิทยาศาสตร์จึงได้แยกกลุ่มของ เห็ด-รา ออกจากกลุ่มของพืช เห็ดแตกต่างจากราตรงที่เส้นใยมีการถักทอรวมกันเป็นดอกเห็ด ซึ่งลักษณะเช่นนี้ไม่พบในกลุ่มของรา           

 

 

 

เห็ดตับเต่า/เห็ดเผิ่ง         เห็ดหำฟาน         เห็ดขอนขาว

คุณค่าทางยาจากเห็ดเป็นยา   

มนุษย์ได้มีการบริโภคเห็ดเป็นอาหารและยารักษาโรค เป็นเวลามากกว่า 2,000 ปี มาแล้ว โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันออก มีงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์หลายชิ้น ที่แสดงให้เห็นว่าเห็ดมีสารสำคัญหลายชนิด เช่น โพลิแซคคาไรด์ (Polysaccharides) ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต ต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็งและต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย    เป็นสารช่วยลดปริมาณ  คอลเลสเตอรอลในเลือด และป้องกันความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น เห็ดที่มีการใช้เป็นยาทั่วโลกมีไม่ต่ำกว่า 200 ชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการยับยั้งเนื้องอก และส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันไป การนำเห็ดมาใช้เป็นยา นอกจากจะใช้ตัวดอกเห็ดแล้ว ยังมีการใช้เส้นใยและน้ำเลี้ยงเส้นใยได้ด้วย เห็ดที่มีศักยภาพในการใช้เป็นยามีประมาณ 600 ชนิด  สาระสำคัญที่เห็ดผลิตขึ้นมาส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพในการ กระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกาย

เห็ดเผิ่งขม  เห็ดมันปู  เห็ดปวกไก่น้อย

ส่วนประกอบของเห็ด

หมวกเห็ด คือ ส่วนที่อยู่บนสุดของเห็ดซึ่งมีรูปร่างและสีสันแตกต่างกันออกไป
เนื้อเห็ด  คือ ส่วนที่อยู่ภายในของหมวกเห็ด ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใย เปราะ เหนียว และนุ่ม
ครีบเห็ด คือ บริเวณที่ทำให้เกิดสปอร์ มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ อยู่ตรงใต้หมวกเห็ด
วงแหวน คือ บริเวณที่เกิดจากเนื้อเยื่อบางๆ ที่ยึดระหว่างก้านดอกกับขอบหมวกเห็ดขาดออกจากหมวกเห็ดเมื่อบาน
ก้านเห็ด คือ บริเวณที่ติดเป็นเนื้อเดียวกับดอกเห็ด ซึ่งคอยรองรับดอกเห็ดให้ชูขึ้นด้านบน
เยื่อหุ้มดอกเห็ดหรือเปลือก คือ บริเวณส่วนที่อยู่ด้านนอกสุด

                      ที่ทำหน้าที่หุ้มหมวกเห็ดและก้านไว้ เมื่อยังเป็นดอก  อ่อนอยู่ และจะเริ่มปริหรือแตกออกเมื่อดอกเห็ดเริ่ม  ขยายหรือบานออก แต่ยังคงมีเยื่อหุ้มอยู่บริเวณโคน  ของเห็ด เพราะเป็นส่วนที่ไม่ได้มีการขยายตัวออก

แกงเห็ดเผิ่ง 

 

1. เห็ดมันปู 

                   ลักษณะทั่วไป  หมวกเห็ด   จะมีสีเหลือง รูปทรงกรวย  เนื้อภายในนั้นจะมีสีเหลืองอ่อนๆ และบริเวณขอบหมวกของดอกเห็ดนี้จะมีลักษณะเป็นคลื่นหยัก ๆ โดยตรงนี้สามารถฉีกหรือขาดได้ง่าย ซึ่งบริเวณผิวหมวกดอกนี้จะค่อนข้างบอบบางทำให้มักมีรอยแทะของสัตว์ต่าง ๆ ได้ ส่วนใต้หมวกดอกนั้นจะเป็นสันนูน ๆ และก้านดอกนั้นจะเล็กและเรียวเปราะหรือแตกหักได้ง่าย โดยผิวบริเวณก้านดอกนี้จะค่อนข้างแห้งและเป็นขุย ๆ เล็ก ๆ ทั่วก้านดอกเห็ด

สรรพคุณและประโยชน์

   ♥ ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาขุ่นมัวหรือฝ้าฟาง

    ช่วยให้ระบบการทำงานของลำไส้ดีขึ้น ขับสารพิษออกจากลำไส้

    ช่วยให้ระบบการทำงานของปอดมีประสิทธิภาพขึ้น

    ♥ ช่วยให้กระเพาะอาหารสามารถย่อยได้ง่ายขึ้น                                                                           

    ♥  ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิต้านทานโรคภายในร่างกาย

    ♥  ช่วยให้ระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด

    ♥  ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยไข้ได้ง่าย

2. เห็ดตีนแฮด   

ลักษณะทั่วไป  เห็ดตีนแฮดมักจะเกิดเป็นดอกเดี่ยว หรือบริเวณโคนติดกันอยู่เป็นกลุ่มตามดิน มักพบในป่าดิบแล้งหรือป่าเบญจพรรณ หมวกเห็ดจะเป็นสีขาวนวลหรืออาจเป็นขาวหม่นๆ ก็ได้ ลักษณะเป็นรูปทรงกระทะคว่ำ บริเวณขอบหมวกของดอกอ่อนนั้นจะโค้งงอลงเป็นทรงกลม ผิวเรียบๆ ส่วนบริเวณครีบใหญ่จะมีครีบสั้นสลับอยู่และเว้าเป็นแอ่งหน่อยๆ และยึดติดกับก้านดอก และบริเวณโคนจะใหญ่เป็นกระเปาะกับผิวค่อนข้างหยาบๆ หน่อย สามารถนำมารับประทานได้

 

 

 

สรรพคุณและประโยชน์

– ช่วยลดระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือดได้เป็นอย่างดี

 – ช่วยป้องกันและยับยั้งเซลล์มะเร็งต่างๆ ได้ดี

     – ช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดภายในร่างกายดีขึ้น

     – ช่วยลดอาการขับเหงื่อที่ออกมากเกินไปเนื่องจากการใช้ยา

     – ช่วยลดอาการกระเพาะอักเสบ หรือมีแผลในกระเพาะอาหาร

     – ช่วยให้ระบบขับถ่ายสามารถทำงานได้ดีขึ้น ไม่เสี่ยงต่อโรคริดสีดวงทวาร

     – ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บหรือป่วยไข้ได้ง่าย

 

3. เห็ดตับเต่า   

ลักษณะทั่วไป  ลักษณะ ตรงบริเวณหมวกเห็ดจะมีรูปทรงเหมือนหรือคล้ายกับกระทะคว่ำ โดยเมื่อดอกยังอ่อนจะมีขนละเอียดๆ สีน้ำตาล ลักษณะเหมือนผ้ากำมะหยี่ขึ้นปกคลุมอยู่ แต่เมื่อดอกบานจนสุดแล้วตรงกลางของหมวกเห็ดจะเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง เว้าลงไปเล็กน้อย และปริแตกเป็นแห่งๆ ส่วนบริเวณด้านล่างของหมวกเห็ดจะเป็นสีเหลือง มีรูเล็กๆ กลมๆ อยู่ ซึ่งเชื่อมต่อเป็นเนื้อเดียวกันอยู่ และบริเวณก้านของดอกเห็ดนั้นจะค่อนข้างอวบใหญ่เป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง โดยตรงโคนของก้านเห็ดจะโป่งเป็นกระเปาะ และเนื้อของเห็ดชนิดนี้จะมีสีน้ำเงินแกมเขียว

เห็ดตับเต่า เห็ดตับเต่า

สรรพคุณและประโยชน์

    – ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ให้แข็งแรง ปราศจากโรคภัย

    ช่วยทำให้ระบบหัวใจ ปอด และตับ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และ

       อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    ช่วยให้ระบบเลือดภายในร่างกายหมุนเวียนได้ดี

    ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ปวดตามข้อ กระดูก หรือ เส้นเอ็นต่างๆ ภายในร่างกาย 

    ช่วยบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอก     

    – ช่วยแก้โรคชักกระตุกได้                

    – ช่วยบรรเทาหรือลดไข้ได้ดี

4. เห็ดขอนขาว   

ลักษณะทั่วไป 

ลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเห็ดนางรมมีสีขาว ซึ่งจะมีจุดที่สามารถสังเกตได้ถึงความแตกต่างระหว่างเห็ดทั้ง 2 ชนิดนี้ คือ เห็ดขอนขาวจะมีดอกที่เหนียว บาง และหอมกว่าเห็ดนางรม ส่วนบริเวณกึ่งกลางของเห็ดขอนขาว จะมีรอยบุ๋มเล็กน้อยบริเวณดอกเห็ดนี้ มองดูคล้ายๆ กับจานที่มีก้นลึก และบริเวณหมวกเห็ดก็จะมีขนขึ้นอยู่เป็นกระจุกปกคลุมอยู่ ส่วนก้านดอกที่เหนียวๆ แข็งๆ ของเห็ดชนิดนี้จะติดกับหมวกเห็ดเป็นเนื้อเดียวกัน แต่โดยมากมักจะไม่ค่อยอยู่ตรงกับกึ่งกลางของดอกเห็ดสักเท่าไหร่ และดอกเห็ดจะขึ้นแบบเรียงชิดติดกัน โดยเมื่อยังอ่อนเนื้อของเห็ดจะบางและเหนียว แต่หากเป็นดอกแก่จะมีเนื้อที่เหนียวและแข็ง

 

 

 

 

สรรพคุณและประโยชน์

– ช่วยรักษาอาการช้ำใน                

    – ช่วยป้องกันโรควัณโรค

    – ช่วยแก้อาการร้อนใน และแก้ไข้         

    – ช่วยในการลดอาการบวมหรืออักเสบ

    – ช่วยในการบำรุงร่างกายให้ร่างกายแข็งแรง

    – ช่วยในการสมานแผลและผิวให้เรียบเนียน

    – ช่วยป้องกันและยับยั้งการเกิดของเซลล์มะเร็งได้ดี

    – ช่วยให้เลือดแข็งตัวได้เร็ว หยุดไหลได้ง่ายขึ้น

    – ช่วยบรรเทาอาการคันตามนิ้วมือหรือนิ้วเท้า

 

5. เห็ดเผาะ

ลักษณะทั่วไป 

เห็ดเผาะ (Barometer Earthstars) เป็นลูกกลมๆ แต่เมื่อดอกเห็ดโตขึ้นจะกลาย เป็นรูปดาว บริเวณผิวจะมีสีขาวนวลเรียบและมีรอยเปื้อนของดิน ซึ่งเห็ดชนิดนี้จะไม่มีรากและลำต้น มีเปลือก 2 ชั้น โดยหากเป็นเห็ดอ่อนนั้นจะมีสีขาวนวลๆ ห่อหุ้มด้วยสปอร์ เมื่อเป็นดอกแก่จะมีเปลือกเป็นสีน้ำตาลหรือดำ และจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน ซึ่งพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศไทย

สรรพคุณและประโยชน์

            – ช่วยในการบำรุงร่างกายให้ร่างกายแข็งแรง

            – ช่วยรักษาอาการช้ำใน

            – ช่วยป้องกันโรควัณโรค

            – ช่วยป้องกันและยับยั้งการเกิดของเซลล์มะเร็งได้ดี

            – ช่วยในการสมานแผลและผิวให้เรียบเนียน

            – ช่วยในการลดอาการบวมหรืออักเสบ

            – ช่วยแก้อาการร้อนใน และแก้ไข้

            – ช่วยให้เลือดแข็งตัวได้เร็ว หยุดไหลได้ง่ายขึ้น

            – ช่วยบรรเทาอาการคันตามนิ้วมือหรือนิ้วเท้า

6. เห็ดโคน

ลักษณะทั่วไป 

            ลักษณะของเห็ดโคนนั้นจะมีก้านดอกติดอยู่ตรงกลางดอกและหมวกดอกเห็ดใหญ่ บริเวณโคนค่อนข้างอวบหนา มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเห็ดโคน ชอบขึ้นตามจอมปลวก เห็ดชนิดนี้มักจะเกิดตามใต้ผิวดิน รากจะลึกลงไปถึงรังปลวก ส่วนหมวกดอกเห็ดจะออกจากรังปลวก โดยช่วงปลายของหมวกดอกจะทิ่มทะลุดินขึ้นมา มีสีและก้านแตกต่างกันไปตามแต่ละสภาพอากาศและดิน ซึ่งเห็ดโคนเมื่อยังอ่อนจะมีลักษณะคล้ายกรวยคว่ำ และบริเวณยอดจะนูนทู่ๆ หรือแหลมก็ได้ แต่เมื่อเป็นดอกแก่แล้วหมวกเห็ดจะกางออกจนแบนราบ ตรงกลางดอกจะนูน มีสีน้ำตาลอ่อนๆ อมเหลืองอ่อนๆ หรือปนเทาก็มี

 

สรรพคุณและประโยชน์

    – ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงมีพละกำลัง 

    – ช่วยทำให้เจริญอาหาร

    แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือเวียนศีรษะ

    ช่วยให้เสมหะเหนียวๆ ที่ติดอยู่ในลำคอละลายออกมาได้

    ช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรัง

    ช่วยยับยั้งเชื้อโรคอย่างไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย ซึ่งเป็นแบคทีเรียร้าย 

       ไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย

    ทำให้ระบบการทำงานของกระเพาะอาหารสามารถย่อยได้ดี

7. เห็ดฟาง

ลักษณะทั่วไป 

เป็นเห็ดที่มีดอกตูมก้อนกลมสีขาวเนื้อแน่นละเอียด แต่เดิมมักเรียกว่าเห็ดบัว เนื่องจากมักขึ้นตามเปลือกเมล็ดบัวที่กะเทาะเมล็ด แต่ภายหลังเริ่มมีการเพาะปลูกอย่างจริงจังโดยใช้ฟางในการเพาะเห็ด จึงทำให้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นเห็ดฟาง โดยเห็ดฟางนั้นจะมีเยื่อหุ้มกระเปาะลักษณะคล้ายๆ กับถ้วยรองรับฐานเห็ดอยู่       เมื่อหมวกเห็ดเจริญขึ้นจะแผ่กางออกเป็นลักษณะคล้ายกับร่ม บริเวณด้านบนของหมวกเห็ดเป็นสีเทาอ่อน และมีผิวค่อนข้างเรียบ มีขนละเอียดขึ้นปกคุลมอยู่จางๆ ส่วนบริเวณด้านล่างของหมวกเห็ดนี้จะมีครีบบางๆ อยู่ และมีก้านดอกเป็นสีขาวละมุน

สรรพคุณและประโยชน์

  ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้นกันโรคให้แก่ร่างกายได้เป็นอย่างดี ทำให้ร่างกายแข็งแรง

  – ช่วยในการสมานผิวทำให้แผลหายเร็วขึ้นและลดอาการติดเชื้อต่างๆ

  ช่วยลดอาการปวดบวมของเหงือกและฟัน

  ช่วยแก้อาการคันตามผิวหนัง     – ช่วยแก้โรคลักปิดลักเปิด หรือเลือดออกตามไรฟัน

  – ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็ง เป็นการยับยั้งและชะลอการเกิดขึ้นของเซลล์มะเร็งร้าย

  ช่วยลดหรือบรรเทาอาการช้ำใน หรือปวดบวมในร่างกาย

  ช่วยบำรุงตับให้แข็งแรง ทำให้ระบบการทำงานของตับและร่างกายเกิดความสมดุล

8. เห็ดหูหนู

ลักษณะทั่วไป 

มีลักษณะเป็นแผ่นเหมือนวุ้นใสๆ คล้ายหูของหนู มักชอบขึ้นตามต้นไม้ใหญ่ที่เน่าเปื่อยหรือผุสลาย เนื้อของเห็ดหูหนูมีลักษณะอ่อนและเหนียว เป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ หรือน้ำตาลอมเทา บริเวณแผ่นใบด้านบนจะเป็นเงาและเรียบ ส่วนตรงขอบแผ่นใบแต่ละแผ่นจะเป็นลอนๆ หรือเป็นรอยจีบ และใต้ใบจะถูกปกคลุมด้วยขนละเอียดประปราย ซึ่งบริเวณก้านใบของเห็ดชนิดนี้จะเป็นลักษณะสั้นๆ ถึงสั้นมากอยู่ตรงกลางของดอกเห็ด หรืออาจค่อนไปทางหนึ่งโดยยึดติดกับขอนไม้หรือลำต้น

สรรพคุณและประโยชน์

   ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ผิวพรรณสดใส ลดอาการความดันโลหิตสูง และลดไขมันอุดตันในเส้นเลือด

   – ช่วยให้ระบบการทำงานของปอด, ตับ, หัวใจ และสมอง ทำงานได้ประสานกันเกิดภาวะสมดุลในร่างกาย

   – ช่วยป้องกันมะเร็ง เป็นการยับยั้งไม่ให้เกิดเซลล์ที่ผิดปกติขึ้นในร่างกายจนกลายเป็นเนื้อร้าย

  – ช่วยแก้อาการร้อนใน ไอเรื้อรัง เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด

  – ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ระบายหรือขับของเสียออกจากลำไส้

  – แก้อาการรอบเดือนที่มาผิดปกติ รวมทั้งอาการตกขาวด้วย

  – ช่วยแก้อาการตะคริวที่เกิดตามกล้ามเนื้อต่างๆ ได้ดี

  – ช่วยคลายความตึงเครียด ทำให้เกิดการผ่อนคลาย

  – ช่วยลดหรือบรรเทาอาการปวดฟันหรือเหงือก

9. เห็ดนางรมหลวง

ลักษณะทั่วไป 

 เห็ดนางรมหลวง (King Oyster Mushroom) หรือเห็ดออรินจิ (Eryngii Mushroom) เป็นเห็ดที่มีรูปร่างและขนาดใหญ่โตมากที่สุดในสกุลเห็ดนางรม มีรูปร่างเหมือนหรือคล้ายกรวย ลำต้นจะใหญ่และค่อนข้างอวบหนา มีดอกใหญ่สีน้ำตาลอ่อนแกมเทา ซึ่งบริเวณช่วงกลางจะค่อนข้างหนาแต่ขอบหมวกจะบาง มีก้านดอกขนาดใหญ่สีขาว หมวกดอกจะหนา ส่วนบนของหมวกดอกจะมีสีเทาอ่อนๆ เวลาออกดอกมาจะไม่เป็นกลุ่มก้อน มีรสชาติที่อร่อย

สรรพคุณและประโยชน์

  – ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ยับยั้งเซลล์มะเร็งไม่เจริญเติบโตขึ้นจนกลายเป็น เนื้อร้าย

  – ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือด เหมาะกับผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก หรือเป็นโรค  เบาหวาน

  – ช่วยปรับความสมดุลในร่างกาย ทำให้ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายดีขึ้นและมีประสิทธิภาพ

  – ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน ไม่เป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย

  – ช่วยลดอาการปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

  – ช่วยลดความดันโลหิตสูง และปรับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ดวงเดือน ไชยโสดา…